ข่าวสารและกิจกรรม

เมล็ดพันธุ์วรรรณกรรม

กวี : เด็กชายพีระภัทร จำปาน้อย ชั้น ม.3 หนึ่งในสิบตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เข้าร่วมกิจกรรมค่าย”จุดประกายความใฝ่ฝัน เพาะเมล็ดพันธุ์วรรณกรรม” รุ่นที่ 48 ที่โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อ.พยัคฆภูมิพิสัย ซึ่งจัดโดย อบจ.มหาสารคาม และกองทุนศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ สำนวนกลอนดี ความรู้ความคิดดี วิทยากรหายสงสัยเมื่อทราบว่าคุณครูเพ็ญศรี กานุมาร ครูสอนวิทยาศาสตร์-นักอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดูแลศิษย์

สายแนนอุษาคเนย์

นํ้าเต้าปุ้งผุดจากซากควายเขาลู่ ฝูงคนหมู่อาศัยได้อุปถัมภ์ ปู่ลางเซิงขุนคานซีเจาะนำ ได้ป่องเกิดอยู่กํ้าเมืองลุ่มเพียง นํ้าเต้าปุ้งควํ่าหงายกายเพศแม่ ยามครรภ์แก่กลมใหญ่ใครจะเถียง ภูมิปัญญาบรรพชนคนเทียบเคียง จึงเรียบเรียงนิทานตำนานมา

จิม ทอมป์สัน ฟาร์มทัวร์ 2562 “ต่ำหูก แต้มผ้า – เล่าอีสานผ่านผ้าทอ”

ปีนี้เปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 7 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2563 ภายใต้ชื่องาน “ต่ำหูก แต้มผ้า – เล่าอีสานผ่านผ้าทอ” (Isan memory on textile) ซึ่งจะนำเอาเรื่องราวของผ้ามาสร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าชมได้รับรู้ ได้สัมผัสกับวิถีและความงามของผ้า ความเกี่ยวพันของผ้ากับวิถีชีวิตและประเพณีของชาวอีสานที่ถักทอเกี่ยวกันมาช้านาน

บทบรรณาธิการ : โจกโหลกฟ้า

สารานุกรม ภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ของ ปราชญ์ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า โจกโหลก ว. ที่ลุ่มซึ่งเป็นแอ่งใหญ่ เรียก ขุมโจกโหลก. large (of hole or pond). สำหรับการใช้ในภาษาพูด(ปาก)ทั่วไปกินความถึง พื้นที่หนึ่ง, ขอบเขต, อาณาเขต เช่น “ใต้โจกโหลกฟ้านี้ใครจะใหญ่เกินกู

ต่อหน้าจิตกาธาน

ร่างของทนง โคตรชมภู กำลังถูกเผาไหม้ ภายในโครงครอบหนาทึบ ส่วนบนเป็นโลงบรรจุศพ ส่วนล่างอัดแน่นด้วยถ่านชุ่มน้ำมัน มีช่องเร่งไฟและปล่องควัน ญาติพี่น้องและเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมพันคนมาชุมนุมร่วมส่งสะการ มาเพื่อเรียน”วิชามนุษย์ที่ชื่อทนง โคตรชมภู”

สูงสุดสู่สามัญ

ที่โคนต้น เขาเฝ้าดูผู้คนปีนป่ายต้นไม้แห่งลาภ ยศ อันสูงลิบยอดเลือนหายไปในเวิ้งฟ้า อากาศ เป้าหมายจะไปให้สูงสุด เพื่อจะคืนสู่สามัญตามคำโบราณว่าไว้

ระดมทุนทรัพย์เพื่อจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกแด่ ทนง โคตรชมภู

เมื่อข่าวการเสียชีวิตของทนง โคตรชมภู แพร่กระจายไป ความรู้สึกและข้อเขียนถึงมนุษย์ผู้หัวใจไม่ยอมแพ้ก็หลั่งท้นในเฟซบุ๊ก

ทางอีศาน 38 : ปิดเล่ม

สภาพเศรษฐกิจและสังคมอีสานในช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐ – ๒๔๘๐ อันเป็นยุคเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยนั้น น่าใส่ใจศึกษาค้นคว้าให้มากขึ้นอีก “ทางอีศาน” ฉบับนี้ทำได้เพียงสรุปเสนอภาพกว้าง ๆ อย่างย่อ ๆ ไว้ก่อนเท่านั้นทางรถไฟที่สร้างมาถึงโคราช (พ.ศ. ๒๔๔๓)

หนังสือเล่มใหม่

ติดตามเรา

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com