กลอนบทละคร (๑๕)
โดย: ทองแถม นาถจำนง
ภาพจาก: โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

บทพากย์ “นางลอย” ยุคอยุธยา เทียบกับพระราชนิพนธ์ ร.2

ขนบการประพันธ์ของไทยโบราณ ผู้ประพันธ์จะถ่อมตน บางเรื่องไม่แถลงนามผู้ประพันธ์ หลายเรื่องที่ลงท้ายเชิญให้ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ด้วย

วรรณคดีสมัยอยุธยาหลาย ๆ เรื่อง ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์

และหลายเรื่อง ก็ถูกพัฒนาปรับปรุงในช่วงกรุงธนบุรีและช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

สำนวนกลอนของพระเจ้าตากสิน พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และนักปราชญ์ราชบัณฑิตในสองรัชกาลนี้ จะรวมไว้ในกลุ่ม “กลอนอยุธยา”ก็คงจะได้ เพราะที่จริงแล้ว บุคคลเหล่านี้ก็คือคนยุคอยุธยานั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม ความนิยมสำนวนในบทละครที่เก่าตั้งแต่ยุคพระเจ้าบรมโกศ ก็มีความแตกต่างจากยุคต้นรัตนโกสินทร์อย่างเห็นได้ชัด

จะนำบทพากย์รามเกียรติ์ ตอน “นางลอย” (เบญจกายแปลงตัวเป็นนางสีดาตายลอยน้ำมาหน้าพลับพลาพระราม)ของเก่าสมัยอยุธยา มาเปรียบเทียบกับสำนวนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ร.2 ทรงปรับปรุงบทพากย์สมัยอยุธยาให้ “พริ้งขึ้นกว่าเดิม” เมื่อเทียบกันแล้ว ก็จะพอเห็นพัฒนาการของสำนวนการประพันธ์ยุครัชกาลที่สอง

 

กลอนบทละคร (๑๖)
โดย: ทองแถม นาถจำนง

บทพากย์รามเกียรติ์ ตอน “นางลอย” (เบญจกายแปลงตัวเป็นนางสีดาตายลอยน้ำมาหน้าพลับพลาพระราม)ของเก่าสมัยอยุธยา มาเปรียบเทียบกับสำนวนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2

ฝ่งซ้ายคือสำนวนอยุธยา(ของเก่า) ฝั่งขวาคือสำนวนรัชกาลที่ ๒

เสร็จจากสุวรรณราชพลับพลา
พอพระสุริยา
อรุณแจ้งแสงพล

ดาวเดือนจะเลื่อนลับ
แสงทองพยับโพยมหน
จวนแจ้งพระสุริยน
จะเยี่ยมยอดยุคุนธร
สมเด็จพระหริวงษ์
ภุชพงษ์ทิพากร
เสด็จจากพลับพลาจร
กับพระลักษณ์อนุชา
เสนาพฤฒามาตย์
โดยพระบาทเสด็จคลา
ไปดลยังฝั่งสา
คเรศท้าวจะสรงชล
พระเหลือบเล็งในเนินทราย
แทบซึ้งสายชลายล
เยาวรูปอสุรกล
อันกลายแกล้งเป็นษีดาดาวเดือนก็เลื่อนลับ
แสงทองระยับโพยมหน
จวบจนพระสุริยน
จะเยี่ยมยอดยุคันธร
สมเด็จพระหริวงษ์
ภุชพงษ์ทิพากร
เสด็จลงสรงสาคร
กับองค์พระลักษณ์อนุชา
เสนาพฤฒามาตย์
โดยพระบาทเสด็จคลา
เกือบใกล้จะถึงสา
คเรศที่ท้าวเคยสรงชล
พระเหลือบแลกระแสสินธุ์
ชลพินทุอำพน
เห็นรูปอสุรกล
ที่กลายแกล้งเป็นษีดา 

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com