ฮีตเดือนอ้าย

คำว่า “อ้าย” แปลว่า หนึ่ง, กก, ก่อน เดือนอ้ายเป็นเดือนแรกในฮีตสิบสองงานบุญประจำเดือนเดือนอ้ายสังฆเจ้าเข้ากรรม ส่วนเดือนยี่หาฟืนมาไว้แล้วตั้งข้าวจี่ในเดือน ๓ เป็นประเพณีที่เก่ามาอย่างนี้ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนี้ ด้วยว่าการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้นไม่จำกัดว่าจะปฏิบัติเดือนไหนขึ้นกับการทำผิดพระวินัยของพระในช่วงนั้น แต่เมื่อเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงไม่มีประเพณีใด ๆ ตามพุทธบัญญัติ ปราชญ์อีสานจึงจัดการอยู่ปริวาสกรรมไว้ในเดือนนี้ จนกลายเป็นงานบุญประจำเดือนอ้าย

แต่เดิมเดือนนี้จะเป็นประเพณีเลี้ยงผีฟ้าแถน มีปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ในสมัยนั้นถือว่าเป็นประเพณีสำคัญของลาวและถูกยกเลิกในสมัยพระโพธิสารราช เพราะพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดจะเห็นว่าประเพณีนี้มีมาก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ในลาวรวมถึงอีสาน

แต่เดิมมีการบูชาเลี้ยงผีฟ้าแถนในเดือนเจียงตามประเพณีดึกดำบรรพ์ ต่อมามีคติความเชื่อทางฮินดูแพร่เข้ามา ศาสนาพราหมณ์ถือว่าพระเจ้าคือพระศิวะ ลงมาเยี่ยมมนุษย์โลกปีละครั้งในวันขึ้น ๗ คํ่า เดือนอ้าย จะกลับคืนเทวโลกถึงในวันแรม ๑ คํ่า และพระนารายณ์ลงมาเยี่ยมมนุษย์โลกปีละครั้งเช่นกัน ในวันแรม ๑ คํ่า เดือนอ้าย จะกลับคืนเทวโลกถึงในวันแรม ๕ คํ่า จึงมีการทำพิธีต้อนรับพระเจ้า ด้วยการฟ้อนรำ การแสดงมหรสพต่าง ๆ เป็นที่มาและมีการลอกเลียนแบบของงานบุญในเดือนนี้ดังนั้น คำว่า “ฮีตยี่คองเจียง” ไม่ได้หมายถึงการเข้ากรรมของสงฆ์ แต่เป็นประเพณีเลี้ยงผีฟ้าแถนในช่วงขึ้นปีใหม่ก่อนการนับถือพระพุทธศาสนา

วันที่นิยมทำมักกำหนดเอาวันขึ้น ๑๕ คํ่า จะจัดเตรียมสถานที่ให้สะอาด เตรียมนํ้าฉันนํ้าใช้ ทำกระท่อมเล็ก ๆ บริเวณที่พระเณรน้อยไม่จรไปมา กล่าวคำขอปริวาสเมื่อครบกำหนดแล้วจึงขอมานัต ๖ ราตรีขออัพภานจึงเป็นผู้บริสุทธิ์ การอยู่กรรมก็คือการทรมานตน จะมีการนั่งสมาธิเดินจงกรม สวดมนต์ภาวนา ใช้เวลามากกว่าปกติ บางทีมีการอดข้าวอดนํ้า เพื่อให้เข้าใจความยากลำบากตามคำว่า “กรรม” หรือ “อยู่กรรม” ที่แม่ได้อยู่ไฟหรือว่าอยู่กรรมนั้นมี ความยากลำบากเพียงไร เพราะฉะนั้นคนสมัยก่อนจึงมีความตระหนัก และเข้าใจบุญคุณของพ่อแม่ จะไม่ปรากฏข่าวว่าลูกฆ่าพ่อตีแม่หรือเป็นลูกอกตัญญู มีแต่เทิดทูนพ่อแม่ในฐานะปูชนียบุคคล ในงานบุญพุทธศาสนิกชนผู้หวังบุญกุศล ก็นิยมอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่เข้าอยู่กรรม เช่น บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม เป็นต้น เกี่ยวกับการเข้าอยู่ปริวาสกรรมเรียกว่า “บุญเข้ากรรม” ส่วนกำหนดการทำบุญดังกล่าวกำหนดเอาเดือนอ้ายส่วนจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ คติความเชื่อการอยู่กรรมก็เพื่อให้พ้นกรรมของพระสงฆ์ ดังเรื่องราวของพญาเอรกปัตต์นาคราช ดังต่อไปนี้

 

