ตำนานพญาศรีโคตรตะบอง
ตำนานพญาศรีโคตร, พญาศรีโคตรตระบอง, ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ เป็นตำนานร่วมกันทั้ง แขมร, สยาม, ลาว เรื่องราวในตำนานคล้ายคลึงกัน พิจารณาแล้วน่าจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วง “มืดมน” คือช่วงล่มสลายของ “ยุคพระนครหลวง” (ยโศธรปุระ - นครธม) ร่วมสมัยกับการรุ่งเรืองขึ้นมาของรัฐที่ปกครองโดยชาวสยาม-ลาว
ป า ก แ ข็ ง
พ่อเฒ่าสีนวน ไทบ้านสำราญ มีลูกเขยชื่อ “บักตุ๊” เป็นชาวจังหวัดชลบุรีที่เว้าไทย (พูดภาษากลาง) แรก ๆ ก็เข้าใจกันยาก เพราะเข้าข่ายคำพูดที่ว่า “ไทยบ่จั๊กซาว ลาวบ่จั๊กยี่สิบ”
เวลาพูดกัน ลูกเขยมักยํ้าถามเพื่อความเข้าใจและสื่อความหมายได้ถูกต้อง บางครั้งพ่อเฒ่าสีนวนก็ชักรำคาญ เนื่องจากบักตุ๊มันมักถามซํ้ายํ้าทวนจนแกขี้เกียจจะตอบ
ลำเพลินเชิญยิ้ม
แสดงสดวงดนตรีอีศานคลาสสิกหมาเก้าหาง ศิลปินรับเชิญ ดร.พรสวรรค์พรดอนก่อ (แม่ตอย) งานภูมินวัตวิถีของดีกาฬสินธุ์ ณ หอประชุมศิลปวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 14 กรกฎาคม 2561
ภาพที่วาดไม่เสร็จ
ภาพของข้า, ทาสีดำทับท้องฟ้า ทับทะเลเหมือนคาดตา, ให้หลับใหล
ตัดเส้นขอบฟ้า, กรีดเส้นขอบน้ำ ให้ความมืดร่ายรำ, ไปตามใจ ทาสีดำทับทุ่งนา, ท้องถนน ทับหมู่บ้าน, ตำบล, ทับต้นไม้ ทับอำเภอ, ทับเมือง, ทับประเทศ ทับไปทั่ว อาณาเขต, ทุกเคลื่อนไหว ไม่มีสีแสงให้แรงเงา ความมืดเล่าความเขลา, ให้เข้าใจ
เมื่อม้ากัณฐกะไม่ได้มีสีขาวปลอดและม้าเฝ้าอุรังคธาตุน่ะมีสี
ม้าและมนุษย์มีความผูกพันกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในวรรณกรรมต่าง ๆ ม้ายังเป็นตัวละครที่ช่วยเสริมอรรถรสด้วย เห็นในแต่ละเรื่องมีอภินิหารเป็นสุดยอดอาชาที่เก่งกล้าสามารถ แต่ก็ใช่ผู้แต่งจะเขียนบรรยายลักษณะกันเรื่อยเปื่อยนะ เชื่อไหมว่าเขามีการอ้างอิงตำราไม่ต่างจากนักเขียนนิยายสมัยใหม่เลยเชียว ตำราที่ว่านั่นคือ “ตำราม้าของเก่า” และ “ตำราม้าคำโคลง”
ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 9
วันหนึ่ง, เมื่อคณะของหลวงสากลกิจฯเสร็จการตรวจตราการทำแผนที่แล้วเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ แต่ฉันยังมีคำสั่งให้ช่วยพระยอดเมืองขวางทางด้านนี้อยู่ หมื่นประจักษ์สนิทนึกก็ชักชวนฉันขึ้นท่าที่เมืองนครพนม
“ผมรู้ว่าท่านห่างบ้านห่างครอบครัวมานานชวนไปแสวงหาความสำราญคงไม่ว่าอะไร?”
“จะว่าอะไรได้” ฉันบอก “นั่งดื่มเหล้าเว้าความลาวแล้วเมาหลับไป ทำกันอยู่บ่อย ๆ”
“หามิได้ขอรับ บริวารผมที่นครพนมมีความสำราญอย่างใหม่”
“บอกได้มั้ย ว่าความสำราญนั้นเป็นอย่างใด?”
“ท่านต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวท่านเองขอรับ”