อนเตียสเรย หรือบันทายสรี เป็นปราสาทหินในกัมพูชา ที่ได้รับสมญานามว่าเป็น รัตนชาติที่แท้ของศิลปะเขมร (The True Gem of Khmer Architecture) เพราะเป็นปราสาทหลังเล็กๆ แต่จำหลักลายวิจิตรตระการตา จัดเป็นงานประติมากรรมแบบ “นูนสูง” คือคว้านหินลงไปลึกถึง ๒ องคุลี หรือ ๒ ข้อนิ้ว กระทั่งลวดลายพรรณพฤกษาแทบจะพลิ้วไหวได้ในยามต้องลมแรง

อีกทั้งเรื่องราวที่แกะสลักเป็น “เทพปกรณัม” หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทพเจ้าฮินดูในฉากที่หาชมที่อื่นได้ยาก อาทิ ฉากนรสิงหาวตาร (พระนารายณ์อวตารเป็น “นรสิงห์” กำลังใช้กรงเล็บฉีกร่างของอสูรร้ายตนหนึ่ง) หรือฉาก “คช

ลักษมี” เป็นภาพช้างสองเชือกชูงวงที่จับคนโทน้ำราดรดลงมายังเทพสตรีที่ประทับนั่งด้านล่าง คือพระนางลักษมี – เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ พระนางถือกำเนิดขึ้นจากมหกรรมกวนเกษียรสมุทร หรือการทำให้ทะเลน้ำนมกระเพื่อม เพื่อเทวดาจะได้น้ำอมฤตมาดื่มกินให้ชีวิตเป็นอมตะแต่ก่อนจะได้น้ำอมฤต มีเทวีรูปงามประทับนั่งเหนือดอกบัว ผุดขึ้นมาจากทะเลน้ำนม ความงามของนางตราตรึงใจพระนารายณ์ยิ่งนัก จึงอัญเชิญนางมาเป็นเทวีอยู่เคียงข้าง ดังนั้น “คชลักษมี” จึงเล่าฉากชำระล้างร่างกาย ก่อนนำลักษมีเทวีเข้าพิธีสยุมพร (แต่งงาน) กับพระนารายณ์

คตินิยมในการประดับภาพนี้ไว้ที่เหนือประตูทางเข้าเทวสถาน ก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์อำนวยอวยพรให้ผู้แสวงบุญเดินผ่านได้รับพร คือ ความมั่งมูนมั่งมีและโชคดีมีชัยนั่นเอง

คชลักษมีที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่

คชลักษมีที่บันทายสรี

ผมอาจไปเที่ยวชมปราสาทหินในกัมพูชายังไม่ครบทุกปราสาท แต่เท่าที่ได้ประจักษ์ตาปราสาท    สำคัญ ๆ มาแล้วหลายแห่ง ก็เห็น “บันทายสรี” แห่งเดียวที่มีภาพ “คชลักษมี” หรือ “สยุมพรเทวี”

แล้ววันหนึ่ง เมื่อผมได้ไปเยือนปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ ผมตื่นเต้น เมื่อเห็นภาพ “คชลักษมี” ปรากฏที่ทับหลังเหนือประตูทางเข้าบรรณาลัยฝั่งทิศใต้แน่นอนว่า ฝีไม้ลายมือ หรือความเนี๊ยบเทียบไม่

ติดบันทายสรี เพราะเป็นฝีมือช่างพื้นถิ่น แต่ดูองค์ประกอบและความตั้งใจแล้ว ถ้าได้หินทรายชั้นดีสีชมพูมาแกะสลัก ไม่แน่ว่าอาจจะไม่ห่างชั้นจากภาพ “สยุมพรเทวี” ที่บันทายศรีมากนัก

ที่สำคัญ ผมนึกไม่ถึงว่าปราสาทของชุมชนท้องถิ่น อย่าง “สระกำแพงใหญ่” ซึ่งมีพระนามจริงในศิลาจารึกว่า “ศรีพฤเธศร” จะมีภาพนี้ปรากฏ ทั้ง ๆ ที่ความจริง “ศรีพฤเธศร” เป็นพระนามที่ยกย่องสรรเสริญพระอิศวร หรือพระ

ศิวะ และ “ศรีพฤเธศร” ก็เป็นเทวสถานฮินดูลัทธิไศวะนิกาย คือสร้างถวายพระศิวะในฐานะมหาเทพ หรือประมุขเทพ แต่ก็เทิดทูนบูชาเทพองค์อื่นอย่างวิษณุเทพ หรือพระนารายณ์ด้วย จึงมีทั้งภาพ “คชลักษมี” และ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” ปรากฏให้เห็น

ด้วยเหตุนี้ ใครบอกว่าถ้าได้ไปดูปราสาทหินในกัมพูชาแล้ว ก็ไม่ต้องไปดูปราสาทหินที่ไหนอีก ก็อย่าหลงเชื่อทีเดียวครับ

 ภาพนรสิงหาวตาร

 ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือศรีพฤเธศวร

ปราสาทบันทายสรีในกัมพูชา

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com