พระหนุ่มขี้เล่นว่ายนํ้าตามเรือ

กาลนานมาแล้วนับเนื่องเป็นหลายอสงไขย (มากจนนับไม่ถ้วน) ล่วงเลยมาจนไม่สามารถกำหนดช่วงเวลา กำหนดวัน กำหนดเดือน กำหนดปีที่เกิดเหตุการณ์ได้ ในสมัยก่อนพุทธกาลนานมา ครั้งนั้นมีพญานาคราชตนหนึ่งได้เสวยผลกรรมของตนมาช้านาน มาตั้งแต่ครั้งอดีตชาติปางก่อนในยุคศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “กัสสปะ” ในยุคภัทรกัป

ท่านได้เกิดเป็นมนุษย์ก่อนจะมาเกิดเป็นพญานาคแล้วบวชเป็นพระภิกษุหนุ่ม หลังจากบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในวัดของพระพุทธเจ้าจนมีความรู้ข้อวัตรปฏิบัติพอสมควรแล้ว จึงออกไปจำพรรษาตามป่าเขาลำเนาไพรซึ่งเปน็ สถานที่สงบ สถานที่นั้นเป็นถ้ำในภูเขาติดชายป่า และมีแม่นํ้าใหญ่ไหลผ่านลงทะเลเป็นบริเวณเหมาะแก่การเจริญสมณธรรม ท่านได้บวชเป็นพระจำศีลเจริญเมตตาภาวนานานถึง ๒๐,๐๐๐ ปี แต่ก็ยังเป็นพระปุถุชนธรรมดาที่เรียกว่า “สมมติสงฆ์” ยังไม่ได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง

โดยปกติท่านจะปฏิบัติกิจวัตรเหมือนพระสงฆ์ทั่วไป ทุกเย็นจะลงจากเขามาสรงนํ้า และทำกิจส่วนตัวที่ท่าน้ำนี้ทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งท่านมาอาบน้ำและทำกิจอื่นอย่างเช่นทุกวันอยู่ที่ท่านํ้าแห่งนี้ เผอิญว่าวันนั้นมีเรือสำเภาสินค้าลำหนึ่งแล่นมาอย่างช้า ๆ ด้วยนํ้าหนักสินค้าที่มาก ได้แล่นเฉียดเข้าใกล้ท่าที่ท่านอาบนํ้าอยู่ และเผอิญว่าตอนนั้นมีตะไคร่นํ้าเกาะติดลอยตามมาโดยมีความยาวมากและดูดีน่าจับเล่น ด้วยเรือสินค้าลำนี้แล่นไปส่งสินค้าระยะไกลจึงต้องลอยอยู่ในลำน้ำนานและตอ้ งเดินทางกันเป็นแรมเดือน ตะไคร่นํ้าจึงจับเกาะติดกันมาก เมื่อท่านแลเห็นตะไคร่นํ้าที่จับข้างเรือแล้ว ด้วยวัยหนุ่มที่คะนองก็เลยนึกสนุกขึ้นมาจึงโผกายเข้าหาเรือ แล้วยื่นมือเข้าไปจับที่ปลายสุดของตะไคร่นํ้านั้น แล้วปล่อยให้เรือลากลอยตัวไปตามอัธยาศัยด้วยความสบายกาย แต่ว่าสายตะไคร่นํ้าที่เกาะเกี่ยวกันมากับเรือไม่สามารถรองรับนํ้าหนักร่างกายได้นาน อีกทั้งไม่สามารถที่จะทรงตัวอยู่ได้นาน จึงหลุดขาดออกจากกันเป็นท่อน ๆ ตัวของท่านเองก็หลุดออกมา แต่ว่าร่างกายของท่านไม่เป็นอันตรายใด ๆ

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเพียงแต่การทำลายของเขียวที่เป็นพืช ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดต่อพระวินัยกล่าวคือ การทำให้ตะไคร่นํ้าหลุดจากที่เดิม พระกัสสปพุทธเจ้าทรงได้วางกฎระเบียบเอาไว้ปรับเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติอย่างเบาโดยต้องแสดงความบริสุทธิ์ต่อหน้าพระภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นโทษได้ แต่มีโทษไม่เหมือนกับอาบัติปาจิตตีย์ที่เกี่ยวกับข้อที่ทำการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อันมีโทษหนักกว่าคือต้องรับกรรมบาปทำร้ายชีวิตผู้อื่นหรือสัตว์อื่นและต้องลงนรก แต่อาบัติปาจิตตีย์ข้อที่พรากของเขียวให้พลัดออกจากที่เดิมไป ต้องอาบัติผิดพระวินัยอย่างแน่นอน ด้วยท่านเป็นพระป่าที่จำพรรษาอยู่รูปเดียวจึงไม่ได้มีการแสดงอาบัติ ความบริสุทธิ์จึงไม่มีเพราะไม่มีโอกาสระงับโทษฐานที่ทำผิดนี้ได้ ด้วยไม่ได้แสดงอาบัติของพระภิกษุหนุ่มรูปนั้น ท่านก็คิดได้แต่เพียงว่า “นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อยคงไม่เป็นไรหรอก…” เพื่อเป็นการปลอบใจตนเอง

ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ ๗๑๐ ในภูตคามวรรค ปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑ กล่าวว่า “ภิกษุพราก
ของเขียวซึ่งเกิดอยู่กับที่ให้หลุดจากที่ต้องอาบัติปาจิตตีย์” การแสดงอาบัติเมื่อภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะพรากของ
เขียว พึงเข้าไปหาภิกษุด้วยกัน นุ่งห่มผ้าให้เรียบร้อยแล้วนั่งกระโหยง่ ประนมมือกราบพระภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่าพร้อมกับเปล่งวาจาต่อหน้าพระภิกษุรูปนั้น แสดงออกถึงความจริงใจในการที่จะสำรวมหรือระวังไม่ให้ล่วงสิกขาบทข้อนั้นอีก

นับตั้งแต่วันกระทำความผิดต่อพระวินัยในคราวนั้น ท่านก็พยายามเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าในถํ้าแห่งนี้เป็นเวลาประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี ก่อนที่จะมรณภาพลง แต่ว่าจิตใจของท่านยังคิดเกี่ยวอยู่กับการกระทำผิดอยู่ตลอดเวลา เป็นประดุจสายใบตะไคร่นํ้าผูกคออยู่ทุกสถานที่ ผลกรรมก็ติดตามไปทุกที่เช่นกัน แม้ท่านอยากจะแสดงอาบัติเมื่อเห็นภิกษุอื่น ก็เกิดความเดือดร้อนขึ้นภายในใจว่า “เรามีศีลไม่บริสุทธิ์ คนอื่นจะมองว่าเราบกพร่องต่อพระวินัย” ด้วยความอายจึงไม่กล้ายอมรับความจริงเวลาตายอาบัติเล็กนอ้ ยนี้ก็คาใจติดตามไปสู่โลกหน้าการจำศีลภาวนาของท่านไม่มีผลส่งให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหมได้เลย แต่ต้องไปรับผลกรรมจึงได้เกิดเป็นพญานาคที่ต้องอาศัยอยู่ในนํ้าเหมือนกับพญานาคทั่วไป

ด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญบารมีนานถึง ๒๐,๐๐๐ ปี และมีความเคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยผลบุญอันนี้จึงมีสภาวะเป็นทิพย์ มีความเป็นอยู่คล้ายเทวดา คือมีที่อยู่เป็นทิพย์ มีเครื่องบริโภคเป็นทิพย์ มีสมบัติอันเป็นทิพย์ แต่ทว่ามีสภาพเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีนามว่า “พญาเอรกปัตตนาคราช” ที่ได้ชื่อว่าเช่นนี้เป็นเพราะท่านมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนนาคธรรมดา มีรูปลักษณ์เหมือนตะไคร่นํ้าทั้งตัวรุ่มร่ามนุงนังดังตะไคร่น้ำที่ลอยอยู่ตามน้ำ มีขนาดร่างกายประมาณเท่ากับเรือโกลนลำหนึ่ง นับแต่ได้มาเกิดเป็นพญานาคแล้วก็ได้แลดูอัตภาพตนเองเป็นอย่างดี แต่ก็มีบ่อยครั้งที่รู้สึกเสียใจว่า “เราอุตส่าห์เจริญสมณธรรมอยูต่ ลอดเวลา เมื่อครั้งที่ตนเป็นพระสงฆ์ แต่ก็ยังมาเกิดในที่ ๆ มีกบ เขียด ปลา ปู หอย กุ้ง เป็นที่เกิดอันไม่เหมาะสมกับตนเองเอาเสียเลยเป็นกำเนิดที่ไม่มีเหตุผลตามสมควรที่จะได้” ต่อมาพญาเอรกปัตตนาคราชเจริญวัยขึ้นตามสมควร ก็ได้นางนาควิกาคือนาคนารีอีกตัวหนึ่งเป็นคู่ครอง ไม่นานก็ให้กำเนิดลูกสาวน่ารักตนหนึ่ง นางมีรูปโฉมงดงามมาก หากแปลงกายเป็นมนุษย์ มีนามว่า “นางนาคมาณวิกา”

