พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว” เกิดคำว่า “อีสาน” และภาคอีสานนิยม
พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว” เกิดคำว่า “อีสาน” และภาคอีสานนิยม
พ.ศ. 2434 ราชสำนักกรุงเทพฯได้รวมหัวเมืองต่างๆ มาเป็นมณฑล แต่ยังไม่ได้จัดเป็นแบบเทศาภิบาล จนถึง พ.ศ. 2437 จึงได้ตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 3 มณฑล คือ
1.มณฑลลาวกลาง พระยาประสิทธิศิลปการเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล มีที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ประกอ ด้วย 3 เมือง คือ นครราชสีมา, ชัยภูมิ และบุรีรัมย์
2.มณฑลลาวกาว มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สําเร็จราชการมณฑล มีที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ประกอบด้วย 7 เมือง คือ อุบลราชธานี, นครจําปาศักดิ์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และกาฬสินธุ์
3.มณฑลลาวพวน มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ ก่อน พ.ศ. 2436 มีหัวเมือง ทางฝั่งซ้ายรวมอยู่ด้วย และมีแคว้นพวนเป็นแคว้นใหญ่ มีเมืองเชียงขวางเป็นเมืองสําคัญ และทรงตั้งชื่อมณฑลลาวพวนตามชื่อ เมืองพวน ภายหลังปี พ.ศ. 2436 เมืองในมณฑลนี้จึงเหลือเพียง 6 เมือง คือ อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร เลย หนองคาย ตั้งที่บัญชาการอยู่ที่เมืองอุดรธานี (เดิมอยู่ที่หนองคาย)
ขอบคุณบทความจากเว็บไซต์ silpa-mag.com
อ่านต่อได้ที่ลิงก์
พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว” เกิดคำว่า “อีสาน” และภาคอีสานนิยม