“คราม” สีย้อมแห่งชีวิต

คราม คือ ความอมตะ คือราชาแห่งสีย้อม เป็นหนึ่งในสีธรรมชาติที่เก่าแก่มากสีหนึ่งของโลกที่มนุษย์ใช้มายาวนานกว่า ๖,๐๐๐ ปี สีครามติดดี ติดทนลึกเข้าไปในเส้นใย

“มื้อออกใหม่เดือนสาม”

วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นและเกี่ยวพันกับ “ข้าว” ของพี่น้องชาวไท - ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั่วทั้งอุษาคเนย์ เรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” คือ สายโยงใยชีวิตจิตวิญญาณของผู้คนในเขตโขงนี้ตั้งแต่เกิดจนตาย จนเกิดเป็นฮีตสิบสองคองสิบสี่ และธรรมนูญร่วมกัน

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๗

จำได้ไหมพี่น้อง เมื่อแรกยึดอำนาจเข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง ปี ๒๕๕๗ ขณะนั้นราคายางตกต่ำ นายกฯบอกว่าถ้าอยากได้ราคาแพงให้ไปขายที่ดาวอังคาร ล่าสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ได้แนะประชาชนแก้ภาวะหาอยู่หากินลำบากโดยให้เลี้ยงไก่กินไข่บ้านละสองตัว

ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๒)

คุณเหลียงถิงหวั่ง เชื่อว่า บรรพชนของชาวเผ่าจ้วง (ขณะที่ยังมิได้แยกเป็นชาติพันธุ์ตระกูลภาษาตระกูลต้ง-ไถ) มีความเกี่ยวพันกับชนเผ่าโบราณที่ปรากฏชื่อในบันทึกโบราณของจีน เช่น ชนเผ่าซีโอว 西瓯 ลั่วเยวี่ย 路越 ชางอู่ 仓吾 ซุ่นจื่อ 损子 กุ้ยกั๋ว 桂国 จวี้ถิง 句町 เย่หลาง 夜郎 ผู่ 濮 โล่วว่อ 漏卧 อู่เลี่ยน 毋敛 เป็นต้น

กำเนิดแคน

“แคน” เป็นชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้เป่าเป็นเพลง ทำด้วยไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า ‘ไม้กู่แคน’ จัดเป็นตระกูลไม้ไผ่ เข้าใจว่าเป็นไม้ชนิดเดียวกับที่ทางภาคกลางเรียกว่า ‘ไม้ซาง’ (สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๗) ต้นเหตุที่จะเกิดมีแคนขึ้นนั้น มีเรื่องเล่าเป็นปรัมปราคติว่า ‘หญิงม่าย’ นางหนึ่งเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์คิดค้นทำแคนขึ้น
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com