ทางอีศาน 37 : ปิดเล่ม
ผลจากการปฏิวัติ ๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕ ส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจการเมืองภาคอีสาน ทำให้ความเปลี่ยนแปลงจาก รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ รัฐประชาธิปไตย หรือ รัฐประชาชาติ เกิดขึ้นทั้งในเชิงโครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาคอีสาน ๓ ประเด็นหลัก...
ขี้ลืม
พ่อเฒ่าลมถือพร้าจะออกไปทุ่งนาบ้างแกเดินทางผ่านป่าละเมาะ แกเกิดปวดท้องขี้ขึ้นมากะทันหัน! ก็เลยจะขี้ที่ป่าละเมาะนั่นซะเลย พ่อเฒ่าลมทิ้งพร้าลงบนพื้นดิน แกถอดกางเกงนั่งยอง ๆ ลง แล้วขี้! ในขณะที่แกนั่งขี้อยู่นั้น พ่อเฒ่าลมเหลือบเห็นพร้าเล่มที่แกทิ้งวางไว้ต่อหน้าแกนั่นแหละ! แกลืมและจำไม่ได้ แกเข้าใจว่าเป็นพร้าคนอื่นลืมทิ้งไว้!
กลอนบทละคร (๔)
เรื่องกลอนบทละครอยุธยา ยังมีเรื่องเล่าอีกยาวครับ ตอนก่อน ๆ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงอ่านรสกลอนไม่เต็มที่ ฉบับนี้จะลงให้จุใจเลย เป็นกลอนชมเมืองจากบทละครเรื่องอิเหนา สมัยอยุธยา (คัดจากหนังสือ “ตำนานอิเหนา” โดย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) นอกจากอยากให้สนใจลีลากลอนสมัยอยุธยาแล้ว
แทนน้ำนมแม่ สำนึกของลูกอีสาน
วรรณกรรมอีสานหลากหลายเรื่องราวถูกจดจารลงในใบลาน เรียงร้อยด้วยสายสนองเรียกว่า “หนังสือผูก” เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่ส่งต่อสำนึกทางวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นต่อมา ลูกอีสานเมื่อครั้งยังอาศัยวัดเป็นสำนักเรียนรู้ คงคุ้นเคยกับวรรณกรรมสำคัญเรื่อง “แทนน้ำนมแม่” ซึ่งมีเรื่องราวที่เล่าถึงพระคุณแม่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเมื่อครั้งเสด็จโปรดพุทธมารดาที่เมืองฟ้า
ห่ากวาดเมือง
“พ่อเฒ่า! การจ้ำแจ่วโบราณว่ามีสามวิธีเด้อ!”
“มีวิธีใดแหน่ เว้ามาเลย...สาธิตพร้อมเด้อ! จั่งสิเข้าใจ” พ่อเฒ่าอุ่นว่า
“หนึ่ง...โบราณว่า แฮดนอนซำ...”
ว่าแล้วบักก้อนก็เอาข้าวเหนียว ที่ปั้นเป็นก้อนพอดีเคี้ยวเป็นคำได้สะดวก จุ่มแช่ลงในถ้วยแจ่ว...มันแช่ไว้นาน น้ำแจ่วก็ซึมเข้าไปในคำข้าว พอมันยกคำข้าวมาเข้าปากน้ำแจ่วในถ้วยก็ลดวูบลง!
พ่อเฒ่าอุ่นมองดูถ้วยแจ่วที่น้ำแจ่วลดลง พ่อเฒ่าอารมณ์ก็จ้องดูถ้วยแจ่วเหมือนกัน !
“ฮ่วย! แจ่วคือเหลือน้อยแท้?”
คำโตงโตย
“หมากบ่เคี้ยวปากเป่าบ่แดง
แม่นซิมีเต็มพากะบ่แดงเองได้”
(วรรณคดีลาว “ย่าสอนหลาน”)