ฮีตเดือนแปด เข้าพรรษา : เหตุจากการจาริกไปทั่ว, การค้างแรม และกติกา
ฮีตเดือนแปด เข้าพรรษา
เหตุจากการจาริกไปทั่ว, การค้างแรม และกติกา
ประเพณีการหล่อเทียนพรรษา ในฮีตเดือน ๘ เป็นประเพณี ที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ มูลเหตุเนื่องมาจากในฤดูฝน หรือ เรียกว่า “ฤดูการเข้าพรรษา” พระสงฆ์ต้องจำพรรษาสวด มนต์ทำวัตรทุกเช้าคํ่า ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทียนสำหรับจุดบูชา ให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อเทียน ถวาย เรียกเทียนที่หล่อขึ้นมานี้ว่า “เทียนพรรษา” หรือ “เทียนจำนำพรรษา”
สมัยพุทธกาลเดิมทีนั้น พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้สงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นที่มั่นคง คราวนั้นพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ เป็นวัดที่พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก๑ เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่ม ในสมัยนั้นพระภิกษุสงฆ์สามเณรพร้อมด้วยภิกษุณีสามเณรีต่างพากันเดินทางออกจาริกสู่นิคมสู่ชุมชนน้อยใหญ่เพื่อเผยแผ่ศาสนา เพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลไหน ฤดูหนาว ฤดูร้อนและฤดูฝน ด้วยเหตุนี้เอง คณะสงฆ์ทั้งหลายที่ได้จาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งบ้านเล็กเมืองใหญ่ พอมาถึงฤดูกาลทำไร่ทำนาของชาวบ้านก็ได้ไปเหยียบยํ่าข้าวหรือพืชพันธุ์ธัญญาหารอื่น ๆ ทั้งที่อาจจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจจนได้รับความเสียหาย หรือไปเหยียบยํ่าสัตว์ใหญ่น้อยที่ออกหาอาหารหรือผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนให้ถึงแก่ความตาย ผู้คนทั้งหลายที่ได้รับความเสียหายจึงนำพฤติกรรมเหล่านี้ มาเปรียบเทียบกับนักบวชนอกพระพุทธศาสนาหรือลัทธิอื่น ๆ นักบวชเหล่านั้นเมื่อถึงฤดูฝนมาจะไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้ นักบวชเหล่านั้นจะพากันหยุดพักอยู่กับที่ไม่ตระเวนเที่ยวไปไหนมาไหนกัน แม้แต่พ่อค้าวาณิชนักธุรกิจอื่น ๆ เมื่อถึงฤดูฝนก็หยุดเช่นกัน ต่อมาผู้คนทั้งหลายต่างก็พากันติเตือนกล่าวขวัญในทางที่ไม่ดีว่า
๑ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันเรียกว่าราชคีร์ (Rajgir) เป็นตำบลหนึ่งของจังหวัดนาลันทา ตั้งอยู่ในรัฐพิหารสาธารณรัฐอินเดีย
“อะไรกันพวกสมณศากยบุตรนักบวชในพระพุทธศาสนา ไฉนกันในช่วงฤดูฝนแล้วก็ไม่ยอมหยุดจาริก สัญจรไปเรื่อย นำความเสียหายมาสู่พวกตนอย่างไม่ใช่นักบวชไม่เหมือนนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นเลย ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้คงไม่ไหวแน่…”
“เราอนุญาตให้เข้าพรรษาฤดูฝน เป็นวันที่พระภิกษุสามเณรจะต้องอธิษฐานจำพรรษา จะพักประจำอยู่สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดระยะฤดูฝนมีช่วงเวลาที่กำหนดให้ ๓ เดือนตามพระวินัยบัญญัติโดยจะต้องไม่ได้ไปค้างคืนค้างแรมที่ไหน หากมีต้องอยู่ภายในระเบียบพุทธานุญาต วันเข้าพรรษาถือกำหนดเป็น ๒ ระยะ คือ๒
๒ สุขพัฒน์ อนนท์จารย์, คอลัมน์ธรรมทัศน์เรื่อง เข้าพรรษา. (หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ หนังสือพิมพ์รายวันประจำวันที่ ๑๙, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๓), หน้า ๓.
