ใ จ ค น อี ศ า น
ให้ข้อมูลคณะก้าวหน้า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประชาชนบนภูพาน อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ผ่านนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์... และมอบหนังสือ "ทางอีศาน" เพื่อให้ศึกษา ถ้าหากอยากอยู่ในใจคนอีสานครับ
ธรรมนูญประชาชน
เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไทย นับวันยิ่งมีรายได้ลดน้อยลง แต่หนี้สินกลับพอกพูน สังคมเต็มไปด้วยอภิสิทธิ์อิทธิพล เศรษฐกิจถูกผูกขาด ข้ารัฐการไร้คุณภาพขาดคุณธรรม ระบบเผด็จการครองเมืองมายาวนาน ทั้งมหาอำนาจต่างแย่งยื้อกันเข้าครอบงำยิ่งขึ้น จึงนำเสนอ “ธรรมนูญประชาชน” เพื่อต้านยัน รุกคืน สร้างความกินดีมีสุข และความเจริญรุ่งเรือง
ฝน | ฟ้า | หนาว
ฝนสั่งฟ้า...
ด้วยถ้อยคำอำลาแสนชื่นฉ่ำ
สาดซัดพัดกรรโชกลำนำ
โหมกระหน่ำพลังทั้งคืนวัน
ปึ้มเรื่อง “สาวผู้ไทในนอร์เวย์”
ปึ้มเรื่อง "สาวผู้ไทในนอร์เวย์"
เขียนโดย สฤษดิ์ ผาอาจ และจารุณี ศรีหริ่ง มาทิเซ่น หนังสือเล่มนี้เขียนโดยพี่ชายและน้องสาวที่ต่างพ่อต่างแม่กัน ทั้งสองเกิดหมู่บ้านเดียวกัน เรียนหนังสือถึงชั้นมัธยมต้นโรงเรียนเดียวกัน ชอบอ่านหนังสือ ชอบร้องรำทำเต้น และเท่าที่จับสังเกตจากสำนวนภาษา จากจริตระหว่างบรรทัด คนทั้งสองน่าจะขี้ดื้อพอ ๆ กัน
เนื้อหาเล่าบอกชีวิตแต่งงานของ จารุณี ศรีหริ่ง กับหนุ่มใหญ่ชาวนอร์วีเจี้ยน โดยสร้างครอบครัวใหม่ขึ้นที่นอร์เวย์
เน่าใน
เน่าในทั้งระบบระบอบ
เน่าในกฎกรอบระเบียบเก่า
เน่าในค่านิยมงมเงา
เน่าในจนดำเทาดูขาวงาม
สาวผู้ไทในนอร์เวย์ ปึ้มใหม่ของสำนักพิมพ์ “ทางอีศาน”
เรื่องราวเข้มข้นปนขันขื่นของสาวผู้ไทอุดรธานีกับวิศวกรหนุ่มใหญ่นอร์วีเจี้ยน และ “อิเบะ” ยายผู้หาญกล้าเคลื่อนโลกตนเองจากท้ายไร่อ้อยอีสานเหนือไปบรรจบป่าแครนเบอร์รี่บนภูสูงนอร์เวย์ จนถึงชายทุ่งเยอรมนี เพื่อเยี่ยมยามถามข่าวลูก หลาน เหลน
ภาพข่าวชาว “ทางอีศาน”
หนึ่ง ~ คณะ"ท้าวไชยคำเลาะทัวร์" จ.สกลนคร พร้อมต้อนรับคณะ"ท่องเที่ยวทางอีศาน" ที่วางโครงงานตระเวนแอ่งอารยธรรมสกลนคร แต่แล้วต้องเลื่อนเพราะโควิด-19 ระบาด หนาวนี้คงได้พบกัน
กมล ชาวงษ์
"ถ้าไม่รวยจะไม่กลับบ้าน"
วันนี้มาส่งสการลูกชายป้า อายุ 59 ปี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ที่วัดธรรมสุขใจ (ซอยสามัคคี) อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
น้องชายคนนี้ได้ใช้ชีวิตไร้เดียงสาในวัยเยาว์อย่างเต็มที่ ชื่นชอบด้านงานศิลปะ รักดนตรี มีเอลวิส เพรสลีย์ เป็นไอดอล
พร
พร - นี้พรชีวิตติดตนมา
ศักดิ์ - เกียรติยศพาเหลื่อมเหลือง
ส่อง - สุขมอบพี่น้องทั่วบ้านเมือง
แสง - จากพรแจ้งฮุ่งเฮืองบ่มิดหาย
รฦก ๔๘ ปี “๑๔ ตุลา ๒๕๑๖”
เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนทุกสาขาอาชีพ นักเรียน นักศึกษา คนหนุ่มสาว นับหมื่นนับแสนออกจากบ้านไปร่วมส่วนการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ ๑๔ - ๑๕ ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต ๗๑ คน บาดเจ็บ ๘๕๗ คน
อีสานแค้น
อีกาฮ้องกากา
อยู่เถียงนายามเที่ยง
แดดกะฮ้อนเปรี้ยงเปรี้ยง
ตะวันเกลี้ยงปานหมากแตง
ถ้อยแถลงของนายเจ้า
อีสานเฮาคือลาว
แสนสิสุดปวดร้าวยามมีคนมาลบหลู่
อีสานเฮากะฮู้บ่สู้ว่าจังได๋
เสียงเพลงของชาวนาเมื่อหน้าฝน
ฝนตกฝนตกจากฟ้า
ตกลงมาสู่ไร่สู่นา
แห้งแล้งจนแสนระอา
ตกลงมาอย่าช้าเร็วไว
# อหังการ์ของอีแร้ง
แก๊ว แก๊วโก่งคอร้อง
เสียงกึกก้องกระพือบิน
จ๊อก จ๊อกที่ได้ยิน
เสียงกระจอกร้องสู้ตาย
บทนำ ฉบับ “ฟ้าใหม่”
นักคิดนักเขียนที่มีความคิดก้าวหน้าคนหนึ่ง ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป คือผลิตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนในทางสร้างสรรค์ที่ได้รับจากการต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม ทั้งนี้โดยสะท้อนถ่ายออกมาในแง่ความงาม แนบแน่นกับความเป็นจริง มีความตรึงตราและง่ายในระดับที่ประชาชนส่วนข้างมากสามารถชื่นชม และเข้าใจได้ อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลาที่มันถือกำเนิดขึ้นมา
กวี
สมัยโบราณ
คนชอบร้องเพลงเกี่ยวกับธรรมชาติ
หิมะและดอกไม้
ดวงจันทร์และสายลม
กลุ่มหมอก
ภูเขาและลำน้ำ