นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 88

เสียงพิณเสียงแคน

เสียงพิณเสียงแคนเป็นดังชีวิตจิตวิญญาณของอารยชนลุ่มแม่น้ำโขง แม้พลัดพรากไปอยู่แห่งหนตำบลไหน ครั้นได้ฟังได้ยินจะถวิลหารากเหง้าเหล่าตน เหมือนคนที่ฝังสายรกสายแฮ่ไว้หมู่บ้าน แม้ดิ้นรนทำมาหากินอยู่ถิ่นไหนบั้นปลายชีวิตหากเลือกได้ก็ปรารถนากลับมาตายที่บ้านเกิด

ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 10

เมื่อคราวที่จารย์บุญและจารย์แก้วกับอีแพงเมียข่า พร้อมครอบครัวชาวข่าจำนวนหนึ่งลงมาจากยอดภู พวกเขาก็เดินทางเข้าตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ดินแดนห้วยขุหลุ อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เดิมมาของจารย์บุญ ฝ่ายเฒ่าแก่และหมู่ญาติก็พากันทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ

Visions for Mo Lam in Mainland Southeast Asia : การก้าวข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมดนตรี

In the old days music of Isan or Northeast Thailand was rarely known or appreciated by outsiders. It was considered an inferior music; the musicians and singers (molam) were looked down by people or musicians of other cultures. The Isan people themselves, especially educated people---college students and professors, also felt insecure in their arts.

ข้าวหรือขนม

ขนมของคนไทยโบราณ ที่เชื่อว่ามีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และสืบทอดต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นขนมที่มีเรียกกันให้เป็นปริศนาชวนสงสัย ขนมที่ว่านี้ก็คือ ขนมไข่กบ ขนมนกปล่อย ขนมนางลอย และขนมไอ้ตื้อ ขนมที่ว่านี้ มีชื่อเรียกกันสั้น...สั้นว่า “ขนมสี่ถ้วย” คือจะต้องเป็นของคู่กันตามงานบุญ งานกุศล งานมงคล

ลูกอีสาน ทำงานเติมน้ำมันเครื่องบินที่อลาสก้า

ฝรั่งตาน้ำข้าวเพื่อนที่ทำงานที่สนามบินด้วยกันถามว่า “ยูอยู่บ้านยูเมืองร้อน ๆ มาอยู่เมืองหนาวอย่างอลาสก้าได้อย่างไร” ผมหัวเราะให้เขาทั้งที่ยังหนาวสั่นมือเย็นเฉียบ “คุณอยู่ได้ฉันก็อยู่ได้แหละ ไม่มีปัญหา” หนุ่มอีสานแห่งเมืองอุบลราชธานี บอกว่าอยู่อีสานบ้านของเรา เคยมีกิน เคยอด ทั้งร้อนทั้งหนาว เราผ่านชีวิตต่ำสุดตรงนั้นมาแล้ว มาถึงวันนี้อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ธรรมดามาก ๆ

งานนักร้อง เพลงรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน

ในฐานะที่ผู้เขียนตอนนั้น นอกจากจะเป็นนักแต่งเพลงแล้วยังเป็นนักข่าวบันเทิงสัมผัสชีวิตของดารา นักร้อง ศิลปินคนดังพอสมควร จึงแวบไอเดียจะแต่งเพลงเพื่อเป็นตัวแทนให้ศิลปินที่ต้องทำหน้าที่เป็นคนของประชาชน ให้ความสุขความบันเทิงแก่แฟน ๆ อาจมีบ้างที่แฟนเพลงบางคนเข้ามาชื่นชมคลุกคลีมีจุดประสงค์แตกต่างกันไป ศิลปินนักร้องต้องขายเสียงหาเลี้ยงชีพได้รับการชื่นชมอุดหนุนจากบรรดาแฟน ๆ บางครั้งในสายตาของคนภายนอกอาจมองในแง่ไม่ดี

กลัวผอม

บักสอนมันเกิดรักชอบพอกับสาวกองลูกสาวพ่อเฒ่าหยองกับแม่เฒ่าตุ้ย แม้ว่าสาวกองจะอ้วนไปหน่อย บักสอนก็ไม่รังเกียจ มันกลับคิดว่า “หุ่นแบบนี้แหละ มันเต็มไม้เต็มมือดี” มันถือว่าจิตใจสำคัญกว่าหุ่น แม้หุ่นจะเข้าประเภท “อ้วนสั้น สันหนา” ก็ไม่ถือสา ข้าจะรักของข้าใครจะทำไม?

เรื่องเด่นในฉบับ
•คารวาลัย “นพดล ดวงพร” โดย “ทิดโส สุดสะแนน”
•ต้นตำนานตระกูลไท สายด้ำเสือ โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา และ ชายชื้น คำแดงยอดไตย
•บ้านปากอูน : จากหมู่บ้านปลาชุม (แต่ขาดข้าว) มาเป็นตลาดสดห้าดาว โดย สุวิทย์ ธีรศาศวัต
•ลูกอีสานทำงานเติมน้ำมันเครื่องบินที่อลาสก้า โดย สมปอง ดวงไสว
•ตามรอย “คนตง” ตอนที่ ๒ คุณธรรมน้ำใจพี่น้องแซ่ผู่ โดย วรวิทย์ ตงศิริ
•การก้าวข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมดนตรี โดย เจริญชัย ชนไพโรจน์

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com