ครั้นเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงอุบัติขึ้นบนโลกนี้ พญานาคตนนี้ถึงแม้จะเป็นนาคแต่มีอารมณ์ใจเป็นทิพย์ มีความคิดอยู่เสมอว่า “เมื่อไรหนอพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่จะทรงอุบัติขึ้น เราช่างมีอายุนานเหลือเกิน นานเกินไปแล้วหนอ…” (เพราะท่านเกิดเป็นนาคในสมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ และพระองค์ทรงนิพพานไปแล้ว สิ้นเวลาเป็นล้าน ๆ ปีจนนับไม่ถ้วน พญานาคตนนี้ก็ยังมีอายุยืนเป็นพญานาคอยู่) ที่คิดเช่นนี้เป็นเพราะว่า ถ้าหากว่าตายจากความเป็นนาคแล้ว ผลกรรมดีที่มีแต่ครั้งเป็นพระสงฆ์จะบันดาลให้เป็นเทวดาได้ ทุก ๆ วันก็คิดคำนึงอยู่เช่นนี้แต่ทว่าจิตใจก็ยังเต็มไปด้วยกุศลอยู่ตลอด

อยู่มาวันหนึ่ง พญาเอรกปัตตนาคราชได้คิดหาอุบายเพื่อจะทราบข่าวการอุบัติใหม่ของพระพุทธเจ้า จึงใช้ลูกสาวเป็นเครื่องมือในการสืบหาพระพุทธเจ้า ด้วยท่านเกิดความไม่สบายใจคิดว่า “พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วหรือยัง…” เมื่อคิดได้เช่นนี้เป็นเพราะทนรอไม่ไหว จึงเรียกลูกสาวคือนางนาคมาณวิกามา แล้วให้แปลงกายเป็นมนุษย์สาวสวยให้เป็นที่ต้องตาต้องใจมนุษย์มากที่สุด โดยพญานาคได้ป่าวประกาศว่า “ผู้ใดก็ตามสามารถตอบคำถามลูกสาวของตนได้ ผู้นั้นก็จะได้ลูกสาวตนไปเป็นภรรยาทันที” โดยกำหนดว่าในทุกต้นเดือนและกลางเดือน เดือนหนึ่งสองครั้งห่างกัน ๑๔ วัน ซึ่งจะตรงกับวันอุโบสถพอดี จะให้ลูกสาวยืนบนพังพานของตนแล้วให้ร้องขับขานเพลงซึ่งมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า

“ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่าชื่อว่าพระราชา อย่างไรเล่าพระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร อย่างไรเล่าชื่อว่าปราศจากธุลี และอย่างไรเล่าท่านจึงเรียกว่าคนพาล…”

เมื่อชาวบ้านชาวเมืองทั้งหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ได้ยินเช่นนั้น ต่างก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ด้วยความพิเศษแห่งความงาม ด้วยความพิเศษแห่งพญานาค และดว้ ยความพิเศษแหง่ สถานที่ ชายหนุ่มหลากหลายคนต่างถิ่นต่างภาษาและต่างวัย ต่างก็มุ่งหน้าเข้ามาตอบคำ ถามโดยหวังจะได้ลูกสาวพญานาคเป็นภรรยา แต่ก็ไม่มีชายหนุ่ม ผู้ใดสามารถตอบถูกสุขสมหวังอย่างที่ตั้งใจ

ทุกครั้งเมื่อถึงเวลาตัวท่านเองก็แผ่พังพานแล้วให้ลูกสาวยืนบนพังพานของตน แล้วก็ร้องเพลงเป็นพุทธภาษิตที่แต่งขึ้น โดยตั้งจิตคิดว่า “เพลงนี้มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงแก้ได้ คนธรรมดาไม่สามารถจะแก้ได้…” เพลงของท่านเป็นพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้ากัสสปะตรัสเอาไว้เมื่อครั้งตนยังเป็นพระสงฆอ์ ยูนั่้น ที่สามารถจดจำได้เพราะจิตเป็นทิพย์ เมื่อท่านแผ่พังพานลอยขึ้นมาบนผิวนํ้า นางนาคมาณวิกาก็ร้องเพลงที่พ่อแต่งให้ โดยมีสัญญาว่า “ถ้าใครร้องเพลงแก้เพลงนี้ได้ เราจะยอมเป็นภรรยา” ด้วยรูปร่างหน้าตาที่สวยไม่ว่าใครที่ทราบข่าวก็พากันไปร้องเพลงแก้ เมื่อร้องเพลงแก้แล้วนางก็ตอบว่า “ไม่ถูก” ท่านพ่อก็เป็นพยานบอกว่า “ยังไม่ถูก” ถ้าร้องเพลงแก้ถูกเมื่อไรก็ยกลูกสาวของเราให้เป็นภรรยาทันที ปฏิบัติเชน่ นี้อยูห่ ลายครั้งหลายเดือนแต่ก็ไม่มีใครตอบได้เลย

