ฮีตเดือนสาม

คำว่า “ข้าวจี่” คือ ข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาด้วยเกลือคลุกเคล้า ให้ทั่วเอาไม้เสียบกลางแล้วย่างไฟ เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ทาแล้วย่างซํ้าอีกรอบ เสร็จแล้วถอดไม้ออก ต่อมาเอานํ้าอ้อยก้อนยัดใส่แทน งานบุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เก่าแก่ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนี้ ด้วยว่าแต่ก่อนเป็นเดือนชุมนุมพวกแถน หรืองานเลี้ยงผีฟ้าแถนเดือนสุดท้ายซึ่งจัดมาตั้งแต่เดือนอ้ายและเดือนยี่ เมื่อเดือนสาม ไม่มีประเพณีในพระพุทธศาสนาปราชญ์อีสานจึงได้จัดงานบุญข้าวจี่ไว้ในเดือนนี้ จนกลายเป็นงานบุญประจำเดือนสามตั้งแต่นั้นมา

สำบายดี ปี เมิงเฮ้า

“ปักขทึน (ปัก-ขะ-ทึน)” เป็นคำเก่าในวรรณกรรมอีสานโบราณ ตรงกับคำภาษาบาลี ว่าปักขทิน ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ปฺรติทิน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Calendar ปัจจุบันใช้ว่า ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดูวันเดือนปี คำว่า ปักขทึน มาจากคำ ๒ คำ

คำโตงโตย

การใช้ภาษาของคน “ทางอีศาน” ในสมัยก่อนสิมีคำเว้าคำจาโดยใช้ศัพท์ทางภาษาลาวเป็นส่วนใหญ่ เช่น ภาษาไทย เรียก สำนวน สุภาษิต คำพังเพยคำเสริม ภาษาลาว “ทางอีศาน” ดั้งเดิมสิเอิ้นว่า ยาบโคง โตงโตย

“เจนละ” ชนะ “ฟูนัน” ยํ่าปราสาทวัดพู จำปาศักดิ์ ต้นกำเนิดอาณาจักรเจนละ

ก่อนจะกล่าวถึงจารึกซึ่งเป็นต้นเค้าประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองอุบลราชธานีใน ทางอีศาน ฉบับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนขอวกกลับมาขยายความเรื่องปราสาทวัดพู แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว เพิ่มเติม ที่ถูกสร้างขึ้นภายหลังเจนละรบชนะฟูนัน เนื่องด้วยผู้เขียนได้ข้อมูลจากนักวิชาการชาวไทยและต่างชาติเพิ่มเติมในคราวค้นคว้าเรียบเรียงเรื่องจารึกพระเจ้าจิตรเสนฯ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com