รำฦก ๘๕ ปีชาตกาลผ่าน ๑๐ ปี มรณกรรมลุงคำพูน บุญทวี

หากเรานับการบันทึกพงศาวดารของดินแดนภาคอีสาน เรื่อง พื้นเวียงและสารลึบปะสูรย์ เป็นนิทานขุนบรมฉบับอีสานในยุคต้น ๆ แล้วละก็ ข้าพเจ้าจะไม่กระดากปากที่บอกว่า “ลูกอีสาน” เป็นนิทานขุนบรมฉบับอีสานในยุคต่อมาก่อนที่จะถึงยุคโลกาภิวัตน์อย่างไม่อายใคร

จดหมายจากผู้อ่าน

ขอแจ้งให้สมาชิก และพี่น้องปล้องปลายทราบทั่วกันในที่นี้เลยว่า มีข่าวสารข้อเขียนเรื่องราวใด ๆ ให้ติดต่อสำนักที่อยู่กรุงเทพฯ แห่งเดียวเท่านั้นขอบพระคุณคุณพ่อประสาสน์ รวมทั้งคุณพ่อบุญเลิศ สดสุชาติ ในความเมตตาส่งข้อเขียนและคำพรมาให้ชาวคณะทางอีศานเป็นประจำครับ

มหัศจรรย์ ‘ภูพาน’ บันดาลใจ (๑)

รูปลักษณ์ของดอกเหียงแลดูคล้ายเครื่องหมาย “สวัสดิกะ” ของชาวพุทธฝ่ายมหายาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก “สวัสดิกะ” ของชาวฮินดู เพียงแต่หมุนกลับข้างกัน (ของฮินดูหมุนวนทางขวา ของฝ่ายพุทธหมุนวนซ้าย) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์มงคล เป็นเครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว...

ปณิธานของนิตยสาร “ทางอีศาน”

ปณิธานของนิตยสาร “ทางอีศาน” คือ เราจะรวบรวมองค์ความรู้จากผู้รู้ จากเพื่อนมิตรทุกภูมิภาคและทั่วโลก นำมาปรับประสานกับเป้าหมายเฉพาะโดยหยั่งลึกถึงรากเหง้า ถ่องแท้ในอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์วรรณนา แล้วแผ่เชื่อมโยงถึงกันทั่วประเทศและทั่วสากลจักรวาล สร้างสำนึกรักถิ่นตน ขณะเดียวกันก็ก้าวพ้นการหลงยึดอยู่กับลักษณะเฉพาะถิ่น... ก้าวย่างที่ผ่านมาเราได้รับความคิดเห็น และคำแนะนำจากผู้อาวุโสผู้รู้ และนักวิชาการหลายท่าน

วรรณคดีและชีวิตสามัญ คือคลังแห่งภาษา

รู้ภาษาหลายภาษาเท่าใดก็ยิ่งดี สมองคนเราคิดจากภาพออกมาเป็น คำศัพท์ คนเรารู้คำศัพท์มากเท่าใด ก็ยิ่งคิดได้มากคิดได้กว้างได้ลึกกว่าคนที่รู้คำศัพท์น้อย อย่านึกว่า การเรียนวิชาภาษาไทย ให้อ่านวรรณกรรม วรรณคดี มาก ๆ มันไม่มีความหมายไร้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com