วันหนึ่งในเวลาใกล้รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นชายหนุม่ คนหนึ่งชื่อว่า “อุตตระ” เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ทรงตรวจสอบแล้วทราบว่า “หนุ่มอุตตระจะได้บรรลุโสดาปัตติผล ซึ่งโยงใยไปถึงปัญหาที่ลูกสาวของพญานาคราชเอรกปัตต์จะถาม” ในช่วงนั้นหนุ่มอุตตระอยู่ระหว่างเดินทางจะไปตอบคำถามของลูกสาว

พญานาค เหมือนผู้คนอื่น ๆ ที่กำลังมุ่งหน้าไปยังฝั่งแม่นํ้าคงคานั้น

พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปอยู่ในระหว่างทางเดินผ่านไปของหนุ่มอุตตระ แล้วทรงสอนเนื้อเพลงลำนำที่จะนำไปขับขานตอบคำถามของลูกสาวพญานาคให้ ซึ่งมีเนื้อเพลงตอบโต้ตอนหนึ่งว่า “ผู้เป็นใหญ่ในทวารหกชื่อว่าเป็นพระราชา พระราชาผู้กำหนัดอยู่ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ผู้ไม่กำหนัดอยู่ชื่อว่าปราศจากธุลี ผู้กำหนัดอยู่ท่านเรียกว่าคนพาล”

พระพุทธเจ้าก็ได้สอนบทเพลงอื่น ๆ ที่จะใช้ขับขานตอบโต้กับเพลงของลูกสาวพญานาคราชอีกหลายบท ขณะที่หนุ่มอุตตระเรียนเพลงขับขานตอบโต้เพลงของลูกสาวของพญานาคอยู่นั้น ก็ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน แม้ว่าจะบรรลุเป็นพระโสดาบันแลว้ แต่หนุ่มอุตตระก็ยังตอ้ งการเดินทางไปตอบคำถามของลูกสาวพญานาคเหมือนเดิม ด้วยความรักที่เป็นบุพเพสันนิวาสที่เคยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ชาติปางก่อน

นอกจากนี้แล้วพระพุทธเจ้ายังตรัสอธิบายเนื้อหาของปัญหาต่อว่า “เนื้อความแห่งเพลงแก้นั้นผู้เป็นพาลย่อมถูกห้วงนํ้า ๔ อย่าง มีห้วงนํ้าคือกามารมณ์เป็นต้นพัดไป บัณฑิตย่อมกำจัดนํ้านั้นด้วยการปฏิบัติความเพียรในทางที่ชอบ บัณฑิตนั้นหลุดพ้นจากเครื่องเกาะเกี่ยว มีเครื่องเกาะเกี่ยวคือกามารมณ์เป็นต้นชื่อว่าผู้ปลอดโปร่งจากเครื่องเกาะเกี่ยว”

เมื่อหนุ่มอุตตระเรียนเพลงแก้ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนได้เป็นอย่างดี ก็จำเอาคำตอบปัญหานั้นไปบอกคนทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย… ข้าพเจ้านำเพลงแก้มาแล้ว ท่านทั้งหลายจงให้โอกาสแก่ข้าพเจ้า” แล้วก็เดินคุกเข่าเข้าไปท่ามกลางมหาชนซึ่งยืนอยู่ติด ๆ กันไป แล้วเข้าไปที่ริมฝั่งแม่นํ้าคงคาเพื่อตอบปัญหากับนางนาคนั้น

เมื่อนางนาคได้เวลาก็ออกมายืนฟ้อนรำอยู่บนพังพานของบิดา แลว้ ก็รอ้ งขับขานเพลงขึ้น ฝ่ายหนุ่มอุตตระก็ได้ร้องขับขานโต้ตอบด้วยบทเพลงในแต่ละท่อนไปตามที่เล่าเรียนมาจากพระพุทธเจ้า เป็นบท ๆ ตามลำดับ ดังนี้

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “ผู้เป็นใหญ่ อย่างไรเล่า ชื่อว่าเป็นพระราชา”

ชายหนุ่มอุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “ผู้เป็นใหญ่ในทวารหก ชื่อว่าเป็นพระราชา”

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “อย่างไรเล่า พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร”

ชายหนุ่มอุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร”

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี”

ชายหนุม่ อุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “ผู้ไม่กำหนัดอยู่ชื่อว่า ปราศจากธุลี”

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “อย่างไรเล่า ท่านจึงเรียกว่า คนพาล”

ชายหนุ่มอุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “ผู้กำหนัดอยู่ ท่านเรียกว่า คนพาล”

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “คนพาลนั้นอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป”

ชายหนุ่มอุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “คนพาลนั้นห้วงนํ้า (คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อมพัดไป”