๑. วันเข้าพรรษาต้น (ปุริมพรรษา) จะตรงกับวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ของทุกปี (หรือประมาณเดือนกรกฎาคม และวันออกพรรษาจะมีขึ้นในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี)
๒. คือวันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา) สำหรับปีอธิกมาสคือมีเดือน ๘ สองหน จะตรงกับวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ หลัง (หรือประมาณเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ประมาณเดือนตุลาคม)…”
ในสมัยพุทธกาล พระสงฆ์ที่เดินทางจาริกแสวงธรรม และเผยแพร่พระศาสนาในฤดูฝน ประสบความยากลำบากในการเดิน ทาง ทั้งเส้นทางทุรกันดาร การเจ็บไข้ได้ป่วย และการหลบเลี่ยงสัตว์เล็กสัตว์น้อย รวมทั้งสัตว์ที่มีพิษเป็นจำนวนมาก และใน บางโอกาส อาจทำความเสียหายแก่เรือกสวนไร่นาของชาวบ้านที่กำลังผลิดอกออกผล พระพุทธองค์จึงบัญญัติให้พระภิกษุ หยุดพักการเดินทาง และจำพรรษาในช่วงฤดูฝนนกอีเสือนํ้าตาล หรือ นกแจนแวน นกที่หยุดพักผ่อนและงด เว้นจากการหากินในช่วงเข้าพรรษา
สัตว์โลกก็เข้าพรรษาเหมือนกัน
ในวันแรกเข้าพรรษาให้ตั้งใจอธิษฐานจิตว่า “เราเข้าถึงฤดูฝนในอาวาสนี้ ตลอดหมวด ๓ เดือน…”๓
๓ วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. วินัยมุข เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๓๑ (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓) หน้าที่ ๘๓.
การหยุดพักอยู่กับที่ไม่เที่ยวจาริกไปมาในฤดูฝน ถือว่าเป็นประเพณีของคนและสัตว์แต่โบราณมาเมื่อถึงฤดูฝนมาแล้ว พวกพ่อค้าเกวียน พ่อค้าวัวต่างที่เคยเทียวไปมาค้าขายต่างบ้านต่างเมือง ก็จะพากันหยุดพัก เพราะหนทางเทียวไปมาลำบาก ไม่ใช่เฉพาะคนที่หยุด พวกสัตว์บางจำพวกก็หยุดเที่ยวไปเช่นกัน เช่น นกแจนแวน นกเจ่า นกยาง นกชายกวาก เป็นต้น การที่นกเหล่านี้หยุดพักไม่ออกไปเที่ยวหากินในฤดูฝน เรียกว่า นกเข้าพรรษา และนกจักพรากจะอยู่เป็นคู่เป็นกลุ่มกันในเวลากลางวัน พอตะวันตกดินแล้วต้องพรากคู่ของตน และร้องหากันตลอดคืน ในช่วงเข้าพรรษาตั้งแต่เดือน ๘ ไปจนถึงเดือน ๑๐ จะหยุดร้อง พอจะออกพรรษาจะได้ยินเสียงร้องอีกว่า กว๊าก กว๊าก บินไปมาในเวลาหัวคํ่าถึงเวลาค่อนแจ้ง๔
๔ สิลา วีระวงส์, ฮีตสิบสอง, (จัดพิมพ์โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูอุบลราชธานี กรมฝึกหัดครู, ๒๕๒๙), หน้า ๑๗.
ปีถัดมามีพวกพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์ (กลุ่มพระภิกษุซึ่งอยู่ร่วมกัน ๖ รูป) จำพรรษาอยู่ด้วยกันหลังจากอธิษฐานเข้าพรรษาแล้วก็ยังพากันเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ อยู่ ผู้คนทั้งหลายก็พากันกล่าวติเตียนอย่างเช่นแต่ก่อนอีก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงได้ทรงบัญญัติเพิ่มเติมอีกว่า “หากพระสงฆ์สามเณรเข้าพรรษาแล้วยังไม่ครบสามเดือนเต็ม ทั้งเข้าพรรษาต้นและพรรษาหลัง จะออกจากวัดเที่ยวไปที่อื่นไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนต้องปรับอาบัติทุกกฎผู้นั้น”
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงห้ามเช่นนี้แล้ว ในคราวนั้นพวกพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์ก็เลยไม่ประสงค์จะเข้าพรรษาอีก มีพระภิกษุอีกลุ่มหนึ่งได้เข้ากราบทูลพระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วตรัสว่า “เป็นพระสงฆ์จะไม่เข้าพรรษาไม่ได้ หากใครไม่เข้าพรรษาจะต้องปรับเป็นอาบัติทุกกฎพระรูปนั้น…”
เมื่อพวกพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์ได้ยินเช่นนั้นแล้ว แต่ด้วยไม่อยากเข้าพรรษาก็เลยแกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องออกจากวัดไป พอถึงเวลาใกล้จะเข้าพรรษาก็ไม่ได้สนใจ แล้วก็มีพระภิกษุอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ากราบทูลพระพุทธเจ้าทรงทราบ แล้วตรัสว่า “พระ
