ความทรงจำเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์ โดย สุภา ศิริมานนท์

ความทรงจำเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์ โดย สุภา ศิริมานนท์

“…รู้จักกันหลังจากถูกโยนบกแล้ว ผมติดตามเขาอยู่เรื่อย เห็นเขาว่างอยู่เลยชวนไปทำไทยใหม่ด้วยกัน มาพร้อมกันกับทองใบ (ทองเปาด์) ต่อมาจิตรก็เข้าเรียนต่อ – เขาบอกกับทองใบว่าผมนี่อะไร ๆ ก็ดีเสียแต่ชอบสูบไป๊ป์ เขาคิดแบบพวกเสพย์ทุกข์

“ตอนเขาถูกจับถูกขัง เวลาออกมาข้างนอกทีไร มาศาล มาหาหมอบ้าง เขาก็แวะมาหาผมที่อาคเนย์ จิตรเป็นคนเดียวที่มาหาผมแล้วไม่รับเงินที่ผมให้ แกมักจะเกรงใจ คนนี้ดี๊ดี เขาออกจากคุกแล้วคิดจะหนี ตอนนั้นผมไม่รู้ วันหนึ่งเขาหอบต้นฉบับ (ความเป็นมาของคำสยามฯ) มาสองแฟ้ม บอกฝากไว้ด้วย ช่วยพิมพ์ให้ทีถ้ามีโอกาส คือเขาเชื่อว่าผมพิมพ์หนังสือประณีต แกมีเงื่อนไขอันเดียวคือ ญ.หญิงแกไม่ใส่ตีน ญ.ไม่เอาตีน ผมบอกว่าคนเรียงคงด่าแม่ผมชิบหาย และมีอีกอย่างนึงไอ้ที่สงสัยช่วยเติมให้ด้วย ผมบอกคุณยังไม่ไหวผมจะไหวอะไร ว่าจะถาม มหาฉ่ำ (ทองคำวรรณ)ให้ จิตรว่าถามมาแล้ว อ้าว—

“ผมรับมาแล้วก็มาปรับทุกข์กับภรรยา ทำกล่องสังกะสี เออ… อลูมิเนียม ผนึกเลย เก็บไว้ในสวน ไม่เป็นไร ไม่ได้ซ้ายอะไรนี่ คอยมาหลายปีก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง ๑๔ ตุลาฯ สถานการณ์ดีขึ้นก็มีเพื่อนของลูกผม ขิ่ม (ชลธิรา สัตยาวัฒนา) น่ะ ผมจึงให้ดู จิตรยังไม่เป็นที่รู้จัก ชื่อจิตรเป็นชื่อต้องสาป จุฬาฯทำเนียบนักประพันธ์อักษรศาสตร์ชื่อจิตรไม่มี ขิ่มเป็นคนเอาชื่อจิตรขึ้นมาเขียนครั้งแรกในหนังสือ อักษรศาสตร์พิจารณ์ ต่อมาชื่อดัง ขิ่มเขาเป็นกรรมการสังคมศาสตร์ ตอนนายกคนก่อนก็ยังพิมพ์ไม่ได้ ต่อมาอาจารย์เสน่ห์ จามริก เป็นนายกสมาคม ดร.ชาญวิทย์เอาไปดูแล้วยกย่องว่ายอด ๆ ยอดเหลือเกิน วิทยานิพนธ์ในโลกเกี่ยวกับภาษาไทยไม่มีที่ใดดีเท่านี้…

