ข่าวสารและกิจกรรม

ประเด็นที่ท้าทาย

ขณะนี้มีคนบนโลกติดเชื้อโควิด-19 เกือบหกล้านคน ตัวเลขจากข่าวเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม๒๕๖๓ ขณะวงงานแพทย์ทั่วโลกยังยืนยันว่า ปีหน้าถึงจะพัฒนาวัคซีนรักษาได้ ต่อจากนี้ไวรัสจะระบาดเพิ่มมากขึ้นเพียงใด จะสามารถยับยั้งได้เมื่อไหร่และเมื่อหยุดได้แล้วยังจะหวนกลับมาอีกหรือไม่เชื้อตัวใหม่จะเกิดอีกปีไหน ล้วนเป็นวิกฤติที่พลโลกกำลังเผชิญและต่อสู้ร่วมกัน

ปิดเล่ม ทางอีศาน 97

โลกมนุษย์กำลังเผชิญภัยจากไวรัส สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยพึ่งพาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ไวรัสมีมากมายหลายชนิด บางชนิดก็เป็นภัยทำลายเซลล์ที่มันอาศัยอยู่ จนถึงขั้นทำลายชีวิตของสิ่งที่มันเข้าไปอาศัยได้ เราเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “โรค” ไวรัสที่โจมตีเป็นอันตรายต่อเซลล์ของมนุษย์ เป็นสาเหตุต้นตอสำคัญส่วนหนึ่งของโรคที่เกิดกับมนุษย์

“ทางอีศาน” ปีที่ ๙

พฤษภาคม ๒๕๖๓ หนังสือ “ทางอีศาน”พิมพ์ออกเผยแพร่ขึ้นปีที่เก้า พร้อม ๆ กับสภาวการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก เป็นสถานการณ์ที่แม้จะไม่ใช่ภาวะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ความเสียหายต่อชีวิตของมนุษย์ไม่ร้ายแรงเท่าภาวการณ์ในอดีต แต่ก็คาดว่า มีผลสะเทือนต่อวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างใหญ่หลวง

สู้เพื่อชีวิต

ประเด็นเรื่องการถนอมรักษาชีวิตสำคัญที่สุด ท่ามกลางวิกฤติขั้นอุกฤษฏ์นี้ ต้องอดทนต่อสู้ ติดตาม เรียนรู้ สรุปบทเรียน เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สรรสร้างชีวิตและโลกขึ้นใหม่

นิตยสารรายเดือน”ทางอีศาน” เล่มประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ฉบับที่ 97 – – เป็นฉบับ “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 9”

นิตยสารรายเดือน”ทางอีศาน” เล่มประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ฉบับที่ 97 - - เป็นฉบับ “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 9” และอีก 3 ฉบับก็ครบ 100 เล่ม นับเป็นวาระที่ดีที่ควรมีกิจพิเศษ ก่อนกิจการงานพิเศษใด ๆ บังเกิดมี ขอนำกถาผู้อาวุโสที่ได้ให้แง่คิดและกำลังใจไว้แต่ครั้งเก่าก่อนมาแสดง ณ ที่นี่

ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ( ๑๗ ตุลาคม ๒๔๗๓ – ๓ มกราคม ๒๕๔๕)

ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา เป็นครูภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส บาลี สันสกฤต และประวัติศาสตร์ สอนหนังสือตั้งแต่นักเรียนชั้น ป.๑ ถึงนิสิตปริญญาเอก ชำนาญวิชาภาษา วรรณคดีตะวันตก วรรณคดีเปรียบเทียบ วรรณคดีสัมพันธ์ อันเป็นวิชาที่หาผู้รู้ผู้ชำนาญได้ยาก

ฟังเสียงผู้นำด้านธุรกิจ/เศรษฐกิจ ของ 4 จังหวัดหลักแห่งภาคอีสาน

ฟังเสียงผู้นำด้านธุรกิจ/เศรษฐกิจ ของ 4 จังหวัดหลักแห่งภาคอีสาน บวกแง่คิดมุมมองของนักวิชาการ จำเพาะในประเด็นที่คุยกันส่วนทั้งหมดคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ทิศทางที่สว่างไสว... ขอเชิญรับฟังแล้วแลกเปลี่ยนทัศนะซึ่งกันและกันครับ

ปิดเล่ม ทางอีศาน 23

ในวินาทีเดียวกัน ในนาทีเดียวกัน คนไทยกำลังเสพสื่อต่าง ๆ นานา แตกต่างกันมากมาย อย่างที่เรียกได้ว่า “คนละทีป” ถ้าจดจ้องจอโทรทัศน์ บ้านที่มิได้ติดเคเบิ้ลทีวีหรือไม่ติดจานดาวเทียม ก็อาจจะกำลังจดจ้องโทรทัศน์สาธารณะห้าหกช่อง บ้านที่ติดเคเบิ้ลทีวีหรือจานดาวเทียม ก็เลือกจดจ้องได้เกินกว่าห้าสิบช่อง บางช่องก็มีแต่ “ผี” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็ “ตี” กัน “เตะ” กัน ฯลฯ (ช่องกีฬา) ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็เป็น “จีน” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็เป็น “แขก” เป็น “ฝรั่ง” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง

หนังสือเล่มใหม่

ติดตามเรา

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com