By

สุวิทย์ ธีรศาศวัต

การเมืองเรื่องส่วยในภาคอีสาน

การเก็บส่วยในอีสานสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ห้า รัฐบาลเก็บเป็นสิ่งของซึ่งมีมากในท้องถิ่น เว้นเสียแต่ว่าไพร่ส่วยหาสิ่งของที่กำหนดไม่ได้จึงยอมให้จ่ายเงินแทนคนละ ๔ บาทต่อปี ที่ว่าเป็นเรื่องการเมืองก็เพราะในระบบส่วยมีการแย่งชิงส่วยระหว่างเจ้าเมืองกับเมืองหลวงระหว่างเจ้าเมืองกับเจ้าเมืองด้วยกัน ระหว่างเจ้าเมืองกับกรมการเมือง

บ้านปากอูน : จากหมู่บ้านปลาชุม (แต่ขาดข้าว) มาเป็นตลาดสดห้าดาว

บ้านปากอูนเป็นหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำสงคราม ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในแอ่งสกลนคร และเป็นแม่น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ที่สุดของภาคอีสาน หมู่บ้านนี้จึงเคยเป็นหมู่บ้านที่จำหน่ายปลาสด ปลาแห้ง ปลาร้า ไปทั่วทั้งอีสานเหนือ และหลายจังหวัดในแอ่งโคราช

การส่งส่วยในภาคอีสาน

การส่งส่วย คือ การส่งภาษีของไพร่หลวงที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงให้รัฐบาลนั่นเอง ภาคอีสานมีความสำคัญต่อรัฐบาลมากที่สุดในการส่งส่วย เพราะมีเมืองที่ส่งส่วยมากที่สุดในประเทศ กล่าวคือมีถึง ๗๒ เมือง ในขณะที่ภาคกลางมี ๓๗ เมือง ภาคตะวันออก ๑๕ เมือง ภาคใต้ ๑๒ เมือง ภาคตะวันตก ๘ เมือง ภาคเหนือ ๖ เมือง (สุวิทย์ ธีรศาศวัต ๒๕๔๘:๑๒๖)

ตลาดคำไฮ : ตลาดเย็นที่ใหญ่ที่สุดของขอนแก่นกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมการกิน

ก่อนเกิดตลาดคำไฮ เมืองขอนแก่นมีตลาดสดอยู่แล้ว ๔ ตลาด ตลาดแรกคือ ตลาดเทศบาล ๑ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ตรงโรงหนังขอนแก่นตรงข้ามธนาคารไทยพาณิชย์สาขาขอนแก่น ถนนศรีจันทร์ในปัจจุบัน ตั้งตลาดนี้ราว ๆ ปี ๒๔๕๐ (รัชกาลที่ ๕) ต่อมาในปี ๒๔๙๘ เกิดไฟไหม้ใหญ่ตลาดขอนแก่น จึงย้ายมาตั้งตรงเรือนจำซึ่งให้ย้ายออกไป แล้วตั้งตลาดเทศบาลแทนซึ่งอยู่มาถึงปัจจุบัน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com