ก่อนเป็น “อีสาน” และเจ้าแก้วมงคลสร้างเมืองทุ่ง (๑)
หากนับย้อนไปในอดีตนั้นไม่ว่าผู้คนจากฝั่งซ้ายหรือลาวขวาแม่น้ำโขง ก็มีพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานร่วมกัน กล่าวคือ มีวิวัฒนาการทางสังคมการเมืองมาจากแหล่งเดียวกัน นั้นก็คือ “อาณาจักรล้านช้าง” อาณาจักรดังกล่าวได้สถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ทวีศักดิ์ ไชยโกฏิ ผู้ได้แรงบันดาลใจจากความทรงจำ
แรงบันดาลใจจากความทรงจำ ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบอีสาน มีความเรียบง่าย ความสุข ยังคงเหลือไออุ่นให้เกิดความคิดถึง ผู้สร้างสรรค์จึงถ่ายทอดผลงานจิตรกรรมสีน้ำบนกระดาษ เพื่อเป็นการบันทึกความทรงจำ
ฮีตเดือนยี่
คำว่า “คูนลาน” หมายถึง นำข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้นบนลานนวดข้าว หรือเป็นการคูนข้าวที่ชาวนาทำนาได้ผลดีจนได้ข้าวกองใหญ่ ซึ่งชาวนาได้ใช้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ โดยมีข้าวที่นวดเสร็จแล้วกองไว้ในลานข้าว การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า “บุญคูนลาน” บุญนี้อยู่ในช่วงเดือนยี่จึงเรียกว่า “บุญเดือนยี่” เป็นการทำบุญขวัญข้าวเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ
หมอลำ และวาดลำ
หมอลำ หมายถึงผู้มีความเชี่ยวชาญในการลำ จนสามารถใช้ศิลปะการลำเป็นอาชีพสำหรับทำมาหากินเลี้ยงตนเองได้ วาดลำ หมายถึงลำนำหรือทำนองลำ ซึ่งเกิดจากฉันทลักษณ์และเสียงสูงต่ำ สั้นยาว ของถ้อยคำที่ประกอบขึ้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า กลอนลำ
คุณหมอณัฐวุฒิ มาสาซ้าย นายแพทย์ผู้ใฝ่รู้ประวัติศาสตร์และเทใจให้บ้านเกิด
"ตอนนี้พวกผมก็อยู่ในทีมงานขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สะดืออีสานเราอยากที่จะให้อัตลักษณ์ท้องถิ่นเรา ซึ่งมันไม่ได้เป็นเรื่องที่อลังการหรือเลิศหรูอะไร แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นวิถีชีวิต เป็นไลฟ์สไตล์ของเรา อยากนำเสนอสู่สากล วิถีชีวิตแบบเรา ทำแบบง่าย ๆ เรียบ ๆ แต่มันแฝงไปด้วยปรัชญาและแนวคิด อันนี้คือในเรื่องของวิถีชีวิต แล้วก็สิ่งปลูกสร้างที่เป็นโบราณสถานวัตถุ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ใหญ่โตอลังการมาก แต่มันมาจากศรัทธา ความเชื่อของผู้คน ..."
เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๓ –
เมื่อพ.ศ.๒๓๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง เจ้าหมาน้อย บุตรเจ้าราชวงศ์ (สุริโย) หลานเจ้าสร้อยศรีสมุทฯ เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้ เจ้าธรรมกิติกา บุตรอุปฮาด (ธรรมเทโว) เป็นเจ้าอุปฮาดรักษาเมืองนครจำปาศักดิ์ต่อไป ครั้นอยู่มาเจ้าหมาน้อยกับเจ้าอุปฮาด (ธรรมกิติกา) วิวาทกัน คุมกันลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โปรดเกล้าฯให้แยกเจ้าอุปฮาด (ธรรมกิติกา) ไว้เสียที่กรุงเทพฯ ให้เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) กลับไปครองเมืองตามเดิม