ต่อมาในยุคชุนชิว  แคว้นฉู่เริ่มมีกำลังเข้มแข็งขึ้น    ผลักดันให้เขตแดนของ ปาก๊ก  ต้องเลื่อนถอยไปทางทิศะวันตกเรื่อย ๆ  หนังสือ “ฮัวหยางกั๋วจื้อ”  บรรพ “ปาก๊ก” 。《华阳国志·巴志》 บันทึกว่า  “ปา กับ  ฉู่ ทำสงครามกันหลายครั้ง”

”ปาจื่อ (เจ้าก๊กปา)โกรธ  จึงไปตีก๊กเติ้ง 邓 แต่พ่ายแพ้   ต่อมากองทัพปา กองทัพฉู่ ไปโจมตีก๊กเซิน  ฉู่จื่อ (เจ้าก๊กฉู่)กลัวกองทัพปา  หลู่จวงกง รัชศกที่ ๑๘  ปาโจมตีฉู่  ได้รับชัยชนะ”

“หลู่เหวินกง  รัชศกที่ ๑๖ ปา ร่วมกับ ฉิน และ ฉู่ รวมกันทำลายล้าง (ก๊ก) ยง 庸”

“ หลู่อายกง รัชศกที่ ๑๘  ปา โจมตี ฉู่  แต่พ่ายแพ้ ที่ (เมือง) อิว鄾 (อยู่ห่างเมืองเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ๖ กม.)  ” 

บันทึก “จั่วจ้วน หวนกง รัชศกที่ ๙”《左传·桓公九年》บันทึกว่า “หลังจากรัชกาล เหวิน  รัชศกที่ ๑๖ (๖๑๑ BC.). (ชื่อ) ปา หายไปไม่ค่อยเห็น  คงถูก ฉู่ทำลายไป”    

        ในที่สุดก๊กฉู่ก็สามารถแย่งชิงแหล่งเศรษฐกิจผลิตเกลือ ของก๊กปาไปได้สำเร็จ   แหล่งผลิตเกลือนั้นอยู่แถบ  อูซี巫溪 และ ชิงเจียง  清江   บีบบังคับให้ก๊กปาต้องย้ายราชธานีขึ้นไปตามลำน้ำทางทิศตะวันตก (คือกลับไปอยู่แถบ ฉงชิ่ง)

                มาถึงยุคจ้านกั๋ว “ฮัวหยางกั๋วจื้อ”  บรรพ “ปาก๊ก” 。《华阳国志·巴志》 บันทึกว่า   “เจ้าก๊กทั้งเจ็ด  ตั้งตัวเป็น อ๋อง   (ก๊ก) ปา ก็ตั้งตัวเป็นอ๋องบ้าง”

         มีพรมแดน “ทางตะวันออกถึงเมื่อง อฺวี๋ฟู่ 鱼复(ปัจจุบันคือเมือง เฟิ่งเจี๋ย 奉节)

   ทางตะวันตกถึงป๋อเต้า僰道 (ปัจจุบันคือเมือง อี๋ปิน宜宾)   ทางเหนือถึง ฮั่นจง 汉中  ทางใต้ถึงเฉียนฟู 黔涪 “

         “ก๊กปา  ยังคงมีมีอาณาเขตกว้างใหญ่   ทัดเทียมกับก๊กใหญ่ทั้งเจ็ด”

ด้านล่างจากขวาไปซ้าย ก๊กเยวี่ย 越 (สีฟ้า), ก๊กฉู่ 楚 (สีปูนแห้ง), ก๊กปา 巴 (สีม่วงน้ำเงิน), ก๊กสู่ 蜀 (สีม่วงแดง)