สงฆ์จะไม่ประสงค์เข้าพรรษาแล้วแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ได้ หากถึงเวลาเข้าพรรษาแล้วละเลยไม่ได้ จะต้องปรับเป็นอาบัติทุกกฎพระรูปนั้น…”
ประติมากรรมรูปนางวิสาขามหาอุบาสิกา ครั้งหนึ่งนางเคยตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับการงดเว้นบรรพชาในช่วงเข้าพรรษา ส่ง ผลต่อการตั้งกติกาปฏิบัติในพรรษาใหม่ที่สืบเนื่องถึงปัจจุบัน ต่อมานางได้เป็นผู้ที่อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม รวมทั้งได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดา ทายิกาทั้งปวงประติมากรรมรูปนางวิสาขาขณะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า (ประติกรรมภายในสวนวัฒนธรรมวัดเชียงควน กำแพงนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว)
เริ่มอนุญาตให้ไปค้างแรมทำ ธุระที่อื่นในพรรษาได้
ในปีต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร เจ้าผู้ปกครองกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ มีความประสงค์อยากให้ร่นวันเข้าพรรษาขยับเข้ามาจากเดือน ๙ เป็นเดือน ๘ และส่งเสนาอำมาตย์เป็นทูตไปกราบเรียนพระสงฆ์ว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระราชาขอว่า ให้พระคุณเจ้าอธิษฐานเข้าพรรษาในเดือนหน้าจะเป็นการดี” เมื่อพระสงฆ์ได้ยินเช่นนั้นจึงเข้าไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ แล้วพระองค์ทรงตรัสว่า “เราอนุญาตเห็นตามพระราชาที่ขอมา ให้มีความเหมาะสมกับภาวะทางบ้านเมือง”
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะบัญญัติพระวินัยให้อยู่ประจำที่โดยเด็ดขาด แต่ยังมีพุทธานุญาตให้เดินทางไปได้ถ้ามีเหตุจำเป็นตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่จะกำหนดเวลาให้จะต้องกลับมาที่ตนได้อธิษฐานพรรษา เรียกว่า สัตตาหะกะระณียะ ไปค้างคืนค้างแรมที่อื่นได้แต่ไม่ให้เกิน ๗ วัน โดยจะไม่ถือว่าไม่ขาดพรรษาหรือพรรษาไม่ขาด มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาจนต้องมีการผ่อนผันตามสถานการณ์ที่มีความจำเป็น ที่อนุญาตให้ไปได้ ดังนี้๕
๕ ปุ้ย แสงฉาย อนงคาราม. พระไตรปิฎกมหาวิตถารนัย ๕๐๐๐ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔๗. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี, ๒๕๑๘), หน้า ๒๙๕ – ๓๐๘.
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติศาสนกิจตามพุทธประสงค์ตามสมควรแล้ว จึงได้เสด็จไปกรุงสาวัตถี เมืองหลวงของแควน้ โกศล เขา ไปประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร ในพรรษาปีหนึ่งได้มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า อุเทน ได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงสร้างวัดถวายพระสงฆ์ เพื่อเป็นสถานที่ในการทำบุญ เมื่อสร้างเสร็จก็ได้ให้คนใกล้ชิดเดินทางมานิมนต์พระสงฆ์สามเณรว่า “ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายมาโปรด พวกข้าพเจ้ามีความต้องการจะทำบุญอยากจะให้ทานฟังพระธรรมเทศนา และอยากจะเห็นพระสงฆ์องค์สามเณรในเขตหมู่บ้าน”
ฝ่ายพระภิกษุสามเณรได้ยินเช่นนั้นจึงพากันบอกโยมที่มานิมนต์ว่า “โยมทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ‘เมื่อพระสงฆ์อธิษฐานเข้าพรรษา ณ สถานที่ใดแล้วต้องอยู่ให้ตลอดไปจนครบ ๓ เดือนก่อน จะเดินทางไปที่ไหนมาไหนไม่ได้’ จงบอกให้โยมอุเทนทราบด้วย ขอให้รอจนออกพรรษาก่อน เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้วพวกเราจึงจะพากันไปฉลองศรัทธาให้ได้ แต่ถ้าหากว่าโยมมีความจำเป็นเร่งด่วนจริง ๆ ก็ขอให้โยมอุเทนไปหาพระสงฆ์ที่อยู่ในละแวกนั้นมารับทานเถิด…!”