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “บัณฑิตย่อมบรรเทาอย่างไร”

ชายหนุ่มอุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “บัณฑิตย่อมบรรเทา (โอฆะนั้น) เสียด้วยความเพียร”

นางนาคมาณวิกากล่าวคำถามขึ้นว่า “อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ”

ชายหนุ่มอุตตระก็กล่าวคำตอบว่า “บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง เรียกว่าผู้มีเกษมจากโยคะ”

ในช่วงที่ชายหนุ่ม และหญิงสาวทั้งสองถามตอบกันนั้น ฝ่ายพญาเอรกปตั ตนาคราชก็ตั้งใจฟังอยู่ พอฟังการร้องเพลงแก้นี้ถูกต้องตามที่ตนตั้งใจไว้ ก็คิดในใจว่า “เวลานี้องค์พระพุทธเจ้าจะต้องอุบัติขึ้นแน่แล้ว” เมื่อวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้วก็รู้ว่าพระพุทธเจ้าเกิดแล้วจึงดีใจว่า “เราไม่เคยได้ยินถ้อยคำเช่นนี้ ตลอดหนึ่งพุทธันดรแล้ว พระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นในโลกแล้วหนอ…” ก็รู้สึกดีใจเป็นล้นพ้นจึงได้เอาพังพานตีนํ้า นํ้าก็เป็นกลายเป็นคลื่นทะลักขึ้นฝั่งทำเอาคนที่ยืนอยู่ริมแม่นํ้าหล่นลงไปในนํ้าตาม ๆ กัน เพราะถูกคลื่นนํ้าอันแรงกล้านั้น (จมลงในนํ้าในที่ประมาณ ๑ อุสภะ คือ ๑ เส้นกับ ๕ วา) ฝ่ายพญาเอรกปัตตนาคราชเห็นผู้คนทั้งหลายได้รับความเดือดร้อนจากอาการดีใจของตน ก็รู้สึกเสียใจจึงค่อย ๆ เอาหางประคองผู้คนทั้งหมด ทั้งฟากโน้นและฟากนี้ให้ขึ้นอยู่บนพังพานแล้วยกขึ้นวางไว้บนตลิ่ง แล้วตนก็แปลงเป็นมนุษย์ขึ้นไปถามหนุ่มอุตตระว่า “เพลงที่ท่านนำมาแก้นี้ ท่านคิดได้เองหรือว่าใครสอนท่าน…?”

ชายหนุ่มอุตตรมาณพจึงตอบว่า “เพลงนี้…พระพุทธเจ้าทรงสอนให้”

พญาเอรกปัตตนาคราชจึงไปถามหนุ่มอุตตระต่อว่า “องค์พระศาสดาตอนนี้อยู่ที่ไหน…?”

ชายหนุ่มอุตตระได้ตอบว่า “มหาราช… องค์พระศาสดาประทับอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง”

พญาเอรกปัตตนาคราชจึงบอกว่า “เธอจงมากับเราก่อน ไปกับเราตอนนี้เลย อย่าให้เสียเวลาไปมากกว่านี้อีกเลย”

แล้วพญาเอรกปัตตนาคราชก็ไปกับหนุ่มอุตตระพร้อมกับมหาชนก็ได้ติดตามไปด้วยกันทั้งหมด ในวันนั้นพระองค์ทรงอาศัยอยู่นครพาราณสี ประทับอยู่ที่โคนไม้ซึก ๗ ต้นพอดี๒  [ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นสิรีสะ” ชาวอินเดียเรียกต้นซึกว่า สิริสะ (Siris หรือ Sirisha) ส่วนบ้านเรามีชื่อเรียกกันมากมาย เช่น พฤกษ์ มะรุมป่า ถ่อนนา ก้านฮุง กะเซ มะขามโคก จามจุรี เป็นต้น บางครั้งมักเรียก ต้นก้ามปู หรือต้นจามจุรีแดง (Samanea saman Jacq Merr.) ซึ่งเป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี ]

๒ ต้นซึก (ต้นสิรีสะ) ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ กุกกุสันธพุทธวงศ์ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒๕ พระนามว่า พระกกุสันธพุทธเจ้าผู้มีพระคุณประมาณมิได้ ยากที่จะเทียมถึง ทรงเพิกภพทั้งปวง ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ ควงไม้ซึก หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม ต้นซึก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Albizia lebbeck (L.) Benth.” อยู่ในวงศ์ “Leguminosae” มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า และหมู่เกาะอันดามัน เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตรเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่ม ต้นซึกขึ้นได้ดีในพื้นที่เสื่อมโทรมเป็นไม้เบิกนำที่ดี พบขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย ปัจจุบัน ต้นซึกหรือต้นพฤกษ์เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดมหาสารคาม

เมื่อพญานาคไปถึงแล้วก็เข้าไปสู่ระหว่างพระรัศมี ๖ ประการ ถวายบังคมแล้วก็ยืนร้องไห้อยู่ คราวนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเห็นพฤติกรรมเช่นนั้น จึงตรัสถามว่า “นี่อย่างไรกันล่ะ ท่านมหาราช…!”

