Day

กรกฎาคม 19, 2019

ฟันดาบไทย-ลาว การละเล่นใน “สมุทรโฆษคำฉันท์”

วรรณคดีที่บรรยายเรื่องมหรสพการละเล่นสยามไว้มาก คือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” ช่วงต้น ๆ ซึ่งเป็นฝีมือของ “มหาราชครู” กล่าวถึงมหรสพต่าง ๆ เช่น หัวล้านชนกัน, ไทย - ลาวฟันดาบ, ชวาแทงกฤช, ชนแรด ฯลฯ

ตำนานพญาศรีโคตรตะบอง

ตำนานพญาศรีโคตร, พญาศรีโคตรตระบอง, ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ เป็นตำนานร่วมกันทั้ง แขมร, สยาม, ลาว เรื่องราวในตำนานคล้ายคลึงกัน พิจารณาแล้วน่าจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วง “มืดมน” คือช่วงล่มสลายของ “ยุคพระนครหลวง” (ยโศธรปุระ - นครธม) ร่วมสมัยกับการรุ่งเรืองขึ้นมาของรัฐที่ปกครองโดยชาวสยาม-ลาว

ป า ก แ ข็ ง

พ่อเฒ่าสีนวน ไทบ้านสำราญ มีลูกเขยชื่อ “บักตุ๊” เป็นชาวจังหวัดชลบุรีที่เว้าไทย (พูดภาษากลาง) แรก ๆ ก็เข้าใจกันยาก เพราะเข้าข่ายคำพูดที่ว่า “ไทยบ่จั๊กซาว ลาวบ่จั๊กยี่สิบ” เวลาพูดกัน ลูกเขยมักยํ้าถามเพื่อความเข้าใจและสื่อความหมายได้ถูกต้อง บางครั้งพ่อเฒ่าสีนวนก็ชักรำคาญ เนื่องจากบักตุ๊มันมักถามซํ้ายํ้าทวนจนแกขี้เกียจจะตอบ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com