                 ก๊กปา ล่มสลาย

       บันทึก “ฮัวหยางกั๋วจื้อ” บรรพ ก๊กปา  华阳国志·巴志  บันทึกว่า  “ ฉินหุ้ยเหวินอ๋อง

 มีสัมพันธ์อันดีกับ (ก๊ก)ปา (ก๊ก)สู่  น้องชายของอ๋องแห่ง(ก๊ก)สู่ คือ “เปาโหว” 苴侯 สนิทสนมกับ (ก๊ก) ปา   (ก๊ก)ปากับ(ก๊ก)สู่ ทำสงครามกันมาหลายรุ่น   รัชสมัยของ โจวเสิ้นจิ้ง 周慎靚 ปีที่ ๑๕ สู่อ๋อง โจมตี เปาโหว  เปาโหวหลบหนีไปก๊กปา  ปาขอความช่วยเหลือจากก๊กฉิน  ฉินหุ้ยอ๋อง  ให้แม่ทัพจางอี้ และแม่ทัพซือหม่าฉั้ว ช่วย  เปา และ ปา  โดยโจมตีทำลาย (ก๊ก) สู่    จางอี้ละโมภความมั่งคั่งของ ปา , เปา  จึงนำอ๋อง (ของปา) กลับไป (อยู่ก๊กฉิน)   ตั้งเป็นจังหวัด (จวิ้น) ปา , สู่ และ ฮั่นจง  แบ่งเป็นสี่สิบเอ็ดอำเภอ  จางอี้ได้กินเมืองเจียงโจว  ซือหม่าฉั้วปกครองพื้นที่จาก ผูสุ่ย 涪水 (ก๊ก) ปา  ไปถึง ซางอฺวี่ 商于(ชายแดน) ฉู่   ตั้งเป็นจังหวัดชื่อ เฉียนจง  黔中”

         ๓๑๖ BC. เจ้าก๊กปา ขอความช่วยเหลือจากก๊กฉิน   เจ้าก๊กฉิน – ฉินหุ้ยหวาง สั่งให้แม่ทัพ จางอี้     และซือหม่าฉั้ว ยกกองทัพบุกลงใต้ทำลายก๊กสู่    แล้วฉวยโอกาสรุกต่อไปทางตะวันออก  ทำลายก๊กปาไปเสียด้วย  ตั้งเมืองเจียงโจวเป็นเมืองเอกของจังหวัดปา   (ก๊กปา)กลายเป็นจังหวัดหนึ่งใน ๓๖ จังหวัดสมัยฉินสื่อหวง (จิ๋นซีฮ่องเต้)

โลงศพรูปเรือของชาวปา พบในเมืองฉงชิ่ง

ตัวอักษรโบราณของชาวปา จารึกบนอาวุธของชาวปา ภาพจากหนังสือ 民族考古学基础 “พื้นฐานวิชาโบราณคดี ชาติพันธุ์” สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชาติพันธุ์วิทยาศูนย์กลาง 中央民族大学出版社 1999

                  ชาวปาหรือชนเผ่าปาโบราณ

       ชาวปาตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในพื้นที่ ภาคตะวันออกของมณฑลเสฉวน และภาคตะวันตกของมณฑลหูเป่ย    ตำนานเล่ากันว่า  ยุคก่อนราชวงศ์โจวเคยตั้งถิ่นฐานบริเวณทางใต้ของมณฑลกานซูในปัจจุบันมาก่อน จากนั้นเคลื่อนย้ายลงมาแถบ ภูเขา จงหลีซาน 钟离山 เมืองอู่ลั่ว武落  (ปัจจุบันคือ เมืองฉางหยาง อยู่ทางทิศตันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูเป่ย)  มีประมุขชื่อ  หลิน 廪  เดิมประกอบด้วยห้า (เผ่า) แซ่ใหญ่  ได้แก่     ปา , พัน , เสิ่น ,  เซียง , เจิ้ง 巴、樊、瞫、相、郑  

       หลังจากที่ก๊กฉินทำลายก๊กปาลงแล้ว   ชาวปา สาขาหนึ่ง อพยพไปอยู่ทางภาคตะวันออกของหูเป่ย  ในสมัยตงฮั่น เรียกกันว่า เจียงเซี่ยหมาน江夏蛮   ในสมัยราชวงศ์ซีจิ้น และยุคหนาน-เป่ย เรียกกันว่า อู๋สุ่ยหมาน 五水蛮

       ชาวปาอีกสาขาหนึ่งอพยพไปทางตะวันตกของหูหนาน  เข้าร่วมเป้นส่วนหนึ่งของพวก “อู่หลิงหมาน” 武陵蛮  

       ชาวปาส่วนที่คงอยู่ในเสฉวน  ส่วนหนึ่งเรียกกันว่า ป่านสุ้นหมาน 板楯蛮  ต่อมาในยุค หนาน-เป่ย เนื่องจากมีการอพยพลงใต้ของชาวฮั่นเป็นจำนวนมาก  จึงถูกผสมกลมกลืนกลายเป็นชาวฮั่นไป  

