จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ความเห็นของภาคประชาสังคมต่อกรณีเขื่อนสานะคาม

จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ความเห็นของภาคประชาสังคมต่อกรณีเขื่อนสานะคาม

.

จดหมายเปิดผนึก

20 มิถุนายน 2565

เรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสะนะคาม

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

เอกสารอ้างอิง

1.EXECUTIVE SUMMARY, THE RAPID ASSESSMENT OF TRANSBOUNDARY IMPACTS CAUSED BY RAPID WATER FLUCTUATION DOWNSTREAM OF THE SANAKHAM HYDROPOWER PROJECT, 29 October 2021

(https://www.mrcmekong.org/assets/Consultations/Sanakham/EN Rapid-assessement-for-SNHPP 2021.pdf)

2. Mekong River Commission, PRIOR CONSULTATION PROCESS FOR THE SANAKHAM HYDROPOWER PROJECT, SUMMARY OF THE FINAL DRAFT OF THE TECHNICAL REVIEW REPORT, 4 November 2021

(https://www.n.mrcmekong.org/asseets/Consulttations/Sanakham/Technical-Review-Report-Final-Draft/Summary-of-FinalDraft-of-the-Technical-Review-Report-EN.pdf)

3. โครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563, พฤษภาคม 2564 โดย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (
https://drive.google.com/file/d/1 WT-UiuYWKMogFoYIXKKwOta4gGUYGBH/view?usp=sharing)

สืบเนื่องจากรัฐบาล สปป.ลาว ได้เสนอโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสะนะคาม (ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงในประเทศ สปป.ลาว ด้านเหนือน้ำ ห่างจากชายแดนประเทศไทยด้าน อ.เชียงดาน จ.เลย เป็นระยะทางเพียง 1.5 – 2 กิโลเมตรเท่านั้น โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 684 เมกะวัตต์ ให้เข้าสู่กระบวนการตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง (PNPCA) ภายใต้ ความตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2562 จนถึงปัจจุบันกระบวนการ PNPCA ยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมได้ เนื่องจากขาดการศึกษาที่ชัดเจนต่อผลกระทบข้ามพรมแดน และสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ได้เผยแพร่เอกสารการศึกษาโครงการเขื่อนสะนะดาม, รายงานการทบทวนด้านเทคนิด และสรุปรายงานสรุปผู้บริหาร การประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน จากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขงท้ายเขื่อนสะนะคาม ไว้บนเว็ปไซด์ทั้งหมดแล้ว

(https://www.mrcmekong.org/news-and-events/consultations/pnpca-prior-consultations/sanakham-hydropower-project/)

ทั้งนี้ รายงานการทบทวนทางเทคนิค และสรุปรายงานสรุปผู้บริหาร การประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน จากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขงท้ายเขื่อนสะนะคาม ซึ่งเผยแพร่ในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2564 ตามลำดับนั้น ได้สรุปประเด็นผลกระทบข้ามพรมแดนจากโดรงการเขื่อนสะนะดาม ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านอุทกวิทยาและชลศาสตร์, การเปลี่ยนแปลงปริมาณตะกอน, การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ได้นำมาซึ่งผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นทันที, ผลกระทบสะสมต่อเนื่อง และข้อเสนอแนะต่อการอุดหนุนการซื้อไฟฟ้าจากโดรงการเขื่อนสะนะคาม เพื่อลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง, องค์การแม่น้ำนานาชาติ, คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน และองค์กรตามรายชื่อแนบท้าย ได้ติดตามสถานการณ์โครงการเขื่อนสะนะคามมาอย่างต่อเนื่อง มีความตระหนักถึงผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นกับประชาชนไทยและระบบนิเวศแม่น้ำโขงโดยรวม ถึงแม้ว่าเอ็มอาร์ซี จะทำการศึกษาไว้แล้วตามเอกสารอ้างอิงที่ 1 และ 2 นั้น แต่การศึกษาไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนในลุ่มน้ำโขงทั้ง 4 ประเทศ โดยเห็นได้จากข้อสรุปสุดท้ายของเอกสารอ้างอิงที่ 2 (หน้า 44) ซึ่งได้ระบุว่า “การประเมินในรายงานทบทวนทางเทคนิด ไม่สามารถใช้เป็นข้อตัดสินได้ว่าโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม หรือข้อเสนอการใช้น้ำของเขื่อนแบบขั้นบันไดในตอนเหนือของ สปป.ลาวได้สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ระบบแม่น้ำโขงอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมหรือไม่ หรือผลกระทบข้ามพรมแดนที่ตกค้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงหรือไม่”