เมื่อคนใกล้ชิดของท่านอุเทนเดินทางกลับมาบอก โยมอุเทนก็ไม่พอใจ จึงว่ากล่าวติเตียนคณะสงฆ์ต่าง ๆ นานาว่า “พวกเรามีจิตศรัทธาในการทำบุญในศาสนา แต่พระคุณเจ้าไม่ปฏิบัติศาสนกิจ ไม่ทำกิจสงฆ์เอาเสียเลย…!”
เมื่อคณะสงฆ์ได้ยินคำติเตียนของโยมดังกล่าวจึงพากันเข้าไปกราบทูลรายงานพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ต่อแต่นี้ไปหากว่ามีผู้มานิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการทำบุญในโอกาสที่สำคัญ ๆ เช่นทำบุญบ้าน ทำบุญซุ้มประตู ทำบุญหอฉัน ทำบุญโรงไฟ ทำบุญห้องนํ้า ทำบุญศาลา ทำบุญบ่อนํ้า ทำบุญสระนํ้า ทำบุญมณฑป ทำบุญวัด ทำบุญโรงครัวทำบุญอาคาร ทำบุญร้าน ทำบุญตลาด ทำบุญแต่งงาน เป็นต้น เราอนุญาตให้ไปรับกิจนิมนต์นั้นได้แต่ให้กลับมาภายใน ๗ วันเท่านั้น หรือว่ามีญาติโยมที่สนิทป่วยก็ต้องไป และหากมีญาติโยมที่มีความรู้เป็นครูผู้ฉลาดเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้กันทั่วไป นิมนต์มาเรียนเอาความรู้นั้น เพราะกลัวองค์ความรู้นั้นจะเสียไปพร้อมกับครูที่จะตายนั้น แต่ให้กลับมาภายใน ๗ วันเช่นกัน…”๖
๖ วิ.ม. ๔/๑๘๗/๒๙๕-๓๙๓.
ในปีต่อมามีพระภิกษุไปจำพรรษาอยู่วัดหนึ่งแต่เพียงรูปเดียว ช่วงกลางพรรษาท่านเกิดอาการอาพาธ ท่านจึงได้ให้ผู้คนไปนิมนต์เพื่อนสหธรรมิกที่อยู่วัดอื่น เพื่อจะได้มาดูอาการอาพาธของพระ หรือปรนนิบัติอาการป่วยนั้นได้ เมื่อพระภิกษุได้รับนิมนต์เช่นนั้นแล้ว จึงได้กราบทูลรายงานพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ แล้วตรัสบอกพระภิกษุทั้งหลายว่า “ต่อแต่นี้ไปหากมีเพื่อนสหธรรมิกเกิดอาการอาพาธ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ถึงแม้ว่าไม่มีใครมานิมนต์พวกเราก็ควรไป เพื่อไปปรนนิบัติดูแลพยาบาลอาการอาพาธช่วยกัน ช่วยหายารักษาและหาภัตตาหารถวาย อีกทั้งเพื่อเป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน แต่ว่าให้กลับมาภายใน ๗ วันเช่นกัน…”
พระพุทธเจ้าตรัสบอกเพิ่มเติมอีกว่า “นับแต่นี้ไป ถ้ามีพระภิกษุสามเณรและภิกษุณีสามเณรีรูปใดรูปหนึ่งอยากจะลาสิกขา หรือมีความสงสัยในพระวินัย หรือว่ามีความเห็นในทางที่ผิด หรือละเมิดอาบัติหนักเข้าแล้ว หรือว่าทำผิดอาบัติอย่างกลางแล้ว ควรจะอยู่ปริวาสกรรม หรือควรอยู่มานัตต์ หรือจะออกจากอาบัติ หรือจะถูกคณะสงฆ์ลงโทษ หรือว่าถูกคณะสงฆ์ลงโทษไปแล้ว หากมีผู้คนมานิมนต์หรือไม่มานิมนต์ก็ควรไป เพื่อเข้าไปช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาร่วมกัน…! แต่ให้กลับมาภายใน ๗ วันเช่นกัน…”
ในพรรษาปีนั้นได้มีมารดาของของพระภิกษุรูปหนึ่งเกิดอาการป่วยหนัก ญาติพี่น้องส่งคนมานิมนต์ท่านให้กลับไปเยี่ยมอาการป่วย เมื่อพระคุณเจ้าได้ทราบข่าวแล้วคิดว่า “พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ให้ไปในระหว่างพรรษาได้ถึงแม้ว่าจะได้รับนิมนต์หรือไม่นิมนต์ก็ตามที เราก็สามารถไปได้แต่ไม่เกิน ๗ วัน แต่ว่ามารดาของเราไม่ได้เป็นอุบาสิกา เราจะตัดสินใจอย่างไรกันดี”
