นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 37

บุญบั้งไฟ : ไร้รากเหง้า แต่จะเอาดอกผล

บุญบั้งไฟ เป็นบุญประเพณีประจำเดือน ๖ ตามฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน แต่เดิมนิยมเรียกกันว่า “บุญเดือนหก” ซึ่งหากท่านไปร่วมชมขบวนแห่บั้งไฟในปัจจุบัน นอกจากจะตระการตากับบั้งไฟที่ประดับตกแต่งอย่างยิ่งใหญ่สวยงามแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ประกอบขบวนคือ “ท้าวผาแดงกับนางไอ่คํา” ที่นั่งมาบนม้าบักสามตามนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ผาแดง – นางไอ่” ที่อธิบายสาเหตุการล่มสลายของเมืองหนองหารหลวง ดูเหมือนว่าวรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ จะเป็นเรื่องเล่าคู่กับบุญบั้งไฟอย่างแยกไม่ออก

ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?

คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย

อีสาน ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรม

อีสาน ภูมิภาคที่มีภาพลักษณ์ที่ไม่รื่นรมย์ในการรับรู้และทัศนะของผู้คนภายนอกพื้นที่ และถูกตอกยํ้าด้วยวาทกรรมจากงานวรรณกรรม งานเขียนประวัติศาสตร์ แต่ด้วยความกว้างใหญ่ของพื้นที่ ๆ มีเขตติดต่อกับเพื่อนบ้านที่มีระยะทางยาว ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมหลากหลาย เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ทั้งด้านการพัฒนา การค้า การเมือง

ทางอีศาน 37 : ปิดเล่ม

ผลจากการปฏิวัติ ๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕ ส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจการเมืองภาคอีสาน ทำให้ความเปลี่ยนแปลงจาก รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ รัฐประชาธิปไตย หรือ รัฐประชาชาติ เกิดขึ้นทั้งในเชิงโครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาคอีสาน ๓ ประเด็นหลัก...

ฮีตเดือนหก

สมัยก่อนการทำบุญบั้งไฟจุดบูชาพญาแถนเพื่อให้ฟ้าฝนตกดี เพราะเชื่อว่า บนฟ้าแต่ละขั้นจะเป็นเมือง มีเจ้าปกครองในแต่ละเมืองฟ้า ที่เรียกว่าพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร หรือเรียกว่า พระอินทร์ พระพรหม พญาแถนจะเป็นผู้แต่งฝน แต่งลม แต่งแดด แต่งนํ้า แต่งไฟ การจุดบั้งไฟขึ้นไปบนอากาศก็เพื่อบูชาพญาแถน ให้ท่านดีใจจะได้จัดแต่งฝนมาให้ เพื่อจะได้มีนํ้าทำไร่ไถนา หากบั้งไฟขึ้นตรงสูงไม่เอียงปีนั้นฝนจะดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นปีนั้นฝนจะแล้ง ข้าวปลาอาหารจะไม่อุดมสมบูรณ์๑ กาลต่อมาเมื่อมีคติความเชื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา การจุดบั้งไฟก็เพื่อเป็นพุทธบูชา คือบูชาพระพุทธเจ้า ดังมีคำกลอนที่เรียกว่า เซิ้งบั้งไฟหรือรำบอกไฟ

๑๒ เดือนของไทมาว

“มาว” เป็นชื่อแม่น้ำ คือแม่น้ำมาว คนไทแถบนั้นก่อตั้งรัฐเมืองมาวหลวงขึ้น มีตำนานว่าก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ ๕๘๖ (ยุคโน้น ยังถูกครอบงำด้วยอำนาจของอาณาจักรหนานเจาหรือน่านเจ้า) ภายหลังจึงมีเอกราช (ตำนานขุนลู ขุนไล ในช่วงประมาณ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๓๗
ปีที่ ๔ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘
ฉบับ: ทางข้างหน้า…ทางอีศาน

เรื่องเด่น:

– ทางข้างหน้า…ทางอีศาน : แก้วตา จันทรานุสรณ์

– บุญบั้งไฟ : ไร้รากเหง้า แต่จะเอาดอกผล : ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ

– “ทางอีศาน” สืบทอด ถอดรหัส พัฒนา : เสรี พงศ์พิศ

– สิบบ้านซา-ห่าบ้านลือ : ผศ.ดร.ดวงเด่น บุญปก (คอลัมน์ใหม่)

– กะนากวย : ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ (คอลัมน์ใหม่)

เนื้อหา:

๖ สาส์นจาก “ทางอีศาน”

๙ บทบรรณาธิการ “ทางอีศาน”

สื่อสารมวลชน

๑๐ จดหมาย | “หนูแดง กาฬสินธุ์”

๑๒ เบิ่งโลก / เบิ่งไทย / เบิ่งอีสาน

๑๘ วันวานกับวันหน้า | “โชติช่วง นาดอน”

เกษตรกรรายย่อย : อคติทางวิชาการ

๒๑ เรื่องจากปก | แก้วตา จันทรานุสรณ์

ทางข้างหน้า…ทางอีศาน

๒๘ เรื่องจากปก (ต่อเนื่องจากฉบับที่ ๓๓) | ทองแถม นาถจำนง

อีศาน : เทพบดีที่ยิ่งใหญ่ (๕) โลกบาล หรือฑิกบาล (Dikpala)

๓๐ ผญานิพนธ์ | ชัชวาลย์ โคตรสงคราม

เฮียมบ่มีใจคิดใคร่เมือเมืองบ้าน

๓๑ สาส์นลึบให้สูญ | “บุญมา ภูเม็ง” และ สงวน มั่งมูล

เสาเก่า

๓๒ มรดกวัฒนธรรมจากบ้านจิมฯ | “ศิรเทพ ๑๑๐๗๘”

