เชิญชวนท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน (ครั้งที่ 3) “เที่ยวแอ่งอารยธรรมอีสานเหนือ ~ สกลนคร”
เชิญชวนท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน (ครั้งที่ 3) "เที่ยวแอ่งอารยธรรมอีสานเหนือ ~ สกลนคร"
ระหว่างวันที่ 21-24 ตุลาคม 2565
ตุ้มโฮมเพื่อนมิตรโดย นิตยสาร|มูลนิธิ|"ทางอีศาน" นำเที่ยวโดย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ และคณะวิทยากรชำนาญการ *เปิดรับสมาชิกเพิ่มอีก 24 ท่าน รับสมัครภายในเดือนกรกฎาคมนี้เพื่อจะได้ทันจองเที่ยวบินเดียวกัน
บางเรื่องราว
"ชอบนะ ผมก็ติดตามเก็บเข้ากรุบ้างเป็นบางเล่มน่ะนะ ยอมรับว่าทีมจัดทำหนังสือหัวนี้สู้ มีแนวคิดมุมมองหลากหลาย ของภาคอีสาน(อีศาน) ทำออกมาดีมากกกก เรื่องราวชวนติดตาม และยืนนานมาจนปีที่ ๑๑ ได้ สวนกระแสโชเชี่ยลทุกวันนี้
เมืองเพีย : แหล่งผลิตเกลือและโบราณคดี
การขุดค้นแหล่งโบราณคดีและเมืองโบราณจำนวนมากในภาคอีสาน เป็นหลักฐานยืนยันว่าภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก และสิ่งที่เราไม่เคยคิดว่าจะมีก็มีในพื้นที่แห่งกันดารแบบบทกวีอีศาน ของ “นายผี” บอกไว้ว่า “ในฟ้าบ่มีน้ำ ในดินซ้ำมีแต่ทราย น้ำตาที่ตกกราย ก็รีบซาบบ่รอซึม”
ขอบคุณคนต้นน้ำ
ขอบพระคุณผู้คนบนต้นน้ำ งดงามล้ำจิตใจให้ศึกษา
สรรพสิ่งสรรพสัตว์ล้วนพึ่งพา ส่งคุณค่าโดดเด่นเห็นชื่นบาน
อายหลาวก๊ก 哀牢国
คําว่า “อายหลาว” 哀牢 มาจากภาษาไท/ไตว่า “อ้ายหลวง” ในช่วง ๕ ศตวรรษก่อนคริสตกาล บรรพชนไต/ไท แถบตอนกลางของแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน มีศูนย์กลางอยู่ที่ “เมืองช้าง” (“勐掌” “เมิงจ่าง”, ภาษาฮั่น เรียกว่า “เสิงเซี่ยงกั๋ว” “乘象国” หรือ “เมืองขี่ช้าง”) เป็นศูนย์กลางของสหพันธ์นครรัฐ (อยู่ชาติพันธุ์วรรณาแถบอำเภอเป่าซานปัจจุบัน ซึ่งในยุคสามก๊ก เรียกว่า “หย่งชาง-เวงเซี้ยง) ประมุขเมืองช้าง เรียกว่า “เจ้าหลวง” ( ภาษาจีน “จิ่วหลง 九隆”) ประมุขแต่ละเมืองเรียก “อ้ายหลวง” (“哀隆” แปลว่า “พี่ใหญ่” ภาษาจีนฮั่นถอดคำเป็น “อายหลาว哀牢”)
ห.หีบ
ครูโต้นแกมีลูกเขยเป็นครูชื่อ นพพร ครูนพพรเป็นครูรุ่นใหม่ มีแนวคิดที่ปฏิรูปการเรียนการสอนให้มันเข้ายุคสมัย ซึ่งขัดกับพ่อเฒ่าที่เป็นครูเก่า หัวโบราณ บางครั้งครูนพพรก็เคยลองภูมิพ่อเฒ่าเรื่องความรู้ใหม่ ๆ อยู่บ้าง ครูโต้นแกก็สามารถตอบและแก้ปัญหาที่ลูกเขยหัวใหม่มันลองภูมิได้ทุกครั้ง