เมื่อพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันทราบปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้ไปเข้าเฝ้ากราบทูลรายงานพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเช่นนั้นจึงตรัสว่า “นับแต่นี้ไป หากว่ามีบิดาหรือมารดาเกิดป่วยขึ้นมา ผู้คนมานิมนต์หรือไม่มานิมนต์ก็ตาม พระภิกษุที่เป็นบุตรนั้นควรไป เพื่อไปแสวงหาหรือไปสอบถามในเรื่องของอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยหรืออาหารสำหรับผู้พยาบาลคนป่วย หรือช่วยหายารักษาผู้ป่วย หรือว่าจะไปพยาบาลรักษาด้วยตนเองแต่ให้กลับมาภายใน ๗ วันเช่นกัน… แต่ถ้าว่าเป็นญาติพี่น้องที่เป็นพี่หรือน้องของตนเอง ถ้าเขานิมนต์แล้วจึงค่อยไปได้ แต่ถ้าไม่มานิมนต์ก็ไม่ควรไป ที่ไปได้จะต้องให้กลับมาภายใน ๗ วันเช่นกัน…”
มีอยู่พรรษาหนึ่งในเขตเมืองสาวัตถี มีวัดอยู่วัดหนึ่งมีพระจำพรรษาอยู่ด้วยกัน ๓ รูป ปรากฏว่าวิหารใหญ่หลังหนึ่งเกิดชำรุดลงมา พระที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันเกิดความเดือดร้อน ทั้งพระคุณเจ้าและญาติโยมต่างก็พยายามช่วยกันบูรณะวิหารหลังนี้เป็นการเร่งด่วน มีโยมคนหนึ่งได้ไปบอกกล่าวกับคณะสงฆ์วัดอื่น ๆ ให้ทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันคนละไม้คนละมือ วิหารหลังใหญ่นี้จะได้สำเร็จโดยเร็ว และก็มีโยมท่านหนึ่งมีจิตศรัทธาที่จะถวายไม้เพื่อที่จะให้ไปซ่อมแซมวิหาร แต่ต้องมาขนเอาไปเองด้วยตนไม่มีกำลังคนที่จะขนไปให้ พระภิกษุทั้งหลายเมื่อทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงเข้าไปกราบทูลรายงานพระพุทธเจ้า แล้วพระองค์จึงตรัสบอกว่า “นับต่อแต่นี้ไป หากวัดวาอารามที่ใดประสบเหตุที่อยู่อาศัยทรุดโทรมลงมา พวกเราควรไปบูรณปฏิสังขรณ์ช่วยกัน แต่ให้กลับมาภายใน ๗ วันเช่นกัน…”
ในเวลาต่อมามีพระภิกษุสงฆ์สามเณรทั้งหลายได้เข้าไปจำพรรษาอยูที่วัดป่าแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในป่าในเขตแคว้นโกศล คราวนั้นมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นเจ้าผู้ปกครอง สถานที่พระสงฆ์จำพรรษานั้นห่างจากตัวเมืองมาก เป็นเขตที่มีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บางรูปที่อยู่ห่างเพื่อนก็ถูกสัตว์จับกินไปเป็นอาหารก็มี บางรูปเพื่อนช่วยทันก็ไม่ตายหรือต่อสู้จนเอาตัวรอดกลับมาก็มี เมื่อเกิดเหตุร้ายเช่นนี้หนัก ๆ เข้าพากันทนไม่ไหว จึงได้พากันเข้าไปกราบทูลรายงานให้พระพุทธเจ้าทราบ แล้วพระองค์จึงตรัสบอกว่า “เมื่อเกิดเหตุร้ายเช่นนี้เข้า ถ้าว่าที่นั้นมีอันตรายจริง ๆ พวกเราควรย้ายที่อยู่ใหม่เสีย แต่ก็ถือว่าขาดพรรษา ส่วนปรับอาบัตินั้นไม่ปรับไม่ผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนับแต่นี้ไป หากว่าอธิษฐานเข้าพรรษาในที่ใดแล้ว เผอิญว่ามีงูเข้าก่อความรำคาญในที่อยู่นั้น หรือที่จำพรรษานั้นเกิดมีพวกโจรผู้ร้ายพวกผีสางนางไม้รบกวน เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ นํ้าท่วม แห้งแล้ง เป็นต้น บิณฑบาตลำบาก เกิดไฟไหม้วัด เสนาสนะที่อยู่ก็ลำบาก ก็ควรหาที่อยู่ใหม่เสีย ไม่ปรับอาบัติแต่ว่าพรรษาขาด”
