มันเป็นไปแล้ว !!
“พรรคเสรีมนังคศิลา”
ก่อตั้งปี ๒๔๙๘ เมื่อ ป. พิบูลสงคราม กลับจากยุโรป
ป. หัวหน้าพรรค
เผ่า ศรียานนท์ เลขาธิการ
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รองหัวหน้า
นอกจากริสร้างพรรคค้ำบังลังก์
ยังเป็นผู้สร้างตำนาน”ตระบัดสัตย์เพื่อชาติ”
และร่วมวาง’กฎวัฒนธรรมไทย’
“พรรคชาติสังคม”
สฤษดิ์ หัวหน้าพรรค
ถนอม กิตติขจร รองหัวหน้า
เกิดจากสฤษดิ์ทุบพรรคเสรีมนังคศิลา
เบื้องต้นมีคนตั้ง”พรรคสหภูมิ”สนับสนุน
สุดท้ายตั้งพรรคเอง
ต่อมารัฐประหารซ้ำ ยุบพรรคการเมืองทั้งหมด
สฤษดิ์เป็นนายกฯจนป่วยตาย
“พรรคสหประชาไทย”
ก่อตั้งโดยทายาทอสูรเมื่อปี ๒๕๑๑
ถนอม ตั้งเองเป็นหัวหน้าพรรคเอง
ประภาส จารุเสถียร เป็นหนึ่งในรองหัวหน้า
แม้พรรคถนอมชนะเลือกตั้งปี ๒๕๑๒
อีกสองปีต่อมามีเหตุวุ่นวาย
ถนอมรัฐประหารตนเอง
ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคการเมือง ห้ามจับกลุ่มคุยกันเกินห้าคน
“พรรคชาติประชาธิปไตย”
ปี ๒๕๒๕ เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
“พรรคราษฎร”
๒๕๒๙ เทียนชัย สิริสัมพันธ์
(ไม่ได้เป็นนายกฯ)
“พรรคความหวังใหม่”
๒๕๓๓ ชวลิต ยงใจยุทธ
“พรรคชาติพัฒนา”
๒๕๓๕ ชาติชาย ชุณหะวัณ
“พรรคสามัคคีธรรม”
ตั้งหลังจากรัฐประหารรัฐบาลชาติชาย
โดย สุนทร คงสมพงษ์ และสุจินดา คราประยูร
นำมาซึ่งนายกฯสุจินดา ผู้”เสียสัตย์เพื่อชาติ”
จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี ๒๕๓๕
“พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา”
๒๕๕๐ เชษฐา ฐานะจาโร
(ไม่ได้เป็นนายกฯ)
๒๕๕๔ เปลี่ยนชื่อล่าสุดเป็น “พรรคชาติพัฒนา”
“พรรคราษฎร” (เดิมชื่อ”พรรคมาตุภูมิ”)
ตั้งเมื่อปี ๒๕๕๑
สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า
เป็นพรรคเผด็จการทหารที่ล้มหัวคะมำไม่เป็นท่า
“พรรคประชาชนปฏิรูป”และ”พรรคพลังชาติไทย”
ขึ้นรูปทรงหลังรัฐประหาร ๒๕๕๗
มุ่งหนุนขุนทหารเป็นใหญ่
“พรรคพลังประชารัฐ”
แต่แล้วฝนตกขี้หมูไหล คนรำไรมาเจอกัน
เกิดพรรคใหม่มาแรงแซงดัน ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ
โดยแก้บทรัฐธรรมนูญให้มีนายกฯคนนอกได้
แต่แล้วการหมกเม็ดก็เน่าใน
เมื่อประยุทธ์เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแต่ไม่ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติ
เมื่อประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติแต่ไม่ได้บริหาร
เมื่อสองฝ่ายจัดสรรตำแหน่ง ผลประโยชน์ ไม่ลงร่องก็หักโค่นกัน
เนติบริกรและลิ่วล้อจะออกแบบตั้งนั่งร้านรักษาหรือสถาปนาอำนาจนำกันอย่างไร
“พรรค………………………”
พรรคเผด็จการทหารยึดมั่นใน’คาถาวัฒนธรรมไทย’
คือเพื่อ – “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”
การจัดตั้งรัฐบาลหลายครั้งกองทัพจัดการโดยต้องใช้พรรคการเมือง
หลังเหตุการณ์วัน”๑๔ ตุลาฯ ๒๕๑๖” ประชาธิปไตยเบ่งบาน
มีคำว่า “ประชาชน” ขึ้นมาต่อห้อยท้าย
“ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชน”
ผ่านมาไม่นานก็เลือนลางจางเหลือเพียง
“ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”.
[ขออนุญาตและขอบคุณเจ้าของภาพมา ณ ที่นี้]