พญาเอรกปัตตนาคราชจึงทูลตอบว่า “ข้าแต่พระผูมี้พระภาคเจ้าแต่ก่อนข้าพระองค์ได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์นั่นแหละ ได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตลอดเวลาประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี ผล

ของสมณธรรมอันนั้นไม่อาจส่งผลให้ข้าพระองค์ออกจากโลกความทุกข์ได้ ข้าพระองค์ได้ถือเอาเหตุผล

อันไม่สมควรได้ปฏิสนธิ ได้เกิดเป็นสัตว์มีสภาพที่เลื้อยไปด้วยอก เพราะอาศัยเหตุเพียงแค่ทำลายตะไคร่นํ้าให้ขาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ข้าพระองค์ไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์อยู่หนึ่งพุทธันดร ทั้งไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าอย่างพระองค์นี่แหละ พระเจ้าข้า… แต่ก่อนก็เคยเป็นพระภิกษุในพระศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ด้วยดึงใบตะไคร่ขาดไม่ยอมแสดงอาบัติ จึงทำให้ต้องมาเกิดเป็นพญานาคอย่างที่เห็น และได้ตั้งตารอคอยการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า…”

พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับคำพญานาคเช่นนั้นแล้ว จึงตรัสว่า “มหาราช… อันความเป็นมนุษย์เป็นของได้ยากทีเดียว การฟังพระสัทธรรมก็เหมือนกันความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เพราะทั้ง๓ สิ่งนี้บุคคลทั่วๆ ไปย่อมหาได้ยากลำบากมาก” แล้วพระพุทธเจ้าจึงตรัสพระธรรมเทศนาอธิบายความต่อว่า

“อันความได้เป็นมนุษย์ชื่อว่าเป็นของยาก คือเป็นของได้ยาก เพราะบุคคลได้ด้วยความพยายามใหญ่ด้วยกุศลใหญ่ การมีชีวิตอยู่แห่งบุคคลทั้งหลายก็ชื่อว่าเป็นของยาก เพราะจะต้องกระทำการงานหาเลี้ยงตนเอง มีการทำนาเป็นต้น อยู่เสมอไป จึงจะสืบต่อชีวิตอยู่ไปได้ อีกทั้งเพราะว่าชีวิตเป็นของน้อยการฟังธรรมจากสัปปุรุษก็ชื่อว่าเป็นของหายากเป็นเพราะว่าจะหาผู้แสดงธรรมนั้นยาก แม้ในกัลป์ตั้งหลายกัปก็หาผู้รู้ยากมาก ส่วนการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่าเป็นของยากอย่างยิ่งเพราะแต่ละพระองค์จะต้องบำเพ็ญบารมีเป็นเวลา

นานแสนนาน จะต้องมีความพยายามใหญ่ติดต่อกันหลายโกฏิกัลป์จึงจะสำเร็จได้”

หลังจากจบพระธรรมเทศนาลงแล้ว การสำเร็จธรรมวิเศษชั้นใดชั้นหนึ่งก็ได้มีแก่ผู้คนผู้ฟังคราวนั้นถึง ๘๔,๐๐๐ คน ฝ่ายพญานาคควรได้โสดาบันในวันนั้นแต่ไม่ได้เพราะเป็นสัตว์ดิรัจฉาน นอกจากนี้นาคทั้งหลายที่มีสรีระเป็นนาคย่อมลำบาก ๕ ประการ คือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การง่วงเหงาหลับนอน การซ่องเสพเมถุนธรรมกับนางนาคด้วยกัน (สืบพันธุ์) และการจุติ การเกิดเป็นพญานาคนั้นจึงมีความลำบากทั้ง ๕ อย่างนั้น ดังนั้นเวลาจะออกท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ จะต้องแปลงกายเป็นมนุษย์

ตำนานการอยู่ปริวาสกรรม

การเทศน์โปรดของพระพุทธเจ้าในคราวนั้นนางนาคมาณวิกาและพญาเอรกปัตตนาคราชสามารถเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ ต่อมาพญาเอรกปัตตนาคราชก็ได้ยกลูกสาวให้หนุ่มอุตตระเป็นภรรยาตามสัญญา พร้อมด้วยสมบัติอันเป็นทิพย์ให้หนุ่มอุตตระ คือนำสมบัติที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม แล้วให้นำมาไว้ที่เมืองมนุษย์เพื่อให้มนุษย์ใช้ได้จะนำไปไว้บาดาลอย่างเดิมไม่ได้ ฝ่ายหนุ่มอุตตระก็กลายเป็นมหาเศรษฐีในเวลาต่อมา

