ภาพบันทึกการเดินทาง แถลงข่าวหนังสือ”รอยทาง เจริญธรรม” 13-15 มิ.ย. 2557 และตามรอยอนุสรณียสถาน”สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช” ที่จังหวัดกาญจนบุรี กับ “กลุ่มกล้องกับปากกา ด้วยดวงตาและหัวใจ” โดย สงคราม โพธิ์วิไล, สมปอง ดวงไสว, ธีรภาพ โลหิตกุล และที่ปรึกษา-ประสานงาน กิติมาภรณ์ จิตราทร.
ภาพและข้อความโดย: ปรีดา ข้าวบ่อ
ทางอีศาน
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ เลื่อนซ้ายขวาดูภาพก่อนหน้าย้อนหลัง
1. ร่วมเดินทางไปงานแถลงข่าวหนังสือ”รอยทาง เจริญธรรม” และตามรอยอนุสรณียสถาน”สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช” ที่จังหวัดกาญจนบุรี… ตามกำหนดการ มีเรื่องน่ารู้น่าตื่นตาตื่นใจมากครับ.
2. หนังสือ”รอยทาง เจริญธรรม” ; “เจริญ”ชื่อเดิมของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ. หนังสือเล่มนี้รับผิดชอบเนื้อหาและการผลิตโดย”กลุ่มกล้องกับปากกา ด้วยดวงตาและหัวใจ” โดย สงคราม โพธิ์วิไล, สมปอง ดวงไสว, ธีรภาพ โลหิตกุล และที่ปรึกษา-ประสานงาน กิติมาภรณ์ จิตราทร.
3. กินข้าวเที่ยงที่ร้าวครัวชุกโดน (ชุกกระโดน:ที่ที่มีต้นกระโดนมาก) ย่านปากแพรก-สถานที่ประสูติในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช.
ผศ.ฟ้อน เปรมพันธุ์ ผอ.สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.กาญจนบุรี และอาจารย์ประพฤติ มลิผล (“เล็ก บ้านใต้” ให้การต้อนรับ และอธิบายภูมิบ้านนามเมืองเป็นเบื้องต้น.
4. เดินทางสู่หอพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช, อาจารย์สุภา คชวัตร พระญาติชั้นหลานในเจ้าพระคุณสมเด็จฯนำชมทั้งสามชั้น.
5. ทิวทัศน์เมืองกาญจนบุรี มุมมองจากชั้นสี่ของหอพระประวัติฯริมฝั่งแควศรีสวัสดิ์(แควใหญ่).
6. อ่านบทกวีสังฆราชามหาสดุดี โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ยุทธ โตอดิเทพย์, สุธีร์ พุ่มกุมาร, ทิน ละออ และศิวกานท์ ปทุมสูติ และการแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ”รอยทาง เจริญธรรม” โดย พระกิตติสุวัฒนาภรณ์ ท่านเจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) กาญจนบุรี, ดร.ณรงค์ รัตนานนท์เสถียร อธิการบดี มรภ.กาญจนบุรี, อาจารย์สมปอง ดวงไสว ผู้เขียนและบรรณาธิการหนังสือ”รอยทาง เจริญธรรม” และ ผศ.ฟ้อน เปรมพันธุ์ ผอ.สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.กาญจนบุรี หน่วยงานผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์.
7. ชมภาพชุด”ภาพเก่าเล่ากาญจน์” โดย อาจารย์สงคราม โพธิ์วิไล และอาจารย์ประพฤติ มลิผล ผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพและทางวัฒนธรรมชุมชน
มือสารคดีระดับประเทศ (จากซ้าย) องค์ บรรจุน, ธีรภาพ โลหิตกุล, ทองแถมนาถจำนง, สมปอง ดวงไสว,สงคราม โพธิ์วิไล และประพฤติ มลิผล. ด้วยความรัก ทุ่มเท และสร้างสรรค์ ของบรรดานักคิดนักเขียนเหล่านี้ทำให้งานประเภทสารคดีโดดเด่น ในขณะงานด้านวรรณกรรมกำลังสะสมพลังใหม่.
