มะอื่อสูง… สวัสดีปีใหม่ (๕)
คำว่า /มะอื่อสูง/ หรือที่เขียนกันในชั้นหลัง ว่า |ใหม่สูง| เป็นคำทักทายที่ชาวไทใหญ่ใช้เมื่อ พบปะกัน มีความหมายทำนองเดียวกับคำ “สวัสดี” ที่ใช้กันทั่วไปในภาษาไทยกลาง
|สวัสดี| เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า |savasati|
คำนี้มีที่ใช้ในภาษาเขมรด้วย ออกเสียงว่า /suasadey/
ในภาษาไทใหญ่ /มะอื่อ/ คือคำที่ออกเสียงได้ค่อนข้างยากสำหรับคนไทยทั่วไป
ศก ศักราช กับ ไตศักราช (๒)
มิติ ‘กาลเวลา’ นั้น สำคัญไฉน... การติดตามทำความเข้าใจเรื่องราวของ ผู้คน ชุมชน ชนชาติ ประเทศ และโลกทั้งโลก ยากที่จะแยกออกจากบริบทที่สำคัญอย่างน้อยที่สุดสองบริบท คือ บริบทของมิติกาลเวลา (Time) กับ บริบทของพิกัดสถานที่ (Space) เงื่อนเวลา (knots of time)
The Tai Era เบิกฟ้าปีใหม่ไท ไตศักราช (๑)
วันนี้ (เสาร์ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๑) คือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑
วันนี้คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวไททั้งมวล ยิ่งไปกว่านั้น ชาวกรุง (ไทย) คุ้นชินกับปี พ.ศ. (พุทธศักราช)
นักวิชาการ (ไทย) จำนวนไม่น้อยก็ถนัดที่จะบรรยาย เขียน สอนลูกศิษย์ และอ้างอิงด้วยปี ค.ศ. (คริสต์ศักราช)
แต่ท่านทราบไหมว่า ชาวไทใหญ่มีการใช้ “ปี ต.ศ. (ไตศักราช)” ร่วมกัน
“ความล่องคง” ประวัติศาสตร์ขับขานของชนชาติไท (๔)
การสืบสร้าง “มหากาพย์ชนชาติไท” ในงานเขียนชุดนี้ จะใช้ผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่รังสรรค์โดยชนชาวไทเป็นตัวตั้ง
The Dawn of the Tai วิธีวิทยาเจาะเวลาหา ‘ยุคเพรางาย’ ~ อรุณรุ่งของชนชาติไท (๓)
แม้วัน-เวลาจะเป็นสิ่งสมมติ...แต่มนุษย์เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคม จำเป็นต้องหมายรู้ กำหนดวาระสำคัญ นัดหมาย เพื่อพบปะกันทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน หนุ่มสาวบางคู่อาจมี “วันนัด” พบกันเปิดเผยในคืนเดือนเพ็ญ เช่นที่ผู้บ่าวไท-ไต-ลาว ไป “แอ่วสาว” ที่ตนหมายตาไว้