มีอยู่คราวหนึ่งพระภิกษุสามเณรทั้งหลายเข้าไปจำพรรษาอยู่ยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองพอสมควร วันหนึ่งมีกลุ่มโจรจำนวนมากเข้ามาปล้นหมู่บ้าน ด้วยความกลัวและตกใจชาวบ้านก็พากันแตกตื่นหนี เข้ามาที่วัดแล้วพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นเสียทั้งหมด พวกพระภิกษุจึงได้พากันเข้าไปกราบทูลรายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ แล้วจึงตรัสบอกว่า “เราอนุญาตให้พวกเราติดตามชาวบ้านไปได้…!” เมื่อพระภิกษุกลับไปเห็นชาวบ้านแยกออกเป็นสองส่วน ไม่รู้จะทำอย่างไรดีจะตามกลุ่มใดถึงจะถูกต้อง จึงเข้ากราบทูลรายงานพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า “ให้พวกเราติดตามกลุ่มที่มีจำนวนมากกว่า ชาวบ้านเดินทางไปทางไหนก็ให้ไปทางนั้น…” แต่ว่าเมื่อพระภิกษุกลับไปตามกลุ่มชาวบ้านที่มีจำนวนมากกว่า กลับเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ไม่ได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเลย จึงได้กลับมากราบทูลรายงานพระพุทธเจ้าอีกครั้ง แล้วพระพุทธเจ้าตรัสบอกให้พวกพระภิกษุสามเณรเปลี่ยนไปติดตามกลุ่มชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานั้น…!
มีอยู่ปีหนึ่งในพรรษาคราวนั้นได้มีพระภิกษุสามเณรจำนวนหนึ่ง จำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในอาณาบริเวณแคว้นโกศล ได้รับอาหารบิณฑบาตที่ไม่ดีเป็นพิษต่อสุขภาพ ไม่ได้ภัตตาหารอย่างที่ตั้งใจและถูกกับสุขภาพของตนเอง มียาที่ไม่เหมาะกับโรคของตนและไม่มีใครให้ความสนใจในการสนับสนุนการปฏิบัติธรรม พระภิกษุเหล่านั้นจึงได้เดินทางกลับมากราบทูลรายงานต่อพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับเช่นนั้นแล้วจึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจริง ๆ ก็ให้เดินทางออกจากที่นั้นไปอยู่ที่อื่นเสีย จะไม่ปรับอาบัติแต่ประการใดเพียงแต่พรรษาขาดในปีนั้น…”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อไปอีกว่า “นับต่อแต่นี้ไปหากว่าพระภิกษุสงฆ์สามเณรเดินไปจำพรรษาที่ไหนแล้ว ถ้ามีผู้หญิงมานิมนต์พระภิกษุไปที่บ้านของตนแล้วกล่าวว่า ‘พระคุณเจ้าโยมมีทรัพย์สินมากมาย เช่น เงินทอง ไร่นา สัตว์เลี้ยง บ่าวไพร่ เป็นต้น หรือจะยอมเป็นภรรยาก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากไม่ชอบก็สามารถหาคนอื่นหรือจะให้หาให้ก็ได้’ จะเป็นอันตรายต่อเพศนักบวชไม่เหมาะแก่การอยู่ ควรหลีกออกจากที่นั้นไปเสียที่อื่นได้เลย จะไม่ปรับอาบัติแต่ประการใด เพียงแต่พรรษาขาดในปีนั้น…” แล้วพระพุทธเจ้าทรงตรัสต่อไปอีกว่า “ถ้าเผอิญว่าในบริเวณที่เป็นเขตอธิษฐานเข้าพรรษานั้น ได้พบทรัพย์สินหรือสิ่งของที่มีมูลค่า ได้พบเห็นพระสงฆ์สามเณรพยายามที่ทำลายคณะให้แตกแยกกันด้วยวิธีการใดก็ตาม ในที่วัดของตนที่จำพรรษาอยู่หรือเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วัดอื่น เป็นปัญหาระหว่างพระสงฆ์กันเองหรือกับภิกษุณี หรือว่ากับชาวบ้าน หรือว่ากับท่านอื่น ๆ เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้ยินอย่างดีแล้ว จะไปช่วยระงับปัญหานั้นก็สามารถกระทำได้จะไม่ปรับอาบัติแต่ประการใดเพียงแต่พรรษาขาดในปีนั้น…”