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของประเทศไทย ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงเขตแดนระหว่างประเทศในลำน้ำโขง เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติตามลำน้ำโขงของไทย และรวมถึงการรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนด้วยเช่นกัน ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะเกิดขึ้น เช่น

1. จากเอกสารอ้างอิงลำดับที่ 1 (หน้าที่ 4 และ 6) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำโขงท้ายเขื่อนสะนะคาม ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำโขงจะขึ้นและลงสูงสุดได้มากถึง 3.50 เมตรในรอบ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน อย่างไรก็ตาม เอ็มอาร์ซี ได้ปรับเกณฑ์ใหม่ในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขง ผลที่ได้คือ ที่ อ.เชียงดาน จะยังคงมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขงสูงสุดตั้งแต่ 12.9 เซนติเมตรถึง 134 เซนติเมตร ภายใน 1 ชั่วโมง (หรือ 0.129 ถึง 1.34 เมตรต่อชั่วโมง) การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำที่เห็นได้ชัดนี้ จะเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม ถึง มีนาคมเป็นหลัก

2. จากเอกสารอ้างอิงลำดับที่ 3 (หน้า 6-30 – 6-56) ได้นำเสนอข้อมูลการวัดตะกอนแขวนลอยเปรียบเปรียบระหว่างสถานีชียงแสนกับสถานีเชียงคาน ในเดือนธันวาคม 2563 และกุมภาพันธ์ 2564 พบว่ามีค่าต่ำลงมากจนเกือบวัดค่าไม่ได้ แสดงให้เห็นถึงผลของการกักตะกอนโดยเขื่อนไซยะบุรีซึ่งเริ่มเปิดใช้งานในเดือนตุลาคม 2562 และทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำโขงใสสีครามติดตามมาในระหว่างเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ผลการตรวจวัดนี้สอดคล้องกับเอกสารอ้างอิงลำดับที่ 2 (หน้า 12-14) ได้ชี้ว่า โครงการเขื่อนสะนะคามซึ่งเป็นเขื่อนตัวสุดท้ายจาก 5 เขื่อนในประเทศ สปป.ลาว จะกักตะกอนจนเกิดปรากฏการณ์ “แม่น้ำหิวตะกอน” ส่งผลต่อการกัดเซาะตลิ่งอย่างรุนแรงด้านท้ายน้ำ นอกจากนี้การประเมินผลกระทบสะสม (หน้า 35-36) จากปรากฏการณ์แม่น้ำหิวตะกอน จะเกิดคลื่นกัดเซาะด้านท้ายน้ำอย่างรุนแรงในระยะทาง 100 กิโลเมตรตามลำน้ำโขงท้ายเขื่อน และมีระยะทางไกลไปจนถึงกรุงเวียงจันทน์ ประเทศ สปป.ลาว ตลอดช่วงเวลา 7 ปีหลังเขื่อนเปิดดำเนินการ

3. เอกสารอ้างอิงลำดับที่ 2 (หน้า 39) ได้ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของทางปลาผ่าน ของเขื่อนขั้นบันไดทั้ง 5 แห่ง ที่ประสิทธิภาพร้อยละ 80 และ 50 ซึ่งสรุปได้ว่า ปริมาณปลาที่สามารถผ่านทางปลาผ่านไปจนถึงเขื่อนตัวสุดท้าย (เขื่อนปากแบ่ง) เท่ากับร้อยละ 33 และ 3 ตามลำดับ

