แป้นล้อฝ้าย หรือกระดานล้อฝ้าย

แป้นล้อฝ้าย หรือกระดานล้อฝ้าย

ทางอีศาน ฉบับที่ ๗ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕
คอลัมน์: มรดกผ้าอีสาน
ผู้เขียน: กอง บก.
ภาพ: สารานุกรมภูมิปัญญาผ้าไทย


เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีขนาด ๖ – ๘ x ๑๐ นิ้ว ด้านกว้างด้านหนึ่งมีที่จับไม้ล้อฝ้าย
รูปร่างคล้ายตะเกียบ ทำจากไม้เนื้อแข็ง

 

การใช้งาน นำปุยฝ้ายที่ดีดแล้ววางบนแป้นล้อฝ้ายให้กระจายเสมอกันใหญ่กว่าฝ่ามือเล็กน้อยนำไม้ล้อฝ้ายวางบนปุยฝ้าย ใช้ฝ่ามือม้วนปุยฝ้ายเข้ากับไม้ล้อฝ้ายให้เป็นหลอดม้วน แล้วดึงไม้ล้อฝ้ายออก ก็จะได้ฝ้ายเป็นหลอดม้วนกลม (บางท้องที่เรียกฝ้ายที่เป็นหลอดม้วนนี้ว่า ดิ้ว)

ไน, หลา
เครื่องปั่นด้ายเรียกว่า ไน, หลา, กงปั่นด้าย,หลาปั่นด้าย, เครื่องกรอไหม ทางภาคเหนือเรียกว่า กวง, เผี่ยน, เพียน

 

“ไน” ลักษณะเป็นวงกลม ติดตั้งอยู่ระหว่างขาสองอันที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีเหล็กสอดสำหรับหมุนวงล้อ ส่วนขานั้นติดตั้งอยู่บนฐานซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ ๓๐ นิ้ว ส่วนปลายของฐานมีเหล็กไนสอดอยู่ โดยโผล่เหล็กไนออกมาไว้สำหรับเป็นที่สวมหลอดไม้ไผ่ที่ทำเป็นที่กรอด้ายจากวงล้อมีสายพานทำด้วยเชือกโยงมาหมุนเหล็กไน

การใช้งาน ให้ปั่นฝ้ายให้เป็นเกลียวแน่นจนเป็นเส้นด้าย หรือใช้กรอเส้นด้ายเข้าไส้หลอดสำหรับเป็นเส้นพุ่งโดยใช้คู่กับ “ระวิง” หรือ “กงกว้าง” นำ “ดิ้ว” หรือฝ้ายที่ผ่านการล้อจนเป็นหลอดม้วนแล้วมาจ่อที่ “ไน” แล้วหมุนวงล้อขณะที่วงล้อหมุน ไนก็จะหมุนตาม เกิดแรงเหวี่ยงดึงม้วนฝ้าย (ดิ้ว) ที่จ่อไว้ตีเป็นเกลียว ใช้มือที่ถือหลอดม้วนด้ายดึงออกจากไน จะทำให้เกิดเป็นเส้นด้าย จากนั้นให้ผ่อนแรงมือ เส้นด้ายก็จะม้วนอยู่กับไน ทำอย่างนี้จนใกล้หมดม้วนดิ้ว ก็นำม้วนดิ้วใหม่มาทำต่อเนื่องไปเป็นเส้นด้ายจนเต็มไน.


Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com