คำผญา คืออะไร?

คำผญา ไม่ใช่ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหรือถูกเขียนขึ้นอย่างลอย ๆ แต่คำผญาเกิดจากการสั่งสมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดท่ามกลางความสุขารมณ์ ความแร้นแค้น เป็นเรื่องเป็นราว เป็นบทเรียนของคนที่เจนจัดมาจากการดำเนินชีวิตที่ยาวนาน จนสามารถสรุปบทเรียนและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

คำผญา : ความจน

ขึ้นชื่อว่าทุกข์จน หนอผู้คนย่อมชิงชัง รังเกียจดุจสังคัง ในสังคมชมคนมี คนทุกข์แทบซุกหน้า ใต้ผืนหล้าหลบหลีกหนี ใครใครไม่ว่าดี แม้น้องพี่พากันเมิน ต่อเมื่อเราหมั่นเพียร ฐานะเปลี่ยนเป็นนายเงิน มวลมิตรมากชิดเชิญ สุขเหลือเกินเพลินอุรา ใครใครใคร่ต้อนรับ นับพี่นับน้องญาติกา...

มะอื่อสูง… สวัสดีปีใหม่ (๕)

คำว่า /มะอื่อสูง/ หรือที่เขียนกันในชั้นหลัง ว่า |ใหม่สูง| เป็นคำทักทายที่ชาวไทใหญ่ใช้เมื่อ พบปะกัน มีความหมายทำนองเดียวกับคำ “สวัสดี” ที่ใช้กันทั่วไปในภาษาไทยกลาง |สวัสดี| เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า |savasati| คำนี้มีที่ใช้ในภาษาเขมรด้วย ออกเสียงว่า /suasadey/ ในภาษาไทใหญ่ /มะอื่อ/ คือคำที่ออกเสียงได้ค่อนข้างยากสำหรับคนไทยทั่วไป

จิม ทอมป์สัน ฟาร์มทัวร์ 2562 “ต่ำหูก แต้มผ้า – เล่าอีสานผ่านผ้าทอ”

ปีนี้เปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 7 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2563 ภายใต้ชื่องาน “ต่ำหูก แต้มผ้า – เล่าอีสานผ่านผ้าทอ” (Isan memory on textile) ซึ่งจะนำเอาเรื่องราวของผ้ามาสร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าชมได้รับรู้ ได้สัมผัสกับวิถีและความงามของผ้า ความเกี่ยวพันของผ้ากับวิถีชีวิตและประเพณีของชาวอีสานที่ถักทอเกี่ยวกันมาช้านาน

น้ำหมากนาว

“เออ…แพง…โต๋ ฮู้วิธีเฮ็ดหน่อไม้ส้ม โดยบ่ให้หน่อไม้แหล่ (เขียวคลํ้า) ฮึบ่ ?” พ่อเฒ่าพันตั้งกระทู้ถามบักทิดแพง “บ่ฮู้…บ่จั๊ก!” บักทิดแพงตอบห้วน ๆ พ่อเฒ่าพันก็ว่าต่อ… “ถ้าโต๋บ่ฮู้ พ่อสิบอกวิธีเด้อ...มันเป็นภูมิปัญญามาแต่โบ๋ราณ…”

ฮีตเดือนสี่

คำว่า “ผะเหวด” เป็นชื่อของพระโคตมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แสดงถึงพระจริยวัตรเมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์เวสสันดร มีการจารเป็นหนังสือชาดกเรื่องยาวถึง ๑๓ ผูก มักจัดงานบุญผะเหวด หรือบุญมหาชาติหลังออกพรรษาแล้ว จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ เพราะเดือนนี้ว่างไม่มีประเพณีใด ปราชญ์อีสานจึงจัดไว้เดือนนี้ซึ่งเป็นฤดูแล้ง ชาวบ้านว่างจากการทำไร่ทำนา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com