มีอยู่คราวหนึ่งได้มีพระภิกษุมีความต้องการจะเข้าพรรษากับกลุ่มชนบางสาขาอาชีพที่ไม่อยู่กับที่เช่นที่คอกวัวคอกควาย กับพวกเกวียน กับพวกเรือเป็นต้น ในเวลาจวนก่อนเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จึงเข้าเฝ้ากราบเรียนรายงานต่อพระพุทธเจ้า แล้วพระองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นเราก็อนุญาตให้อธิษฐานจำพรรษาไปตามนั้นได้”
และในปีนั้นได้มีพระภิกษุบางรูปเข้าไปจำพรรษาที่โพรงไม้ มีบางรูปก็จำพรรษาคาคบไม้ เมื่อมีผู้คนมาเห็นจึงพากันติเตียนและมีความเข้าใจไปต่าง ๆ บางก็บอกว่า พระภิกษุอยู่ตามต้นไม้เหมือนกับพวกผีสางนางไม้ หรือเหมือนกับนายพรานล่าเนื้อที่แอบอยู่ต้นไม้คอยดักจับสัตว์ทำนองนั้น
บางรูปก็จำพรรษาบริเวณกลางแจ้ง เวลาฝนตกมาก็วิ่งหนีเขา ไปหลบอยู่ใต้ต้น ไม้หรือชายคาชาวบ้านบางรูปก็จำพรรษาที่ไม่มีเสนาสนะอะไรเลยทำให้เดือดร้อนจากอากาศเย็นร้อน บางรูปก็เข้าไปจำพรรษาภายในที่พักของสัปเหร่อ เมื่อชาวบ้านมาเห็นเข้าก็พากันเข้าใจว่า พระภิกษุเหมือนเป็นสัปเหร่อไปด้วย บางรูปเข้าพรรษาในที่ร่มก็เหมือนกับคนเลี้ยงวัวควาย บางรูปก็เขา ไปอธิษฐานพรรษาที่ตุ่ม น้ำก็เหมือนกับคนที่ไม่ใช่พระ เมื่อคำกล่าวหามากขึ้นจึงเข้าไปกราบทูลรายงานต่อพระพุทธเจ้า แล้วจึงตรัสบอกว่า “ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ควรงดเสีย ต่อไปอย่าปฏิบัติอย่างนี้อีก” แล้วจึงทรงบัญญัติไว้ว่า “ห้ามพระภิกษุเข้าไปอธิษฐานจำพรรษาในที่ดังกล่าวมานี้ หากใครฝ่าฝืนจะต้องปรับอาบัติเป็นทุกกฎ”
พระพุทธรูปปางประทานพรในท่ายืน แสดงเหตุการณ์ตอนที่นางวิสาขาให้นางทาสีของนางมานิมนต์พระภิกษุ พอดีฝนตก พระภิกษุเปลือยกายอาบนํ้าฝนอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร นางทาสีเข้าใจว่าเป็นนักบวชลัทธิชีเปลือย จึงกลับไปบอกนางวิสาขา นางวิสาขาจึงกราบทูลขอประทานพรจากพระพุทธองค์เพื่อถวายสิ่งของต่าง ๆ แด่พระองค์และพระภิกษุสงฆ์ อันเป็นคติการถวายผ้าอาบนํ้าฝน (ผ้าวัสสิกสาฏิกา) ในช่วงเข้าพรรษา (วันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๘) มาตั้งแต่บัดนั้นนางวิสาขาขณะถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนของฤดูฝน (ภาพวาดภายในพระอุโบสถวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กทม.)
ที่มาของการตั้งกติกาปฏิบัติในพรรษา
มีอยู่ครั้งหนึ่งคณะสงฆ์ชาวเมืองสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล๗ เมื่อก่อนจะเข้าพรรษาในปีนั้นได้พากันตั้งกฎระเบียบใหม่รวมกันว่า “ภายในพรรษาปีนี้จะไม่ให้มีการบรรพชาอุปสมบทให้แก่ใคร” เผอิญว่าในช่วงพรรษาได้มีหลานของนางวิสาขาเข้าไปติดต่อขอบวช คณะสงฆ์ได้ตอบปฏิเสธไปเพราะมีกติกางดไว้ก่อน จนกว่าจะออกพรรษาโน้นแล้วจึงจะบวชให้ได้ เมื่อปวารณาออกพรรษาแล้วคณะสงฆ์จึงได้บอกหลานของนางวิสาขาให้มาบวช แต่ก็ได้ตอบปฏิเสธคณะสงฆ์ไปว่า “พระคุณเจ้ากระผมอยากบวชในช่วงเข้าพรรษา แต่เมื่อออกพรรษาแล้วผมไม่อยากบวชอีกแล้ว…!” เมื่อนางวิสาขาได้รับทราบปัญหาเช่นนั้นแล้ว จึงได้บอกกล่าวติเตียนออกไปว่า “พระคุณเจ้าไม่รู้เป็นอย่างไรกันไม่รู้ตั้งกฎระเบียบอะไรเอาไว้ ไม่ให้มีการบวชได้ภายในพรรษา ไม่ควรปฏิบัติเช่นนี้เลย…!”
