By

กอง บ.ก.

ยักษ์สะลึคึ ตำนานแม่น้ำโขง

ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งหากินอยู่บริเวณที่เป็นอาณาเขตของประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในปัจจุบัน ยุคนั้นบ้านเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ จะมีเพียงผู้คนอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามป่าเขา ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักยักษ์เพศผู้ตนนี้ดี เพราะเวลามันเดินทางไปหาอาหาร จะเกิดเสียงดังสนั่นเหมือนกับเกิดแผ่นดินเลื่อนหรือแยกออกเป็นร่อง พอชาวบ้านได้ยินเสียงดังกล่าวจะพากันอพยพหลบหนีไปซ่อนตัวตามหุบเขาให้พ้นเส้นทางที่ยักษ์ตนนี้เดินผ่านจะได้ปลอดภัย

พื้นสืบ

“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”

นวนิยาย: กาบแก้วบัวบาน (๑๐)

หญิงสาวคนหนึ่งแต่งชุดดำ กำลังนั่งเดี่ยวจะเข้ท่ามกลางผู้คนที่ชุมนุมกลางลานกว้าง แสงจันทร์ส่องให้เห็นใบหน้า มวยผมแซมมงกุฎดอกไม้สีขาวสไบสีแดงพาดเฉียงไหล่ซ้าย เข็มขัดเงินคาดเอวสะท้อนแสงวับวาว เพ่งมองใบหน้าอีกครั้งด้วยคลับคล้ายคลับคลาเหมือนเคยเห็นมาก่อน ช่วงที่หญิงสาวเงยหน้าขึ้นช้า ๆ เหมราชถึงกับสะดุ้งใบหน้าของเธอละม้ายเหมือนนาฏนภางค์ กิริยาท่าทางก็ยิ่งเหมือนหนักเข้าไปอีก

“หมาเก้าหาง” วงพื้นบ้านอีสานปลุกใจรักท้องถิ่น

ศิลป์สโมสรวันนี้พบกับวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน "หมาเก้าหาง" ที่นำเครื่องดนตรีหลากหลายมาผสมผสานจนได้ทางดนตรีแปลกใหม่ หวังปลุกใจคนรุ่นใหม่ให้รักในท่วงทำนองของท้องถิ่น

“ทางอีศาน” คือ สื่อสร้างสุข

นิตยสาร “ทางอีศาน” คือสื่อสารมวลชนที่ชูคำขวัญว่า “ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต” เพื่อมุ่งเน้นเผยแพร่เรื่องราวข่าวสารให้ผู้คนทุกชาติพันธุ์วรรณาที่เกิดมาในแอ่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ได้ตระหนักในพลังอันยิ่งใหญที่เกิดขึ้นและสืบสานมาแล้วในอดีต วันนี้เราต้องพลิกฟื้นพลังชีวิตให้กลับมาเข้มแข็งสดชื่น และสร้างอนาคตให้ประเทศชาติรุ่งเรืองร่วมกัน

ชนะคาม – เชียงคาน “พระหด” สิ่งมหัศจรรย์ของอาเซียน

สมัยโบราณนั้นตัวอำเภอเชียงคานกับเมืองสานะคามหรือชนะคามเป็นเมืองเดียวกัน(เมืองอกแตก คือ มีสองฝั่ง ส่วนใหญ่แล้วบริเวณตัวเมืองใหญ่จะอยู่ฝั่งลาว ตัวเมืองเล็กอยู่ฝั่งไทย เช่น “ศรีเชียงใหม่ก็คือส่วนหนึ่งของเมืองเวียงจันโบราณ) เมืองเชียงคานโบราณเป็นเมืองสำคัญอยู่กึ่งกลางระหว่างหลวงพระบางกับเวียงจัน

คำผญา พระไม้: หม่ำ

“เนื้อดีๆ ซอยถี่ๆ ฟักแหลกๆ คั้นแล้ว แดกใส่บั้ง เคียนข้อต่อกัน” ฯ เนื้อดี แข่นอั้นตั้น คั้นใส่หัวผักเทียม ซอยเทิงตับ ใส่นำพอด้าม เอาเทิงม้าม ลงนำจักสะหน่อย คั้นให้มุ่นอ้อยป้อย อุ้ยตุ้ยใส่กัน ของสำคัญว่านั้น แม่นข้าวคั่วลงผสม คั้นจนสมพอควร จนว่าสีหอมกุ้ม แล้วจั่งหยุมลงไส้ อัดดียัดแก่น พู้นเด้อ...อ่านต่อ