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญข้างตันนี้จะนำไปสู่ผลกระทบข้ามพรมแดนในหลากหลายมิติ และกินเวลานานไปประมาณ 29 ปี ตามช่วงเวลาของการได้สัมปทานผลิตไฟฟ้าของเขื่อน โดยสามารถแยกการวิเคราะห์ผลกระทบไปตามหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. กรมประมง กระทรวงกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อทรัพยากรประมง (เช่น ผลต่อถิ่นที่อยู่ของปลาเอินและความสามารถในการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ, ผลกระทบต่อปลาวัยอ่อน, ผลกระทบต่อกำลังการผลิตประมงในลำน้ำโขงและสาขา, ผลกระทบจากทางปลาผ่าน, ผลต่อการอพยพวางไข่ของปลา ในช่วงฤดูแล้ง, ผลกระทบทางเศรษฐกิจของประมงท้องถิ่น, ผลกระทบต่อการเลี่ยงปลากะชัง ฯลฯ), ผลกระทบต่อนิเวตประมง (เช่น ผลต่อถิ่นที่อยู่ที่เป็น พื้นที่ผสมพันธุ์ วางไข่ อนุบาลปลาวัยอ่อน, ผลต่อพืชพันธุ์ไม้น้ำในแม่น้ำโขง, ผลต่อสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวตน้ำโขง, ผลจากสภาวะน้ำโขงใส ไร้ตะกอน เป็นตัน), ผลกระทบต่อการสูญเสียอาชีพประมง และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง และกลไกการชดเชยเยียวยาของกรมประมง

2. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขงในเขตไทย ทั้งจากเขื่อนสะนะคาม และกรณี สปป.ลาว สร้างเขื่อนได้ครบ 5 เขื่อนเป็นขั้นบันได, การวิเคราะห์แบบจำลองสภาวะน้ำหลากท้ายเขื่อนสะนะคาม ในกรณีที่ทุกเขื่อนจำเป็นต้องเร่งระบายน้ำพร้อมกัน, การวิเคราะห์แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำ ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย-ลาว ในแม่น้ำโขง ไปจนถึงอำเภอเมืองหนองคาย, การวิเคราะห์ความสามารถของ สทนช. และระบบราชการที่เกี่ยวข้อง ในการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขงที่ขึ้นลงเป็น เมตรต่อชั่วโมง ต่อประชาชนที่อยู่ติดแม่น้ำโขง เนื่องจากน้ำจากขื่อนสะนะดามใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ก็จะเดินทางมาถึงอำเภอเชียงคาน, กลไกการชดเชยเยียวยาแก่ประชาชนของหน่วยงาน

3. กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ในเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเขตแดน จากการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำโขงที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย-ลาว ในแม่น้ำโขงจากอ.เชียงคาน จ.เลย ไปจนถึงอำเภอเมืองหนองคาย

4. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กระทรวงมหาดไทย ในเรื่องการจัดทำรายงาน การเยียวยาชดเชย ประชาชนริมน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขง ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งไม่ใช่ภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ, ศักยภาพของหน่วยงานในการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำโขงที่ขึ้นลงในระดับ เมตรต่อชั่วโมง ให้ครอบคลุมและทันต่อการเตรียมพร้อมในทุกชุมชน

5. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่อง การวิเคราะห์การสูญศักยภาพของพื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งโขง อันเนื่องมาจากการลดลงของตะกอนและการกัดเซาะตลิ่ง, การวิเคราะห์ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและอาชีพของชุมชน จากการเกษตรริมตลิ่งฝั่งโขง, การชดเชยเยียวยาภาคเกษตรริมน้ำโขงโดยหน่วยงาน

6. กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ในเรื่อง การวิเคราะห์การสูญเสียพื้นที่ตลิ่งริมฝั่งโขง เนื่องมาจากการกัดเซาะตลิ่ง

7. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในเรื่อง การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของไทยจากการสร้างเขื่อนสะนะคาม กับ มูลค่าความเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและมูลค่าการชดเชยเยียวยา, การวิเดราะห์เปรียบเทียบกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในโครงการเขื่อนสะนะดาม กลุ่มที่ได้ประโยชน์ และกลุ่มที่เสียประโยชน์, การศึกษาในภาพรวมถึงทางเลือกการลดการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจาก สปป.ลาว

8. สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบข้ามพรมแดนและผลกระทบสะสม ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในเขตประเทศไทย จากการสร้างเขื่อนสะนะคาม ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ ที่สามารถดำเนินการได้แม้ว่าเขื่อนสะนะคามจะตั้งอยู่ในประเทศ สปป.ลาว

9. กระทรวงพลังงาน ในเรื่อง การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะที่ปรากฏตามเอกสาร ที่ 1 (หน้า 41) และเอกสารที่ 2 (หน้า 15) ในเรื่อง

  • ผลได้และผลเสีย ในการกำหนดมาตรการเพื่อจำกัดผลกระทบสะสมและผลกระทบข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคามและโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแบบขั้นบันไดในลาวตอนบน ซึ่งจะลดทอนความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำแต่ละตัว และการพิจารณากำหนดเพิ่มราคาของพลังงานไฟฟ้าหรือการขยายระยะเวลาสัมปทาน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
  • ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ เนื่องจากเขื่อนสะนะดามเป็นเขื่อนสุดท้าย ในขณะที่เขื่อนไซยะบุรีได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว และอีก 3 เขื่อนได้ลงนามความตกลงซื้อขายไฟฟ้าไปแล้ว การดำเนินการตามข้อเสนอแนะของเอ็มอาร์ซี จะส่งผลต่อการแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ลงนามไปแล้วได้หรือไม่อย่างไร
  • ความเสี่ยงของการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงและเขื่อนอื่น ๆ บนลำน้ำสาขาจากประเทศลาว ทั้งในเรื่องสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าที่ใกล้เคียงร้อยละ 13 และการเปลี่ยนแปลงด้านอุทกวิทยาในลุ่มน้ำโขงตอนบน ที่แสดงให้เห็นถึงปริมาณน้ำโขงต่ำกว่าการคาดการณ์มาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี โดยเฉพาะในฤดูแล้ง

10. กรมเจ้าท่า ในเรื่องการวิเคราะห์ ผลของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำและตะกอน ต่อสถานการณ์ปัญหาตลิ่งพัง ดินงอก และดินหายในแม่น้ำโขง และแนวทางการแก้ไข

11. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในเรื่อง การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวแม่น้ำโขง ทำการศึกษา วิเดราะห์ผลกระทบร่วมกับชุมชน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ วางแผนการจัดการ และการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการจัดการผลกระทบ เช่น การป้องกันภัย การบรรเทาภัย การฟื้นฟูทรัพยากร ของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง, องค์การแม่น้ำนานาชาติ, คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน และองค์กรตามรายชื่อแนบท้าย ใดร่ขอเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อาณาเขตดินแดนของประเทศ และระบบพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยและชุมชน มีข้อมูลการวิเดราะห์ที่รับผิดชอบต่อสังคมไทยได้โดยตรง และสามารถนำไปเจรจากับประเทศ สปป.ลาว และประเทศอื่น ๆ ในลุ่มน้ำโขงได้ต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(นายมนตรี จันทวงศ์)

ผู้ประสานงานกลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

ประสานงาน

นายมนตรี จันทวงศ์ โทร. 081-9500560

สำเนาส่ง

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

รายชื่อองค์กรแนบท้าย

  1. กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)
  2. คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch)
  3. องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International River)
  4. เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน
  5. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
  6. กลุ่มฮักเชียงคาน
  7. กลุ่มฮักแม่น้ำเลย
  8. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre Foundation: CRC)
  9. สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาดอีสาน (คสข.)
  10. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  11. โดรงการทามมูล
  12. กลุ่มฮักเชียงของ
  13. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์ (สอพ.)
  14. สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ (สปส.)
  15. มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com