๗ เมืองสาวัตถี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดรวม ๒๕ พรรษา ปัจจุบันเหลือแต่ซากปรักหักพัง ตั้งอยู่ใกล้กับแม่อจิรวดี (อจิรวดี ปัจจุบันนี้เรียกว่า แม่นํ้าราปติ – Rapati) ปัจจุบันเรียกว่า สะเหต –มะเหต (Sahet – Mahet)จังหวัดบาห์ไรจ์ รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ห่างจากเมืองบาลรัมปุระ (Balrampur) ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร และห่างจากเมืองโครักปูร์ (Gorakpur) ประมาณ ๑๘๕ กิโลเมตร ภายในวัคพระเชตวันมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ กลุ่มโบราณคดีของรัฐบาลได้ขุดค้นพบซากวิหารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์สามเณรตั้งแต่สมัยพุทธกาลได้ถูกทำลายลงจากพวกมุสลิมประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปัจจุบันรอบ ๆ มีศูนย์ปฏิบัติธรรมของอุบาสิกาบงกชจากประเทศไทย
เมื่อพระสงฆ์ได้ยินอย่างนี้จึงเข้าไปกราบทูลรายงานต่อพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นับต่อแต่นี้ไปไม่ควรตั้งกติกาดังที่ว่านี้อีกต่อไป หากใครฝ่าฝืนจะต้องปรับอาบัติเป็นทุกกฎเช่นกัน” พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งไว้ว่า เมื่อถึงฤดูกาลแห่งกาลจำพรรษามาถึง เรื่องที่จะต้องพูดคุยกัน และข้อควรปฏิบัติ เรียกว่า กถาวัตถุ ๑๐ ประการคือ๘
๘ องฺ.ทสก. ๒๔/๖๙/๑๕๒-๔๔๙.
๑. อัปปิจฉะกะถา ความพอเพียงในสิ่งที่ตนทำอยู่ มีอยู่และปฏิบัติอยู่ ปฏิบัติให้มากกว่าทฤษฎี
๒. สันตุฏฐิกะถา ความเป็นผู้พอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตน ตามได้ ตามกำลัง ตามสมควร
๓. ปวิเวกะกะถา สงัดกายสงบจิตใจ และไม่เดือดร้อน ไม่ดิ้นรนด้วยความเป็นทาสแห่งกิเลส
๔. อสังสัคคะกะถา ไม่มั่วสุมระคนด้วยหมู่ชนผู้มากไปด้วยตัณหา และผู้ไม่มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล
๕. วิริยารัมภะกะถา ปรารภความเพียร ขยันอดทน ต่อสิ่งยั่วยุในทางที่ไม่ดี ไม่เกียจคร้านในหน้าที่
๖. สีละกะถา ประพฤติกายวาจาที่ดี มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เป็นต้น
๗. สมาธิกะถา จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ ตั้งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมั่นคง
๘. ปญัญากะถา รอบรู้ความจริงตามความเป็นจริง มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเหตุอะไรที่จะทำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกะถา ทางหลุดพ้นพิเศษจากกิเลสความชั่วร้ายทั้งหลาย ด้วยการใช้ธรรมเข้าไปแก้ปัญหาแบบถาวร
๑๐. วิมุตติญาณะทัสสะนะกะถา ความรู้ที่จะทำให้พ้นจากความชั่วที่ตนปฏิบัติได้แล้ว และพิจารณาหาแนวทาง ลด ละ เลิก ป้องกันกิเลส ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จากเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าได้ฟังคำติเตียนของชาวบ้าน จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าพรรษาเป็นการหยุดพักในฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือน ส่วนสถานที่เข้าพรรษาก็ให้อยู่ที่มีเครื่องมุงเครื่องบังกันแดดฝนได้ ห้ามมิให้เข้าอยู่ตามร่มไม้ โพรงไม้ในโอ่งนํ้า ในโลงผี เป็นต้น ในพรรษาไม่ให้ไปไหนมาไหนโดยที่ไม่จำเป็น จึงเป็นโอกาสดีได้รวมกันแล้วได้พร้อมกันทำกิจเป็นประโยชน์แก่ตนเองและชาวบ้าน ในส่วนตนก็ได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรม ส่วนชาวบ้านก็ได้ฟังธรรม และได้โอกาสร่วมกันทำบุญ๙ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประเพณีชาวพุทธอีสานทั่วโลกในงานบุญเดือน ๘