บทนำ ฉบับ “ฟ้าใหม่”

นักคิดนักเขียนที่มีความคิดก้าวหน้าคนหนึ่ง ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป คือผลิตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนในทางสร้างสรรค์ที่ได้รับจากการต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม ทั้งนี้โดยสะท้อนถ่ายออกมาในแง่ความงาม แนบแน่นกับความเป็นจริง มีความตรึงตราและง่ายในระดับที่ประชาชนส่วนข้างมากสามารถชื่นชม และเข้าใจได้ อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลาที่มันถือกำเนิดขึ้นมา

ว่าด้วยเงือก (๔) ขวัญไทดํา จากองค์ความรู้ของ ดร.คําจอง

ต้นเค้ากำเนิดบทความเรื่อง “เงือก” ของข้าพเจ้า เริ่มจากวันไปร่วมงานของ “มูลนิธิโกมล คีมทอง” แล้วแวะเข้าศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์เห็นหนังสือชุด “ด้วยรัก” รวมบทความในโอกาสศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อายุ ๗๒ ปีเรื่อง “ชนชาติไท” ราคาห้าร้อยบาทรีบซื้อทันทีเมื่อพลิกดูพบภาพ “เงือก” เป็นครั้งแรกที่ได้เห็น (เคยตีพิมพ์มาแล้วในหนังสือ TAI CULTURE iii - 2 , December 1998 แต่ข้าพเจ้าไม่มีหนังสือเล่มนั้น) ตื่นเต้นมาก

ฟันดาบไทย-ลาว การละเล่นใน “สมุทรโฆษคําฉันท์”

มหรสพ (entertainment) หรือการละเล่น (amusement) ของสยามในอดีตส่วนใหญ่สูญหายไม่มีแสดงกันแล้วในสังคมทั่ว ๆ ไป หลักฐานที่จะสืบค้นหาได้คือ พวกเอกสารประวัติศาสตร์, วรรณคดีและภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น

เบอร์เดียวกัน

พ่อเฒ่ามินกับลูกเขยชื่อบักวินับว่าเป็นพ่อเฒ่ากับลูกเขยที่สวรรค์จัดมาให้ ถูกคู่กันจริง ๆ มีหลายเรื่องที่พ่อเฒ่ากับลูกเขยคู่นี้ ได้สร้างวีรกรรม หรือใช้วาทกรรมต่อกันให้ชาวบ้านได้ฟัง และครึกครื้นกันมาอยู่บ่อยครั้ง พ่อเฒ่ามินเป็นทนายความ วาทะหรือคารมคมคายก็ไม่ใช่ธรรมดา ปั้นนํ้าให้เป็นตัวก็ยังได้ส่วนบักวิผู้ลูกเขยมันเคยเป็นครูมาก่อน คารมครูวิก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ครูสาวหลงคารมมันมานักต่อนักแล้ว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com