“…ตลอดเวลาหลายปีที่ได้รู้จักกันจนกระทั่งเขาจากไป จิตร ภูมิศักดิ์ มีความสำนึกที่หนักแน่นที่สุดอันหนึ่งที่ว่า เขามีภาระธุระ หรือภารกิจทางประวัติศาสตร์ ที่จะต้องทำประโยชน์ให้แก่มนุษย์ส่วนใหญ่ ต้องทำให้เพื่อนมนุษย์ส่วนใหญ่มีความเจริญก้าวหน้า มีสถาพรภาพ มีความเป็นธรรมในสังคมโดยถ้วนหน้า เขาจึงได้ต่อสู้ตลอดมา เขาได้เคยทดลองต่อสู้ตามแนวที่บัณฑิตทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีรุ่นเก่าได้เคยทำมาแล้ว ดังที่ได้เขียนเรื่อง พิมายด้านจารึก เป็นต้น แต่วิถีเหล่านั้นให้คำตอบสุดท้ายแก่เขาไม่ได้ วิถีเหล่านั้นล้วนเป็นแต่ทางตัน และมันมิได้เป็นไปเพื่อความดีขึ้นของมนุษยชาติ และในที่สุดเขาก็พบวิธีการตามแนววัตถุนิยมประวัติศาสตร์

ซึ่งเป็น “…หลักและเงื่อนไขที่ให้ความสว่างไสวแก่ภูมิปัญญาของเขาอย่างแจ่มชัดที่สุด และเขาได้ยอมรับเชื่ออย่างฝังลึก เนื่องจากมันเป็นหลักและเงื่อนไขซึ่งเกาะแน่นอยู่กับประชาชน”


“…รู้จักกันหลังจากถูกโยนบกแล้ว ผมติดตามเขาอยู่เรื่อย เห็นเขาว่างอยู่เลยชวนไปทำไทยใหม่ด้วยกัน มาพร้อมกันกับทองใบ (ทองเปาด์) ต่อมาจิตรก็เข้าเรียนต่อ – เขาบอกกับทองใบว่าผมนี่อะไร ๆ ก็ดีเสียแต่ชอบสูบไป๊ป์ เขาคิดแบบพวกเสพย์ทุกข์

“ตอนเขาถูกจับถูกขัง เวลาออกมาข้างนอกทีไร มาศาล มาหาหมอบ้าง เขาก็แวะมาหาผมที่อาคเนย์ จิตรเป็นคนเดียวที่มาหาผมแล้วไม่รับเงินที่ผมให้ แกมักจะเกรงใจ คนนี้ดี๊ดี เขาออกจากคุกแล้ว…

“จิตร ภูมิศักดิ์ เป็น ‘ปัญญาชนปฏิวัติ’ ที่ ‘หลากหลาย ล้ำลึก และเป็นอมตะ’ เป็น
ผู้ที่มีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ… ความคิดและปัญญาของเขายัง ‘ไม่ตาย’”

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานมูลนิธิ จิตร ภูมิศักดิ์, เลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ


เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส ชื่นชมจิตรว่า

“ . . . จิตร ภูมิศักดิ์ เป็น คน ที่มีพรสวรรค์มากคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยการสร้างสรรค์…จิตรเล่นดนตรีได้มาก มีความสามารถในการแต่งทำนองเพลง และเป็นนายเหนือภาษาด้วยประเด็นนี้เราเห็นได้ชัดจากงานวิชาการและงานนิพนธ์ของเขา มีทั้งบทกวีบทเพลง บทความเรื่องภาษาศิลาจารึกและนิรุกติศาสตร์ บทวิจารณ์หนังสือและภาพยนตร์ จิตรมีทฤษฎีในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย เคยแต่งหนังสือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ไทยเล่มหนึ่ง และก็มีหนังสือวิเคราะห์ภาษาละหุเล่มหนึ่ง และหนังสือซึ่งผมคิดว่าจะมีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ ‘ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯ’”

“…จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดสองครั้ง คือเกิดใหม่อีกครั้งหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖หมายความว่าจิตร ได้ฟื้นคืนเกียรติศักดิ์และมีชื่อเสียงขจรขจายยิ่งกว่าตอนก่อนตายเสียอีก…”

****

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ 13 ประจำเดือนพฤษภาคม 2556

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com