จาก “หมา” สู่ “สิงมอม” ?
ภาพหมาหิน แถบเหลยโจว จากบทความเรื่อง 雷州石狗
Every Tay house in Lang Son has a stone dog at the gate. The Tay believe the stone dog will help the owners take care of the house and chase away bad luck. Vy Van Co of Loc Binh, Lang Son province, said: “Our ancestors told us that if the house is built on hard soil or if the house faces a bad direction, a brook, a lane, or a hill, we should place a stone dog at the gate to protect the house and its contents, preserve peace, and promote production. The stone dog will inform our ancestors of any evil coming to our house.”
Tay’s culture and belief Monday, January 05, 2015 – 17:24:25 จาก http://vovworld.vn/en-US/Colorful-VietnamVietnams-54-ethnic-groups/Taysculture-and-belief/300962.vov
ภาพเขียนบนหน้าผาริมแม่นํ้าในกวางสี (ขอบคุณภาพจาก http://www.sujitwongthes.com/2012/03/ weekly09032555/)
การบูชาหมาในยุคดึกดำบรรพ์
คติความเชื่อของชนในตระกูลภาษาไท กะได เกี่ยวกับ “ข้าว” เชื่อกันว่า “หมา” (สุนัข) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์
ชาวจ้วง (ในกวางสี) มีนิทานเรื่อง “หมาเก้าหาง” เล่าว่า หมาเก้าหางไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก “ตัวฟ้า” (โตเปี๊ยะ ในภาษาจ้วง) “ตัวฟ้า” ใช้อาวุธ (สายฟ้าผ่า) ขว้างใส่หมาเก้าหาง สายฟ้าผ่าตัดหางหมาไปแปดหาง แต่หมาเก้าหางรอดชีวิต นำพันธุ์ข้าวที่ติดมากับหาง (ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งหาง) มาให้มนุษย์ มนุษย์จึงปลูกข้าวกินได้
หลักฐานการบูชาหมาในภาพเขียนบนหน้าผาริมแม่นํ้าในกวางสี เป็นภาพการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงก่อนทำนา ส่วนประกอบของภาพที่ขาดไม่ได้คือ “หมอผี” เหน็บกระบี่, กลองสำริด (มโหระทึก), หมา, ผู้คนในท่าหมอบไหว้
ความสำคัญของหมา คงจะเกี่ยวพันกับการปลูกข้าว (หมานำพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ และอาจเกี่ยวกับฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ด้วย)
ในหมู่บ้านบางแห่งของชาวจ้วงในกวางสี ยังนิยมตั้ง “หมาหิน” ไว้หน้าหมู่บ้าน หรือหน้าเรือนและมีมากเป็นพิเศษในคาบสมุทรเหลยโจว (ตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นถิ่นฐานของชนตระกูลภาษาไท กะได มาก่อน) ที่สำคัญคือกลุ่มชาว Tay ไต่ ในจังหวัดลางเซิน เวียดนามภาคเหนือ ก็จะมี “หมาหิน” ตั้งไว้หน้าบ้านทุกบ้าน
จาก “หมา” เปลี่ยนเป็นสัตว์ผสม
การเปลี่ยนแปลงรูปสัตว์ที่เคารพนับถือของทุกชาติพันธุ์ มีการเปลี่ยนแปลงตามระดับพัฒนาการทางสังคม เช่น รูป “หลง – มังกรจีน” มีลักษณะผสมระหว่างสัตว์หกชนิด นักวิชาการชาวจีนสันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมสัญลักษณ์ / โทเทม Totem ของหลายเผ่ากลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หัวเซี่ย (จีนดั้งเดิมแถบลุ่มแม่นํ้าหวงเหอ)
การเปลี่ยนแปลงรูปเคารพจาก “หมา” เป็นสัตว์ที่มีลักษณะผสมผสาน ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงมาในระยะสองพันปี จนกระทั่งกลุ่มชนเผ่าไทที่ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เปลี่ยน “มอม” เป็น “สิงมอม” – สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีลักษณะผสมระหว่าง หมา-เสือ-สิงห์-แมว-ค่าง ซึ่งมีฤทธิ์เดชมาก
ลายสักสิงมอม (ที่เหนือหัวเข่าของผู้ชาย) เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทใหญ่, ลาวล้านนา, ลาวอีสาน (ช่างสักในอีสานมักสืบเชื้อสายจากคนไทใหญ่หรือกุลา)
ลายผ้าทอ “สิงมอม” ก็ยังแพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวลื้อ, ไทแดง, ไทใหญ่
“ลายสิงมอม” มีความหมายมาก ดังโคลง “ท้าวฮุ่งขุนเจื๋อง” บรรยายว่า ขุนเจื๋องสวมเสื้อลายสิงมอมออกทำสงคราม
“แต่นั้นท้าวคาดผ้า ผืนดาย ดอกเครือ ของแพงมวลแม่เมือง ประสงค์ให้ลายเจือเกี้ยวสิงห์มอม เมียงม่ายทรงอยู่เค้าดูเข้ม คาบเหลียว”
สิงมอมหน้าวัดเชียงทอง (ภาพโดย ทองแถม นาถจำนง)ลายสักสิงมอม (ขอบคุณภาพจาก http://www.isan.clubs. chula.ac.th/simboard/post_view.php?room_ no=0&id_main=351&star=20)
“มอม” ถูกลากเข้าเป็นวัฒนธรรมพราหมณ์-พุทธ
หลังจากวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามายังสุวรรณภูมิ “พุทธ-พราหมณ์” ก็เอาชนะผี วัฒนธรรม“เงือก” (ดั้งเดิม) ก็กลายเป็น “นาค” วัฒนธรรม “มอม” ก็กลายเป็น “สิงห์”
แต่ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ยังคงอยู่ เช่น เป็นผู้รักษาพุทธสถาน เป็นลายสักศักดิ์สิทธิ์ป้องกันตัว
ในล้านนา “มอม” ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัตว์พาหนะของ “ปัชชุนนะเทวบุตร” ผู้ให้ฝน (พระพิรุณผู้ให้ฝน) ทรงมกร (มะ – กะ – ระ ซึ่งเทวรูปเก่าแก่นั้นทำเป็นรูปจระเข้) ในสายพุทธมีการอ้างอิง “มัจฉาชาดก” เป็นต้น
เมื่อฝนแล้งจึงทำพิธีแห่ “สิงมอม” ขอฝน
ความเชื่อล้านนานี้แพร่กระจายไปถึง พิษณุโลก, บ้านคูบัว ราชบุรี ฯลฯ (ตามการเคลื่อนย้ายของชาวล้านนา)
ทุกวันนี้องค์ความรู้เรื่อง “ตัวมอม” กำลังจะสูญสิ้นไป วงวิชาการก็ยังขาดผู้รู้มีความเข้าใจผิดกันมาก
“ตัวมอม” จึงยังเป็นปริศนาประเด็นใหญ่เรื่องหนึ่ง…
ปัชชุนนะเทวบุตร บนสิงห์มอม ภาพปูนปั้นวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ภาพนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายมาก แต่รูปสัตว์พาหนะ มักกลายเป็นตัวสิงห์ไปหมดตัวนี้ มีหางเป็นปลา มันคือ “เหรา” ไม่ใช่ตัวมอม