อธิบายคำว่า อีสาน, อิสาน, อีศาน

อธิบายคำว่า อีสาน, อิสาน, อีศาน

ทางอีศาน ฉบับที่ ๘ ปีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ หน้าที่ ๓


“พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕  ให้ความหมายของอีสาน ๒ อย่าง คือ

๑. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๒. พระศิวะ หรือพระรุทร และให้ที่มาของคำ อีสาน เป็นภาษาบาลี อีศาน เป็นภาษาสันสกฤต

คนอินเดียที่ศรัทธาในศาสนาฮินดู ถือว่าพระรุทรเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในคัมภีร์พระเวท และเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกันกับพระศิวะหรือพระอิศวร คนไทยจำนวนหนึ่งจึงมีความสับสนในการเขียนอีสาน บางทีคนเขียนอิสานหรืออิศาน อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าคำอีสานมีความเชื่อมโยงกับพระอิศวร”

คำหมาน คนไค


คนอีสาน

บางทีเรียกชาวอีสาน มีหลักแหล่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอีสานเป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง

คำว่า อีสาน มีรากภาษาสันสกฤต สะกดว่า อีศาน

หมายถึง นามพระศิวะ ผู้เป็นเทพยดาประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

(เคยใช้มาแล้วเมื่อราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ ในชื่อรัฐว่า อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่า อีศานวรมัน)

แต่คำบาลีเขียนอีสาน ฝ่ายไทยยืมรูปคำจากบาลีมาใช้

หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงเหนือ

(ที่หมายตรงกับคำอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๔๒

ในชื่อ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือแต่ยังหมายเฉพาะลุ่มน้ำมูลถึงอุบลราชธานี จำปาสัก ฯลฯ.

“สุจิตต์ วงษ์เทศ”

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com