คำฉันท์ (4) วรรณลีลามรดกชาติ

20150723163158LvQb

คำฉันท์ (๔)  
วรรณลีลามรดกชาติ
ทองแถม นาถจำนง

ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ.๑๗๐๓ เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทย

เมื่อคัมภีร์วุตโตทัยแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย กวีจึงได้ปรับปรุงให้เหมาะกับขนบร้อยกรองไทย เช่น จัดวรรค เพิ่มสัมผัส และเปลี่ยนลักษณะครุ-ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไป

เดิมทีกวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นฉันท์ภาษาไทยครบทั้ง ๑๐๘ ชนิด ต่อมานายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่ มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรส ทำไว้ ๕๐ ชนิด เพิ่มขึ้นอีก ๕๐ ชนิด รวมเป็น ๑๐๐ ฉันท์ เมื่อรวมเข้ากับ ฉันท์มาตราพฤติ อีก ๘ ชนิด ก็รวมเป็น ๑๐๘ ครบถ้วน และจัดพิมพ์รวมเล่มทั้งหมดในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ใช้ชื่อว่า ฉันทศาสตร์

มาถึงปัจจุบันนี้ ตำราเกี่ยวกับ “คำฉันท์” ที่ดีเยี่ยมอีกเล่มหนึ่งคือ เรื่อง “ฉันทศาสตร์ไทย” ของ ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร ซึ่งนอกจากให้ความรู้เกี่ยวกับฉันท์ในวรรณคดีไทยภาคกลางแล้ว ยังได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับคำฉันท์ในวรรณคดีไว้มากมายด้วย

กวีอยุธยาพัฒนารูปแบบฉันท์อินเดียมาเป็นแบบไทย ซึ่งคงประยุกต์มาจาก คัมภีร์วุตโตทัย ดังปรากฏในจินดามณีของพระโหราธิบดี รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

คำฉันท์ยุคแรกในสมัยอยุธยานั้น อ่านค่อนข้างยาก นอกจากคำบาลีแล้ว ยังมีคำศัพท์แขมร์เป็นจำนวนมาก

อย่างเช่นตอนบรรยายช้างป่าว่า

๏ ทุยทำพำลาพาหล สิงคาลคนชน
กันโลมระลมสังไก

พลุกแบงบังกินจรรไร ทมพลุกทิพาไศรย
กำพษกำโบลโยนยัศ

ประพลุกสุครีพแลคัด ธรณีบังบัด
ทั้งนาคพันธ์พินาย

ลันดาษยุรยักษ์บรรลาย ซุกซอนพรัยพราย
บิเดาะกันเอาะพลุกหนี ฯ

อ่าน: คำฉันท์ (1) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์
อ่าน: คำฉันท์ (3) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (5) วรรณลีลามรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (6) วรรณลีลามรดกชาติ ครุ ลหุ
อ่าน: คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก
อ่าน: คำฉันท์ (8) วรรณลีลามรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (9) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 1
อ่าน: คำฉันท์ (10) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 2
อ่าน: คำฉันท์ (11) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 3
อ่าน: คำฉันท์ (12) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง (จบ)
อ่าน: คำฉันท์ (13) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 1
อ่าน: คำฉันท์ (14) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 2
อ่าน: คำฉันท์ (15) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 3
อ่าน: คำฉันท์ (16) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 4
อ่าน: คำฉันท์ (17) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 5
อ่าน: คำฉันท์ (18) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 6
อ่าน: คำฉันท์ (19) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 7
อ่าน: คำฉันท์ (20) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 8
อ่าน: คำฉันท์ (21) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 9
อ่าน: คำฉันท์ (22) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 10
อ่าน: คำฉันท์ (23) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 11
อ่าน: คำฉันท์ (24) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 12
อ่าน: คำฉันท์ (25) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 13
อ่าน: คำฉันท์ (26) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 14
อ่าน: คำฉันท์ (25) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 13
อ่าน: คำฉันท์ (26) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 14
อ่าน: คำฉันท์ (27) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 15
อ่าน: คำฉันท์ (28) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 16
อ่าน: คำฉันท์ (29) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 17
อ่าน: คำฉันท์ (30) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 18
อ่าน: คำฉันท์ (31) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 19
อ่าน: คำฉันท์ (32) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 20
อ่าน: คำฉันท์ (33) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 21
อ่าน: คำฉันท์ (34) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 22
อ่าน: คำฉันท์ (35) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 23
อ่าน: คำฉันท์ (36) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 24
อ่าน: คำฉันท์ (37) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 25
อ่าน: คำฉันท์ (38) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 26
อ่าน: คำฉันท์ (39) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 27
อ่าน: คำฉันท์ (40) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 28
อ่าน: คำฉันท์ (41) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 29
อ่าน: คำฉันท์ (42) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 30
อ่าน: คำฉันท์ (43) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 31
อ่าน: คำฉันท์ (44) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 32

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com