พระธาตุพนม

พระธาตุพนม ปูชนียสถานสำคัญอันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนสองฝั่งโขงและประชาชนทั่วไป โดยในวันเพ็ญ เดือน ๓ ถึง แรม ๑ คํ่า เดือน ๓ ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนม และบริเวณเรือนยอดขององค์พระ ธาตุฯ ได้รับการประดับด้วยลวดลายช่อกนกเปลวลอยในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

***

พระธาตุพนม พระธาตุที่มีผู้คนเคารพกราบไหว้เป็นที่พึ่งทางใจมายาวนานทั้งสองฝั่งโขง มีประวัติยาวนานคู่มากับอีสาน คนส่วนใหญ่จะรู้จักและเดินทางมาเพื่อกราบไหว้บูชาพระธาตุด้วยความศรัทธาปสาทะในความศักดิ์สิทธิ์และน้อมนำให้ระลึกถึงความเป็นชาวพุทธ ในจำนวนผู้คนนับล้านล้านนั้นมักไม่มีเวลาให้กับความงามความอันเป็นต้นแบบของตัวพระธาตุ ที่ถูกสร้างขึ้นและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกันมาช้านาน ตามกาลเวลาตามยุคสมัยนับเป็นร้อยเป็นพันปีแล้ว พระธาตุพนมยังคงอยู่ในหัวใจของผู้คนสองฝั่งโขง

พระธาตุพนมมีความงามที่ถูกออกแบบสร้างมาแต่ต้น อันรวมถึงการออกแบบลวดลายประดับตกแต่งที่บ่งบอกถึงความงดงามเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัยที่เริ่มก่อสร้าง และยังคงเหลือรอดมาถึงสมัยปัจจุบัน น่าจะมีอยู่เพียงส่วนเดียวคือ ส่วนลวดลายที่ออกแบบประดับไว้ทั้งสี่ด้านของฐานองค์พระธาตุแม้จะแตกสูญหายไปบ้าง ก็ยังมีเหลือให้เห็น หลังจากการโค่นลงเมื่อหลายปีมาแล้ว และถูกบูรณะขึ้นใหม่ให้คงรูปแบบเดิม ส่วนลวดลายจำหลักบนแผ่นดินเผายังหลงเหลือมาบ้าง ก็ถูกนำมาประดับกลับคืนที่ฐานทั้งสี่ด้าน

ภาพจำหลักดินเผานี้เองที่เป็นความสำคัญและความงามที่จะบ่งบอกถึงอายุของพระธาตุพนมที่แท้จริงได้มากกว่าจารึก ตำนาน หรือเอกสารใดใด แต่นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ก็ไม่มีใครกล้ากำหนดอายุของพระธาตุพนมว่าสร้างขึ้นมาสมัยใดคงมีแต่บันทึกการพังทลายลงแล้วสร้างขึ้นใหม่สองครั้ง ครั้งที่รุนแรงและพังราบลงคือใน พ.ศ.๒๕๑๘ หลังจากที่มีการบูรณะแบบไมมี่ความรู้ ต้องการเพียงให้พระธาตุสูงขึ้น จนฐานเดิมรับนํ้าหนักไม่ไหว และพังลงมาในที่สุด จนผู้คนรํ่าไห้ทั้งแผ่นดิน รวมทั้งคนลาวฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงด้วย

ใครที่เดินทางไปอีสาน จำต้องไปไหว้พระธาตุพนมทุกคน แต่เขาเหล่านั้นก็ไม่มีเวลาได้ชื่นชมกับความงามของแผ่นดินเผาจำหลักอันงดงาม และเป็นเอกลักษณ์พิเศษที่ฐานสี่เหลี่ยมขององค์พระธาตุเลย

ลวดลายที่จำหลักและประดับตกแต่งนั้นเป็นรูปกษัตริย์สมัยนั้น แต่ไม่ทราบว่าคือองค์ใดจากเมืองใดนั่งบนหลังช้าง ยืนบนหลังช้าง ขี่ม้า ถือดาบ ถือธนูมีร่มกั้นกางบอกสถานะ และมีพื้นหลังเป็นลวดลายกนกเครือวัลย์แสนสวยงาม และเป็นลวดลายเฉพาะยุคสมัยใหม่ ไม่เหมือนของทวารวดี จาม มอญ เขมรเป็นเอกลักษณ์พิเศษจริงจริง และมีที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น

