ปากแข็ง

พ่อเฒ่าสีนวน ไทบ้านสำราญ มีลูกเขยชื่อ“บักตุ๊” เป็นชาวจังหวัดชลบุรีที่เว้าไทย (พูดภาษากลาง) แรก ๆ ก็เข้าใจกันยาก เพราะเข้าข่ายคำพูดที่ว่า “ไทยบ่จั๊กซาว ลาวบ่จั๊กยี่สิบ” เวลาพูดกัน ลูกเขยมักยํ้าถามเพื่อความเข้าใจและสื่อความหมายได้ถูกต้อง บางครั้งพ่อเฒ่าสีนวนก็ชักรำคาญ เนื่องจากบักตุ๊มันมักถามซํ้ายํ้าทวนจนแกขี้เกียจจะตอบ

ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนในแต่ละพื้นที่ ความหมาย สำเนียง คำศัพท์ที่ใช้เรียกสิ่งของ เครื่องใช้ในแต่ละพื้นที่เรียกต่างกันเช่น คนภาคกลางเรียก กระโถน ชาวบ้าน “ทางอีศาน” เรียก “เงี่ยง” คนภาคกลางเรียก ช้อนคนทางอีศาน เรียก บ่วงซด เป็นต้น

พ่อเฒ่าสีนวน เริ่มปวดหัวมากขึ้น เมื่อเรียกใช ้ หรือวานใหบั้กตุไ๊ ปหยิบสิ่งของบางอย่างมาให้มักถูกย้อนถามและเสียเวลาอธิบายความซํ้าซาก

“พ่อต้องทนเอาหน่อยนะ เพราะผมไม่คุ้นกับภาษาลาวทางอีศาน พ่อจะใช้ผมไปหยิบนั่นหยิบนี่ บางทีผมก็นึกไม่ออก หยิบผิดก็ไม่ว่ากันนะ!” บักตุ๊มันอธิบาย

“เออ…แต่กูก่ะ สิหล่อยนำมึง ถามอยู่เมิดปี จนกูคึดสิบใช่มึ้งอีกละบักตุ! ” พ่อเฒ่าสีนวนว่าแบบค่อนข้างรำคาญ

“ใครบอกให้เจ้าได้ลูกเขยคนเว้าไทย?” บักตุ๊แซว

“มึงน่ะแหละโต๋การ มามักลูกสาวกู!” พ่อเฒ่าสีนวนยํ้า

การต่อล้อต่อเถียงระหว่างพ่อเฒ่ากับลูกเขยคู่นี่เกิดขึ้นบ่อย ๆ แต่ก็ไม่ถือว่าถึงขั้นทะเลาะกัน ก็มีรสชาติไปอีกแบบหนึ่งในครอบครัว

วันหนึ่ง พ่อเฒ่าสีนวนให้บักตุ๊ขับรถยนต์พาไปเยี่ยมลูกหลานอยู่ต่างอำเภอ เป็นหมู่บ้านออกไปตามชนบทถนนลูกรัง ขี้ไหง่ฟุ้งกระจาย ตามทางแยกไม่ว่าจะเป็น ๓ แยก ๔ แยก ไม่มีป้ายบอก บักตุ๊ผู้ขับรถมันเป็นคนต่างจังหวัดก็ย่อมงงกับเส้นทางเป็นแน่แท้ เมื่อมันขับรถไปถึง 4 แยก เมื่อไม่มีป้ายบอกทางมันเริ่มงง

“ไปบ้านดงบังเลี้ยวซ้ายใช่ไหมพ่อ?”
“จ้างกูก่ะบ่บอก!” พ่อเฒ่าสีนวนแกล้งบักตุ๊
“ถ้างั้นผมเลี้ยวไปขวานะ?”
“จ้างกูก่ะบ่บอก!” พ่อเฒ่าสีนวนยังปากแข็ง กวนบักตุ๊ต่อไป
“ถ้างั้นผมจะไปตรงนะ!” บักตุ๊ว่า
“จ้างมึงก่ะไปบ่ถืก! ถ้ามึงบ่เลี้ยวขวา!”


Related Posts

วิจิตรตา… วัดศรีเทพประดิษฐาราม
รักลูก
การเขียนหนังสือ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com