8. บุญของครอบครัว”เกียรติกวินวงศ์”ได้ร่วมกับชาวบ่อพลอยใส่บาตรสมเด็จพระสังฆราช ครั้งเป็นสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ.2526
วันนี้ พ.ศ.2557 บุคคลในภาพทั้งหมดมาร่วมใส่บาตรกันอีกครั้ง เพื่อรำลึกพระจริยวัตรท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ชมบรรยายกาศตลาดเก่าบ่อพลอย บ้านไม้เหลืออยู่ไม่กี่หลังคาแล้ว.
9. ระหว่างทางจากตลาดบ่อพลอยเข้าอำเภอท่าม่วง ผ่านเขาดินสอ บนรถสองชั้นมองไปทางซ้ายมือเห็นรถปิคอัพนับพันคันจอดอยู่ตีนเขา มีรถวิ่งลัดเลาะเข้าออกเป็นสายอีกหลายเส้นทาง
ทราบภายหลังว่าเป็นพี่น้องชาวบ้านใกล้ไกลมาขอหวยที่สำนักสงฆ์ แม่นจนถูกติดต่อกันมา 11 งวด งวดที่แล้วเป็นตัวเงิน 200 กว่าล้าน เจ้ามือหนีออกจากพื้นที่แล้ว ในขณะพระเจ้าสำนักก็ถูกทหารนิมนต์ไปอยู่ในที่ปลอดภัยด้วยกลัวเจ้ามือจ้างมือปืนมาเก็บ
พูดกันว่าเลขที่ปรากฏในอ่างน้ำมนต์นั้นเด็ดขาดมาก สามตัวตรง ๆ ไม่ต้องกลับเลย และมีแต่เสาไฟฟ้าเท่านั้นที่ไม่ได้เงินหวย.
10. เยี่ยมศึกษาพี่น้องบัานหนองขาว อ.ท่าวง ชุมชนต้นแบบการจัดการวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อมารับใช้ปัจจุบันอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเกษตรกรรม หัตถกรรม และอาหารการกิน
เริ่มต้นที่”ทีพีรีสอร์ท” ของ ครูมนู-ครูอุบล อำนวย ครอบครัวภูมิปัญญาพื้นถิ่นผู้ร่วมบุกเบิกงานชุมชน.
11. จาก ที.พี.รีสอร์ท นั่งรถอีแต๋นเยี่ยมชมวัดอินทราราม, โชคดีพบขบวนแห่นาคตามประเพณีพื้นถิ่น และมีสีสันสืบสายมาจากชาติพันธุ์มอญ.
12. ในวัดมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน แผนที่ที่จัดทำโดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นี้สำคัญมากครับ, เส้นบนนั้นแสดงถึงอาณาจักรยุคทวารวดีขยายตัวไป เส้นล่างคืออิทธิพลฮินดู-ขอม.
รูปสุดท้ายเป็นประวัติศาสตร์ยุคใกล้ ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือ ขบวนการเสรีไทยที่นี่เข้มแข็งมาก หายใจรดจมูกทหารญี่ปุ่น พลพรรคชาวบ้านหนองขาวก็มีไม่น้อย เวลาประชุมก็นัดกันที่ย่านปากแพรกซึ่งกองบัญชาการใหญ่ญี่ปุ่นตั้งอยู่.
13. เยี่ยมบ้านชายหนุ่ม ผู้สืบทอดการทอผ้าขาวม้าร้อยสี เอกลักษณ์ผ้าขาวม้าเมืองกาญจน์อันลือลั่น มานับสิบปี.
14. ขนมตาลอ่อนหวาน หอม ฟูนุ่มละมุนลิ้น. อาจารย์สงครามชิมไป 7 ชิ้น, น้องบุ๊ก เนชั่นส์ 5 ชิ้น ท่านอื่น ๆ ก็คงไม่แพ้กัน เพราะจิ้มหยิบจนเกลี้ยงหมดถาดภายในพริบตา.
