Day

มกราคม 28, 2020

เชิญร่วมงานใหญ่ประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร งานมหกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้าน มูนมังอีสาน ครั้งที่ ๑๑

“ข้าว - ปลา - ป่า - เกลือ” ระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ชมนิทรรศการ ฟังเสวนา ทัศนาการแสดงหลากหลาย ซื้อผลิตภัณฑ์และอาหารจากชุมชน ฯลฯ เฉพาะวันศุกร์ ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓ เชิญร่วมงานมอบรางวัล “ศิลปินภูพาน" และชมการแสดงของอ”หมาเก้าหาง"

[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ

ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด

คำผญา (๑๘)

“ความตายนี่แขวนคอทุกบาดย่าง ไผก็แขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว” ความตายนี้แขวนคอทุกย่างก้าว ใครก็แขวนไว้เสมอว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

จาก “หมา” สู่ “สิงมอม” ?

คติความเชื่อของชนในตระกูลภาษาไท กะได เกี่ยวกับ “ข้าว” เชื่อกันว่า “หมา” (สุนัข) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วง (ในกวางสี) มีนิทานเรื่อง “หมาเก้าหาง” เล่าว่า หมาเก้าหางไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก “ตัวฟ้า” (โตเปี๊ยะ ในภาษาจ้วง) “ตัวฟ้า” ใช้อาวุธ (สายฟ้าผ่า) ขว้างใส่หมาเก้าหาง สายฟ้าผ่าตัดหางหมาไปแปดหาง แต่หมาเก้าหางรอดชีวิต นำพันธุ์ข้าวที่ติดมากับหาง (ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งหาง) มาให้มนุษย์ มนุษย์จึงปลูกข้าวกินได้
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com