อรรธนารีศวร (สรุป)

๓๖ ที่นี่…กรมราษฎรส่งเสริม | ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

คนอีสาน เชิญมาทางนี้

๓๙ ข่วงบักจุก | “จุก ชายคา”

๔๐ เปิดผ้าม่านกั้ง | ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ

บุญบั้งไฟ : ไร้รากเหง้า แต่จะเอาดอกผล

๔๖ คำถิ่นกลิ่นอายแขฺมร์ | “เขาบังภู”

บุฤๅษี – ระไซร์ – ระซายซัน สันนิษฐานใหม่ที่มาของชื่อ “ราษีไศล”

๕๐ กะนากวย | ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์

กะนากวย” วิถีแห่งชาติพันธุ์

๕๓ แสงเงาคมคำ | “สันติภาพ นาโค”

พรุ่งนี้

๕๔ เดินหน้าฝ่าข้าม | สมคิด สิงสง

ยุทธวิธี “ดอกไม้บาน” คือระเบิดจากข้างใน

๖๐ บ้านเขาเมืองเรา | สนั่น ชูสกุล

คน “บูนอง” แห่งกัมพูชา ซึ่งจะถูกกวาดออกจากกระดานการพัฒนา

๖๖ สิบบ้านซา-ห่าบ้านลือ | ผศ.ดร.ดวงเด่น บุญปก

ผู้คน – ชนชาติ กับข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับคำว่า “ลาว” “ดาว” และ “ไทย”

๗๒ ข่าวคนอีศาน | “เวศม์ เวฬุคาม”

๗๖ นอกเครื่องแบบ | สมพงษ์ ประทุมทอง

อีสาน ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรม

๗๘ ล้านนาคดี | “อินทร์ ลงเหลา”

๑๒ เดือนของไทมาว

๘๐ หมอลำยุคพัฒนา (เรื่องจากปกต่อเนื่องจากฉบับที่ ๓๔) | “ทิดโส สุดสะแนน” รุกคืบสู่วิทยุกลางกรุงฯ

๙๑ เขียนแผ่นดิน | เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

ศรีเทพ

๙๒ ผักหญ้าหมากไม้ | ผศ.ดร.ไชยยง รุจจนเวท

ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?

๙๖ ทักษิณคดี | ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์

ดนตรีอาหรับ, ไซยาฟฯ และการประชุมเยาวชน

๑๐๑ ผญาสมัย | ชาตรี เสงี่ยมวงศ์

ตำนานบุญบั้งไฟ (๑)

๑๐๒ กลอนลำฮีต-คอง | “สุนทร ชัยรุ่งเรือง”

ประเพณีเดือนหก

๑๐๔ ตำนานการเกิดฮีตสิบสอง | “นาค สามโลก”

ฮีตเดือนหก

๑๑๔ ฮีตปราชญ์คองสงฆ์ | ผศ.ดร. สุขพัฒน์ อนนท์จารย์

พระราชปรีชามุนี (บุญจันทร์ พุฒฝอย) เจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลำภู

๑๒๐ นักเขียนอีสาน | “เจน อักษราพิจารณ์”

สำเริง คำพะอุ : นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ผู้เปี่ยมอุดมการณ์ สื่อสารจาก “ลอมฟาง” ถึง “บ้านนี้เมืองนี้”

๑๒๓ วาดฟ้อนออนซอนศิลป์ | ดร.ธีรารัตน์ ลีลาเลิศสุระกุล

ที่มาของการแสดงพื้นบ้านอีสานชุด “เซิ้งโปง”

๑๒๖ หมออีศาน | ศ.นพ.อมร เปรมกมล

ว่าด้วยการแพทย์ทางเลือกระบบพลังงาน (๑)

๑๒๘ ส่องเมือง | เสรี พงศ์พิศ

ทางอีศาน” : สืบทอด ถอดรหัส พัฒนา

๑๓๑ ท่องเที่ยววัฒนธรรม | ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต

ซานเยวี่ยซาน’ ฟังสำเนียงเสียงรากร่วมวัฒนธรรม

๑๓๗ เรื่องเล่าชุดพ่อเฒ่ากับลูกเขย | “ชัด การชนะ”, ศิลป์วัตร วิศาลศักดิ์

ส้มตำสูตรใหม่

๑๓๘ เฮาอยู่ยะลา | สฤษดิ์ ผาอาจ

คำให้การของปืน หนอน แพะ และแมลงวัน

๑๔๒ นวนิยาย | ณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์

ศรีโคตรบูร ตอน ๑๒

๑๔๖ รายงานโครงการสะหวันซิตี | กอง บ.ก.

ทุกโครงการฯ รุดหน้าสู่เป้าหมาย

๑๔๘ กินสบาย ๆ รายทาง | “คำ คิดตรง”

ร้านกกขาม วารินชำราบ – อุบลราชธานี

๑๕๐ ของชิ้นเอกทางอีศาน | นิวัติ กองเพียร

หอไตรกลางนํ้าที่ยโสธร

๑๕๔ ห้องศิลป์อีศาน | ธีรภาพ โลหิตกุล

โขงนทีสีทันดร ตอน ๑๖ มหานทีไม่มีแพ้ (๑)

๑๕๘ เฮือนชานศิลปิน | ไพบูลย์ ธรรมเรืองฤทธิ์

ธรรมนูญ กุลศิโรรัตน์

๑๕๙ ม่วนซื่นอีหลี | “สี นานวล”

๑๖๐ ปิดเล่ม | กอง บ.ก.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com