รองท้องกันอิ่มหนำแล้วทยอยขึ้นไปไหว้”หม้อยาย”; สัญลักษณ์ผีบรรพชน ที่สะท้อนให้เห็นสังคมครั้งบรรพกาลนับถือผู้หญิงเป็นใหญ่.
ชามที่แขวนซ้ายสุดคงใช้แทนกะลาสำหรับใส่เครื่องไหว้ ถัดไปเป็น”บ้านพ่อปู่” ภายในบรรจุหมากพลู มีไม้เตว็ดสองอัน และภายใน”หม้อยาย” นอกจากหมากพลูยังบรรจุหุ่นขี้ผึ้ง.
15. กุหลาบข้างทาง, ขบวนรถอีแต๋น 3 คัน, อาหารมื้อเที่ยงครับ พิเศษ – “แกงฟักใส่ถั่ว”, “แกงผักหวานป่า”, เลี้ยงข้าวแล้วเจ้าภาพยังมอบของที่ระลึกให้ผู้มาเยือน.
อาสนะจากเศษผ้าร้อยสี จัดทำขึ้นเพื่อรำลึกพระจริยวัตรของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งใช้อาสนะที่โยมแม่เย็บทำให้จนเก่าเก็บ, “ถ้าท่านใดซื้อหนังสือ ‘รอยทาง เจริญธรรม’ จำนวน 20 เล่ม จะได้รับอาสนะนี้ 1 ผืน นะคะ” พรีเซ็นเตอร์ฝากบอก.
16. ศาลหลักเมือง, ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ผู้ก่อตั้งเมืองกาญจน์, ประตูเมือง และอาจารย์สุพัตราฯ (ใส่แว่นดำ) จะนำพาขี่รถรางชม”ย่านปากแพรก”ชุมชนเก่าแก่…
17. ถนนย่านปากแพรก, โรงแรมเรือนไม้คืนละบาท, น้องสะใภ้คนเล็กของนายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ วีรชนสมัยญี่ปุ่นยึดประเทศไทยที่โลกยกย่อง, เรือนหอของพระยาพหลพลพยุหเสนา, บ้าน”คชวัตร”-ของพระชนกและพระชนนีในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และยิ้มรับแขกของคุณยายชาวปากแพรก.
18. วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) สถานที่ประสูติทางธรรมของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, พระอุโบสถที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓, พระอุโบสถที่”คณะราษฎร”ตั้งกองบุญมาสร้าง, อาจารย์สมปอง ดวงไสว บรรยายจิตรกรรมฝาผนัง…
19. ภาพจิตรกรรมมีการซ่อม-เขียนใหม่หลายครั้ง ภาพที่ปรากฏอยู่วันนี้สะท้อนวิถีชีวิต ความคิความเชื่อ และมุกตลกของจิตรกร, สังเกตภาพสุดท้าย คาดว่าผู้วาดวางแนวลายประดับฝาผนังสองด้านไม่ตรงกัน จึงแก้ปัญหาโดยใช้ตัวละครก้มทำท่าเพื่อยกปรับให้ตรงกัน.
20.
๐ กราบลาดวงวิญญาณเจ้าพระคุณฯ
ใต้จามจุรีการุณมิ่งพฤกษา
ตระหง่านแผ่ร่มเงาเนาว์เมตตา
แด่สรรพชีวาผู้ว่ายเวียน
ทรงดูดเอาธรรมธาตุอันเป็นทิพย์
บำรุงเลี้ยงกายจิตไม่ผันเปลี่ยน
พระจริยวัตรทุกอย่างวางแบบเรียน
ให้คนเพียรเขียนวาดพ้นทาสตน
นิ่งสงบเย็นกายาวาจาใจ
งดงามจากภายในกลางไพรสณฑ์
บารมีนำต้านมารผจญ
กราบชีวิตรับมงคลเจริญ-เจริญ.
ปรีดา ข้าวบ่อ 15 มิ.ย. 2557