ต่อมาพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสเพื่อให้กำลังใจแก่พญาเอรกปัตตนาคราชกับลูกสาวว่า “การฟังพระธรรมเทศนาคราวนั้น ถ้าพญาเอรกปัตตนาคราชไม่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็จะได้บรรลุพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น ที่ฟังแล้วไม่สามารถจะเป็นพระอริยเจ้าได้ ก็เพราะว่าพญาเอรกปัตตนาคราชไม่ใช่คน เป็นสัตว์ดิรัจฉาน จึงไม่มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผลได้”

นับตั้งแต่เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นให้สาธารณชนทราบ ปวงประชาเห็นด้วยคล้อยตามจนกลายเป็นความศรัทธา มีคติความเชื่อตามหลักปรัชญาและเหตุผลทางตรรกะ ปราชญ์ชาวอุษาคเนย์จึงนำเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้กับคณะสงฆ์ จึงได้คิดริเริ่มงานบุญปริวาสกรรมร่วมกันขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อไม่ให้เวรกรรมเล็กน้อยตามข้อห้ามในพระวินัยนี้ติดตามตัวไปทุกภพชาติไป

“การเข้ากรรม” คือการอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พระที่ล่วงละเมิดพระวินัยหรือศีลแล้วเกิดโทษหรือความผิด เมื่อเกิดโทษแล้วก็ต้องมีการลงโทษ เป็นเรื่องธรรมดาของการอยู่ร่วมกันในสังคม จะต้องมีขอบเขตหรือกฎระเบียบในสังคม บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันรักษาสังคมส่วนรวม ในสังคมของพระก็เช่นเดียวกันจะมีกฎระเบียบคือศีลของพระ หรือพระวินัย เมื่อเกิดความผิดหรือล่วงละเมิดศีลเกิดขึ้นก็จะได้มีการชำระโทษ ตามสมควรแก่ความผิดที่เกิดขึ้น ที่หนักที่สุดคือขาดจากความเป็นพระหรือการต้องอาบัติปาราชิก สำหรับการอยูป่ ริวาสกรรมเปน็ การลงโทษพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติที่มีโทษ

อย่างกลาง เมื่ออยู่ปริวาสและออกจากปริวาสแล้วถือว่าเป็นผู้มีศีลที่บริสุทธิ์ เป็นพระภิกษุภาวะที่สมบูรณ์แบบ จุดประสงค์ของงานนี้ก็เพื่อให้พระภิกษุทำพิธีปลงอาบัติให้อยู่ในเขตที่จำกัด และเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์

จะเห็นว่า ความผิดธรรมวินัย ถึงมีเพียงเล็กน้อยก็ยังให้โทษเหมือนกับพญานาคนั้นเป็นอุทาหรณ์อย่างเรื่องของพญาเอรกปัตตนาคราช พระรูปใดเมื่อปฏิบัติไม่ดีเพียงแค่ความชั่วเพียงเล็กน้อยเท่านี้ ตายจากความเป็นคนแล้วก็ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน แต่ถ้ามีนิสัยไม่ดีก็อาจเป็นเหตุให้ท่านลงอเวจีมหานรกได้ พร้อมทั้งควรจดจำหลักพุทธธรรมทั้ง ๔ อย่างที่ว่า “การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ การมีชีวิตอยู่ การฟังธรรมของสัปปุรุษ และการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า” จะเห็นว่า ตอนนี้เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ได้มีชีวิตแล้ว และได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว ควรตั้งใจทำดีจะได้ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และพบพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์แบบ

การอยู่ปริวาสนี้ไม่ใช่เรื่องการล้างบาป แต่เป็นเรื่องการลงโทษแก่ผู้ประพฤติผิดกฎระเบียบของสังคม นอกจากนี้ คำว่า “เข้ากรรม” ชาวอีสานสมัยก่อนใช้คำนี้เรียกผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่ แล้วอยู่ไฟเพื่อให้มดลูกแห้งและเข้าอู่เร็วว่า “แม่อยู่กรรม” สันนิษฐานว่าเป็นการอยู่กรรมตามความหมายที่กล่าวข้างต้น

ด้วยเหตุนี้ปราชญ์อีสานจึงจัดการเข้ากรรมให้เป็นประเพณีหนึ่งในเดือนอ้ายสืบมาถึงปัจจุบัน

Related Posts

ฟ้าผ่าคนขวง
กะเป๊ก : หน่อไม้จากต้นข้าว
ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com