ชาวปา นับถือเสือ เป็นโทเทม totem  (หน้าพิพิธภัณฑ์ชาวปา  ในนครฉงชิ่ง)

ประติมากรรมสำริด รูปพญาหงส์ ของชาวปา

หน้ากากสำริด วัฒนธรรมก๊กปา ตั้งแสดงที่พิพธภัณฑ์สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้   กว้าง ๑๖.๓ ซม.  สูง ๑๖.๒ ซม.   ภาพจาก  http://cul.sanqin.com/2016/1018/249957.shtml

        พวก “ชาวฉง” 賨人 เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของพวก ป่านสุ้นหมาน  เป็นชนพื้นถิ่นส่วนหนึ่งของเสฉวนภาคตะวันออก   มีศูนย์กลางอยู่แถบอำเภอ ฉฺวีเสี้ยน 渠县 ในปัจจุบัน   เหตุที่เรียกกันว่า “ป่านสุ้นหมาน”  เพราะ”ชาวฉง” ใช้ “โล่ไม้板楯” แบบหนึ่งเป็นอาวุธ (แต่ “ทองแถม นาถจำนง” เสนอว่า板楯  อาจจะหมายถึง “ฟากสับ” ทำจากไม้ไผ่สำหรับปูพื้นบ้าน  ก็เป็นได้)  ส่วนคำว่า ฉง 賨 อาจจะมาจากชื่อเงินตรา “岁出賨钱” ของชนกลุ่มนี้

      ชาวป่านสุ้นหมาน  มีเจ็ดเผ่า (แซ่ตระกูล)  คือโคตรตระกูล  หลู (หรือ) หลัว卢(或作罗 ,  ผู่ (หรือ)  หู 朴(或作胡) , ต๋า (หรือ) จ่าน 沓(音dá。或作昝), เอ๋อ鄂 ,   ตู้  度(或作杜)、ซี 夕,   กง 龚  เป็นต้น รวมกันเป็น “ก๊กฉง” 賨国

        ชาวป่านสุ้นหมานอาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำเจียหลิงเจียง嘉陵江  และแม่น้ำ ฉวีเจียง 渠江ทางตอนเหนือถึงภาคตะวันออกของ ฮั่นจง   ทางตะวันออกถึงสามโตรก 三峡 แม่น้ำแยงซี ครอบคลุมทั่วภาคตะวันออกของเสฉวน   นับเป็นชนเผ่าในก๊กปาที่มีการกระจายตัวกว้างขวางที่สุด  

      ชาวปาโบราณนอกจากห้าวหาญทรหดในการทำศึกสงคราม  จนถูกขนานนามว่า “ทหารเทวดา” แล้ว  ยังนิยมร้องรำทำเพลงอีกด้วย     พวกชาวปานอกจากต้องดิ้นรนสร้างความเจริญในการดำรงชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่ยากลำบากแถบเทือกเขาต้าปาซานและ ฉินหลิ่งแล้ว  ยังต้องทำสงครามไม่ขาดสายกับเผ่าใหญ่ที่เข้มแข็ง  เช่น  ซาง , โจว . ฉู่ , ฉิน    แต่พวกเขาก็ต่อสู้ฝ่าฟันพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกของเสฉวนให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นได้

      นับตั้งแต่ก๊กฉินทำลายก๊กปา เมื่อ ปี ๓๑๖ BC. มาจนถึงยุคราชวงศ์ชิง  ในภาคตะวันออกของเสฉวนเคยมีผู้คนอพยพครั้งใหญ่เข้ามารวมห้าครั้ง  เนื่องจากสาเหตุ  การสงคราม , โรคระบาด และภัยธรรมชาติ   อีกทั้งภาคตะวันออกของเสฉวนเองก็เคยผ่านภัยพิบัติใหญ่แทบจะรกร้างไร้ผู้คน  ชาวฉงเองก็เกือบจะสูญสิ้นชาติพันธุ์มาแล้วด้วย   การอพยพเข้าสู่ภาคตะวันออกของเสฉวนห้าครั้งใหญ่ ๆ เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน , ราชวงศ์ซีจิ้น , ราชวงศ์เป่ยซ่ง , ช่วงปลายราชวงศ์หยวนกับต้นราชวงศ์หมิง  และในยุคราชวงศ์ชิง  การอพยพเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการผสมผสานระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองกับชาวจีนฮั่น และการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเสฉวนเป็นอย่างมากด้วย

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com