จุ้มหรือตราราชลัญจกร สมัยล้านช้าง

ใบจุ้มเลขที่๓

๑. ลายจุ้มประทับชาด สมัยเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ในใบจุ้มเลขที่ ๓ ลงศักราชไว้ปี พ.ศ.๒๑๙๕

ใบจุ้มเลขที่๑๘

๒. ลายจุ้มประทับชาด สมัยเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ในใบจุ้มเลขที่ ๑๙ลงศักราชไว้ปี พ.ศ.๒๑๙๐

ใบจุ้มเลขที่๑๙

๓. ลายจุ้มประทับชาด สมัยเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ในใบจุ้มเลขที่ ๑๘ ลงศักราชไว้ปี พ.ศ.๒๒๐๖

๑. ลายจุ้มประทับชาด สมัยเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ในใบจุ้มเลขที่ ๓ ลงศักราชไว้ปี พ.ศ.๒๑๙๕

๒. ลายจุ้มประทับชาด สมัยเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ในใบจุ้มเลขที่ ๑๙ลงศักราชไว้ปี พ.ศ.๒๑๙๐

๓. ลายจุ้มประทับชาด สมัยเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ในใบจุ้มเลขที่ ๑๘ ลงศักราชไว้ปี พ.ศ.๒๒๐๖

บทความโดย: Guy Intarasopa

จุ้มหรือตราราชลัญจกร สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๘๑-๒๒๓๘ ระยะเวลากว่า ๕๗ ปี ถือเป็นกษัตริย์ล้านช้างอีกองค์หนึ่งที่ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีเจริญความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร

จุ้มดวงนี้มีชื่อเรียกในเอกสารโบราณว่า จุ้มตัวบูงงาน สัตว์ที่อยู่ภายในตราจุ้มคล้ายกับมังกร ส่วนตราจุ้มคล้ายกับตราธรรมจักร

จุ้มนี้พบในเอกสารใบจุ้มของพระเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช ที่มีพระราชโองการไปยังเมืองในแถบหัวพันหรืออาณาจักรพวนเดิม ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติของไทย ในจำนวนกว่า ๖๙ ฉบับ พบว่าเป็นใบจุ้มสมัยเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชกว่า ๕-๖ ฉบับ

ใบจุ้มที่เก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติของไทย ล้วนเป็นเรื่องราวเอกสารทางราชการของเมืองในแถบเมืองพวนทั้งสิ้น เช่นเมืองโสย เมืองขวาง เมืองสบแอด เมืองซำเหนือ เมืองซำใต้ เป็นต้น ไทยหรือสยามน่าจะนำเอกสารเหล่านี้มาจากหัวเมืองพวน จากศึกสงครามหลายครั้งตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนกระทั่งถึงสงครามปราบฮ่อในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของสยาม

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com