โอ้ นารายณ์ขายาวผู้ลือเลื่อง
ทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะกำลังปราบสิงห์ร้ายหน้าบันนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่มาของชื่อ “นารายณ์ เซิงแวง”บางส่วนของพระธาตุนารายณ์เจงเวงสร้างด้วยหินทราย สีชมพูหน้าบันศิวะนาฏราช ที่บ่งบอกว่าปราสาทหลังนี้สร้างถวายพระศิวะ
ผมหลงเสน่ห์ภาษาถิ่น ในเวลาไล่เลี่ยกับการหลงรักงานเขียนสารคดี เวลาออกไปเก็บข้อมูลและถ่ายภาพสารคดีที่จังหวัดใดสักสัปดาห์หนึ่ง ผมจะกลับมาบ้านพร้อมเสียงเหน่อตามถิ่นนั้นอยู่สัปดาห์หนึ่งเช่นกัน เช่นไปทำสารคดีที่เมืองกาญจน์ ก็จะเหน่อสำเนียงกาญจน์ หรือถ้ากลับจากอีสาน ก็จะติดสำเนียงลาว คำลาวอยู่พักหนึ่ง
โดยเฉพาะจำพวกคำวิเศษณ์ คำขยาย คำเรียกชื่อเฉพาะ นี่สนุกสุด ๆ เช่น นั่งไขว่ห้าง คนซุโข่ไท (สุโขทัย) บอก “นั่งไขว่ติ๊งโหน่ง” น่ารักจริง ๆ หรืออาการรักใคร่ปรองดองกัน คนโคราชบอก “กะตุ้มหุ้มห่อ” แต่ที่จำแม่นเลยก็คือการเรียกผูห้ ญิงที่สูงโปรง่ แขนขายาวเหมือนคุณโอลีฟแฟน มร.ป็อปอาย คนโคราชเรียก “แม่กะเท็อวเว็อว” โอ…ใครหนอช่างคิดสร้างคำเหล่านี้ขึ้นมา
ดังนั้น พลันที่ทราบว่าสกลนครมีปราสาทหินชื่อ “นารายณ์เจงเวง” ผมก็ไม่รีรอที่จะตรงแน่วไปที่นั่น เพื่อหาคำตอบว่า “เจงเวง” คืออะไร? และ “เจงเวง” ตรงไหน? ในเงื่อนไขที่พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสานของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ.๒๕๓๕ ระบุวา่ “เจงเวง” (ว.) แปลว่า รุ่งเรือง เลื่องลือ เช่นเดียวกับคำว่า “เชวง”
ซึ่งผมก็ไม่ผิดหวัง เพราะถึงแม้จะเป็นเทวสถานขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับปราสาทหินพิมาย พนมรุ้ง แต่ก็มีเรื่องราวจำหลักไว้โดยรอบพอสมควร โดยเฉพาะทิศเหนือ มีทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะ (อวตารปรางค์หนึ่งของพระนารายณ์) กำลังปราบสิงห์ร้ายด้วยการยืนคร่อมลำตัว แล้วฉีกขาหลังของสิงห์ด้วยท่วงท่าสง่างามโดยมีลายก้านขดและลายพรรณพฤกษาประดับไว้โดยรอบ
เหนือขึ้นไปยังมีหน้าบันภาพนารายณ์บรรทมศิลป์ สัญลักษณ์ว่าพระนารายณ์เป็นผู้สร้างพระพรหม มหาเทพผู้สร้างโลก โดยมีพระชายาลักษมีเทวีคอยนวดเฟน้ อยูที่พระบาท ส่วนทิศตะวันตกมีทับหลังภาพพระนารายณ์ประทับหลังช้างขณะเคลื่อนทัพไปประลองยุทธ์
เชื่อว่าภาพจำหลักที่ทับหลังและหน้าบันเหล่านี้ ทำให้คนรุ่นหลังซึ่งไม่ทราบนามจริงของปราสาทที่ปรากฏในศิลาจารึก จึงเรียกขาน “พระธาตุนารายณ์เจงเวง” ตามความเข้าใจว่าเป็นปราสาทที่สร้างถวายพระนารายณ์ แต่บ้างว่า “เจงเวง” มาจากคำแขมร์ว่า “เซิงแวง” หมายถึงขายาว จากการสังเกตหน้าบันนารายณ์บรรทมสินธุ์ประทับนอนเหยียดขายาวออกไปเลยเรียกปราสาทพระนารายณ์ขายาว
ทว่า หากไปดูหน้าบันปราสาททิศตะวันออก ซึ่งถือเป็นทิศหลักในศาสนาฮินดู จะเห็นภาพศิวะนาฏราช หรือการร่ายรำของพระศิวะมหาเทพ เพื่อสำแดงพระราชอำนาจสำคัญสามประการคือ ทรงเป็นทั้งผู้สร้าง ผู้ปกป้องคุ้มครองและผู้ทำลายโลก (ยามที่โลกถึงยุคเข็ญ) ส่วนทับหลังด้านล่างลงมา เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทพประจำทิศตะวันออก
ดังนั้น นักโบราณคดีจึงอนุมานว่า พระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นเทวสถานฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างถวายพระศิวะมหาเทพ มากกว่าจะสร้างถวายพระนารายณ์ ตามลัทธิไวษณพนิกายเฉกเช่นเดียวกับปราสาทพนมรุ้ง โดยพระธาตุองค์นี้ สร้างด้วยศิลปะบา-ปวน อายุเก่าแก่กว่าปราสาทนครวัดเล็กน้อย คือเกือบ ๑,๐๐๐ ปี ในขณะที่นครวัดอายุราว ๙๐๐ กว่าปี
นอกจากนั้น ในตำนานอุรังคธาตุ เล่าว่าเมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมาจากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง จึงมีกุศโลบายชักชวนราษฎรชายและหญิง สร้างปราสาทแข่งกัน ของใครเสร็จก่อนจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้นแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวงยึดกติกาว่าถ้าดาวเพ็ก (ดาวศุกร์) ขึ้นเมื่อใดให้หยุดสร้าง แต่ฝ่ายหญิงออกอุบายนำโคมไปแขวนไว้บนยอดสูง ทำให้ฝ่ายชายเข้าใจผิด คิดว่าดาวเพ็กขึ้นแล้วจึงหยุดสร้าง ในขณะที่ฝ่ายหญิงก็สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวงเสร็จสมบูรณ์เพียงหลังเดียวโดด ๆ
แต่เรื่องนี้ก็เป็นเพียงตำนานเล่าขาน ให้เกิดความเชื่อว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงสร้างขึ้นโดยฝีมืออิสตรีผู้ชาญฉลาดเท่านั้นเอง
ประตูหลอก คือแกะสลักให้คล้ายประตูแต่เปิดไม่ได้พระธาตุนารายณ์เจงเวงสร้างด้วยศิลปะแบบบา-ปวนเชื่อกันว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงสร้างขึ้นโดยฝีมือผู้หญิง