ข้าวขวางโลก

ต้องดัดนิสัยตัวเอง หัดมันตั้งสติให้เที่ยงจากนั้นก็ดัดนิสัยต้นข้าวในนาของเฮา... ให้มันปรับตัวกับดินที่บ่มีปุ๋ย บ่มีสารเคมี มันอาจจะบ่งามในระยะแรก แต่เมื่อปรับตัวได้ นิสัยดีแล้ว ในปีที่สามมันจะงามจนบ่อยากจะเชื่อ’ พ่อแดงเล่าด้วยอารมณ์ขันบนแคร่ริมกอไผ่ ลมเมษาพัดโชยมาจากทิศเหนือ หอบกลิ่นหอมรวงข้าวและความเย็นชื่นจากทุ่งนามาคลอเคลียร่างผอมสูง อารมณ์ดี แข็งแรงของชายชาวนาวัย ๖๐ ผู้เป็นลูกชายคนที่ ๒ ของพ่อแม่ แต่ทว่ากลับกลายเป็นเสาหลักและเป็นผู้นำให้กับพี่น้องของตน

ประวัติความเป็นมาของเผ่าภูไท ตำนานแรก

เผ่าภูไทนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกันกับผ้าผืนกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ย้อมครมเกือบสีดำ เรียกว่าผ้าดำหรือซิ่นดำ สวมเสื้อแขนกระบอกสามส่วน สำดำขลิบแดง ติดกระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ หรือกระดุมขาวมาติดเรียงสองแถวห่มด้วยผ้าขิดพื้นเมือง เปลือยไหล่ด้านขวา ห่มด้านซ้ายและมัดชายผ้าสีข้างด้านขวา นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ม้วนผูกมวยผม

นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 90

นิตยสาร “ทางอีศาน” ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๙๐ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ “นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค” ภาพปก อุดมสมบูรณ์ใต้ร่มพระบารมี โดย  ณรงชัย ประทุมมาตย์ เรื่องเด่นในฉบับ...
Read More

ปิดเล่ม

เวลาหนึ่งเดือนผ่านไปอย่างรวดเร็ว งานทำหนังสือรายเดือนเหมือนกาลเวลาที่พลิ้วผ่านไป มีเรื่องราวที่ต้องปรับปรุงแก้ไขมากมาย แต่ข้อ จำกัด บีบรัดเราก็มากมายเช่นกัน

เรื่องสั้น: มื้อเย็นของคนยาก

เสียงร้องไห้ของลูกทำเอาเขาต้องชะงักมือขณะล้วงควานลงในถังขยะ หันมามองลูกชายที่กำลังโดนตำรวจรักษาความปลอดภัยของร้านทองฟาดฝ่ามือเข้าบ้องหู เขาตกตะลึงตาเหลือกลานงุนงงกับเหตุการณ์ในนาทีวิกฤตนั้น พอร่างเล็ก ๆ นั้นสะบัดดิ้นหลุดจากพันธนาการก็ถลันเข้ามากอดขาเขาหมายพึ่งพา ส่งเสียงร้องจ้าดังขึ้นกว่าเดิมน้ำตาแตกพร่าบ่าลงอาบพวงแก้มหม่น ร่างอันกระตุกสะอื้นแรง ๆ นั้นพลอยทำให้ขาของเขาสั่นไหวไปด้วย

เรื่องสั้น : กำแพง

ไอ้ห่า! มึงต่อยกับกูไหม ? ขบวนกลองยาวงานบวชพลันหยุดชะงัก จากขบวนแห่นาคกลับตาลปัตรเป็นสังเวียนมวยอย่างช่วยไม่ได้ หนุ่มเลือดร้อนรุ่นใหญ่ผมสองสีกลับมาท้าตีท้าต่อยกันกลางงานเหมือนเด็กวัยรุ่น

“งันขอนผี” ผีสร้างคู่ ฟื้นประเพณี สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

“แต่ก่อนงานศพไม่เหมือนปัจจุบัน ศพเราจะวางเอาไว้บนตะแค่ไม้หรือไม่ก็วางบนพื้นบ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกันมาก ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งนั้นก็จะเกิดความกลัว ไฟฟ้าก็ไม่มี มืดก็มืด มีเพียงตะเกียงเจ้าพายุนำทาง ดังนั้นพวกหนุ่มสาวแต่ก่อนจึงจะจับกลุ่มกันเดินทางไปบ้านงาน พอไปถึงบ้านงานบรรยากาศในงานก็น่ากลัวศพก็ไม่ได้อยู่ในโลงเพราะแต่ก่อนมันไม่มี มันจึงเกิดงันขอนผี และ งันเฮือนดีขึ้นมา”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com