นี่แสดงว่าลวดลายต้องเป็นของชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณภูกำพร้านี้ที่เป็นผู้สร้างพระธาตุขึ้น เพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า เพราะศิลปกรรมลวดลายต่าง ๆ รวมถึงเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายบอกความเป็นเฉพาะตัวของคนกลุ่มนี้ ที่เรายังไม่ทราบว่าเขาคือใคร

ภาพวาดลายเส้นบริเวณเจดีย์พระธาตุพนม (องค์เดิม) ในช่วง พ.ศ. ๒๔๐๙ – ๒๔๑๑ วาดโดย Louis Deleporte (ขอบคุณ ภาพจากหนังสือ A Pictorial Journey on the Old Mekong Cambodia, Laos and Yunnan. Delaporte, Louis : Garnier, Francis, White Lotus, 1998)ภาพถ่ายแสดงเหตุการณ์พระธาตุพนมล้มใน พ.ศ. ๒๕๑๘

ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือท่านกูฏ ปราชญ์ศิลปินเมืองอุบล ท่านเขียนถึงพระธาตุพนมเอาไว้ในช่วงที่ท่านได้ไปดูและสำรวจความเสียหายเมื่อตอนพระธาตุพนมพังลงในปี ๒๕๑๘ ว่า “แคนโขงสั่น หมอลำไม่เริง ร่มผินใบหน้านิ่งเปล่า เคยผ่านเคยแวะกราบไหว้ บรรยากาศสลดรันทดงำตลึงเพริด ข้างหน้าเป็นทรากหักพังขององค์พระธาตุพนม”

.ณ ปากนํ้า ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปกรรมในประเทศไทย เขียนเอาไว้ในบทความเรื่อง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศิลปที่พระธาตุพนม คัดมาบางส่วนที่ว่า“ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงเมืองโคตรบูรหรือศรีโคตรบองว่าอยู่ใกล้กับภูกำพร้า ซึ่งคือที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน

ลวดลายดินเผาสลักอิฐบนเสาติดผนังที่องค์พระธาตุพนม บางชิ้นเก่าแก่มากและชำรุดสูญหายไปไม่น้อย ทางกรมศิลปากรได้จัดทำขึ้นมาใหม่โดยประสานลวดลายเข้ากับของเดิม

ณ ลุ่มนํ้าชีและแม่นํ้าโขง มีอารยธรรมเก่าแก่สืบทอดกันมาอย่างไม่ขาดสาย โบราณสถานอันเด่นเป็นศรีสง่าของภาคอีสานคือพระธาตุพนม และเป็นสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในอีสาน ถ้าดูจากลวดลายแล้วน่าจะร่วมสมัยกับศิลปะสมัยคุปตะของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๓) ถ้าพระธาตุพนมสร้างมาแต่ก่อนพุทธกาล รูปทรงก็น่าจะเป็นแบบโอควํ่า บนฐานสี่เหลี่ยม แต่ได้พังลงมาเสียนานแล้ว

ของเก่าที่เหลือจึงมีเพียงฐานสี่เหลี่ยมสองชั้นชั้นสองมีซุ้มสี่ทิศ เหนือขึ้นไปน่าจะทำตามสมัยนั้นนั้นที่มาบูรณะต่อเนื่อง และมีข้อน่าสังเกตว่า ไม่ว่าจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยต่อมา ทุกสมัยยังคงรักษาฐานสี่เหลี่ยมเอาไว้อย่างเดิม คงทำใหม่เฉพาะส่วนบนจากฐานสี่เหลี่ยมชั้นสองขึ้นไป

พระธาตุพนมไม่เพียงเป็นโบราณสถานที่สำคัญและเก่าแก่เท่านั้น หากแต่เป็นศูนย์รวมคนในสองฝั่งโขงเข้าด้วยกัน เป็นที่รวมจิตใจของคนอีสานทั้งหมด

ไม่มีคนอีสานคนใดเลยที่ไม่เคยไปไหว้พระธาตุพนม

ไม่มีศิลปกรรมที่งดงามชิ้นไหนในอีสานจะเก่าแก่และทรงคุณค่าเท่าแผ่นดินเผาจำหลักที่ฐานสี่เหลี่ยมทั้งสองชั้นของพระธาตุพนม

สถูปอิฐพระธาตุพนมองคเ์ ดิม ตั้งอยูเ่ กาะกลางสระน้ำหนา้ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนมประมาณ ๒๐๐ เมตร ข้างในเป็นที่เก็บรักษาเศษอิฐเศษปูนพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งพังทลายลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘

Related Posts

ผักดอง…ทําไมจึงดอง
ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com