คอลัมน์: เบิ่งโลก
นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๒๗
ปีที่ ๓ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗
ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯและจีน
เกือบทุกประเทศใช้งบประมาณด้านการทหารเพิ่มขึ้นทุกปีตลอดมา ข้างต้นเป็นจำนวนเงิน (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ) งบประมาณด้านทหารของประเทศต่าง ๆ ในปี ๒๐๑๓ ประเทศในอาเซียนยังนับว่าใช้งบด้านทหารน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในทวีปอื่น
สหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณด้านการทหารสูงที่สุดในโลก
ในสายตาของนักการทหารสหรัฐฯมองว่า “จีน” พยายามขยายอิทธิพลทางการเมืองและการทหารด้วยยุทธศาสตร์ “สายสร้อยมุก” ดังแผนผังข้างต้น
– มีฐานทัพเรือในปากีสถาน (Gwadar)
– มีท่าเรือในลังกา (Hambantota)
– กำลังพัฒนาท่าเรือในบังคลาเทศ
– มีท่าเรือจิตตะกอง
– มีท่าเรือในเมียนมาร์ ๒ แห่ง
– ขุดคลองกระ
– มีการสำรวจนํ้ามันในทะเลจีนใต้
– มีสนามบินที่เกาะวู้ดดี้
– มีฐานทัพอากาศ ฐานทัพเรือในเกาะไหหลำ
สหรัฐฯจึงต้องพยายามสร้างแนวยุทธศาสตร์สกัดกั้นจีน เป้าหมายที่สหรัฐฯต้องการมากคือฐานทัพเรืออ่าวซูบิค และฐานทัพอากาศคลาค ในประเทศฟิลิปปินส์, ท่าเรืออ่าวคัมรันห์ ในประเทศเวียดนาม และฐานทัพอู่ตะเภา ในประเทศไทย
ภาพจากบทความเรื่อง In numbers : A fistful of dollars โดย Frederic Janssens เว็บ sea-globe.com วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๒
สำหรับอาเซียนโดยภาพรวมแล้ว งบประมาณด้านการทหาร ปี ๒๐๑๑ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๐๐๒ ร้อยละ ๔๑.๗ ถ้าจำแนกรายประเทศ ไทยก็เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๖ (ดูแผนผังด้านบน)