พิษจากโลหะตะกั่ว

songkhlatoday.com

พิษจากโลหะตะกั่ว
ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
ภาพจาก songkhlatoday.com

ตะกั่วเป็นโลหะอ่อน สีเทาเงินหรือแกมน้ำเงิน มีจุดหลอมเหลว 327 องศาเซลเซียส แต่ในการเชื่อมบัดกรี ใช้ผสมกับดีบุก ทำให้จุดหลอมเหลวลดลงเหลือ 200 องศาเซลเซียส พบได้ทั่วไปทั้งในดิน หิน น้ำ พืช และอากาศ โดยเฉลี่ยในหินจะมีตะกั่วอยู่ 13 มิลลิกรัมต่อหิน 1 กิโลกรัม (13 พีพีเอ็ม) เช่น ในหินอัคนีพบประมาณ 10 – 20 พีพีเอ็ม ในหินตะกอนพบประมาณ 10 – 70 พีพีเอ็ม แร่ที่มีตะกั่วผสมอยู่ได้แก่ แร่กาลีนา (Galena, Pbs) แร่เซอรัสไซท์ (Cerrussite, PbCO3) แร่อะไนลีไซท์ (Anylesite, PbSO4) ในดินพบคล้ายในหิน คือประมาณ 5 – 25 มิลลิกรัม ต่อดิน 1 กิโลกรัม (5-25 พีพีเอ็ม) ในน้ำ โดยเฉพาะน้ำบาดาล พบในอนุภาคขนาดเล็ก ประมาณ 1-60 พีพีเอ็ม ในทะเลสาบ และ แม่น้ำ พบประมาณ 1-10 พีพีเอ็ม แต่ในน้ำทะเลพบตะกั่วน้อยกว่าน้ำจืด โดยพบ 0.08 – 0.04 พีพีเอ็ม ในอากาศบริเวณห่างไกลชุมชนพบประมาณ 0.0006 ไมโครกรัม ต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)แต่บริเวณชุมชนพบมากถึง 0.001 ไมโครกรัมต่ออากาศ 1 ลบ.ม. ในพืชโดยทั่วไปพืชขนาดใหญ่ พบประมาณ 1.0 พีพีเอ็ม (ของเนื้อไม้แห้ง) ในพืชผัก พบประมาณ 0.1 – 1.0 พีพีเอ็ม (ของพืชแห้ง)

ผลิตผลของตะกั่ว

ประเทศที่ผลิตตะกั่วที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา ส่วนในประเทศไทยพบได้เล็กน้อยบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ผลิตผลของตะกั่วใช้มากในประเทศอุตสาหกรรม เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ใช้ในอุตสาหกรรมสี แบตเตอรี่ เป็นต้น

พิษของตะกั่ว

ในบรรดาโลหะในโลก ตะกั่ว เป็นโลหะที่มนุษย์สนใจ กับความเป็นพิษของมันมากที่สุด เนื่องจากการใช้ประโยชน์อย่างมากมาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม แบตเตอรี่รถยนต์ เรือดำน้ำ ใช้ตะกั่วเกือบร้อยละ 50 ของผลิตผลตะกั่วทั้งหมด และยังใช้ในรูปตะกั่วอินทรีย์ (Alkyl lead) เป็นสารเคมีที่ใช้ เติมในน้ำมันเบนซิน เพื่อป้องกันเครื่องยนต์เดินสะดุด แต่ปัจจุบันได้หันมาใช้สารชนิดอื่นทดแทน
ในอุตสาหกรรมสี และสารเคมี ใช้สารประกอบตะกั่วมาก เช่น สีแด ของตะกั่วออกไซด์ (Red lead) สีเหลือง จากตะกั่วโครเมต (Lead chromate) สีขาว จากตะกั่วคาร์บอเนต (Lead carbonate) และ ตะกั่วซัลเฟต (Lead sulfate) สารฆ่าแมลงจากตะกั่วอาร์เซนเนทใช้ผสมสีทาอาคาร ซึ่งสีที่มีตะกั่วเหล่านี้ อาจผสมในสีของเล่นสำหรับเด็ก สีวาดภาพ สีที่ใช้พิมพ์ในวารสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นสีซึ่งต้องสัมผัสเสมอในชีวิตประจำวัน ทำให้บุคคลที่สัมผัส มีโอกาสได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้สูง ประโยชน์ของตะกั่วมีมาก แต่ก็มีโทษมากเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการนำตะกั่วออกไซด์ าใช้เป็นเครื่องสำอางด้วย กองพิษวิทยา เคยตรวจพบแป้งโรยตัวเด็ก เป็นผงสีขาว และ สีแดงอ่อน มีตะกั่วปนอยู่ร้อยละ 74 ซึ่งอันตรายต่อเด็กมาก เนื่องจากผิวหนังเด็กดูดซึมตะกั่วได้ดีกว่าผู้ใหญ่

ตารางที่1 แสดงข้อมูลแสดงอาชีพที่บุคคลมีโอกาสได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย

ตารางที่1

*โอกาสที่บุคคลทั่วไปได้รับสารตะกั่วที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์ (Alkyl lead) แล้วยังได้รับจากอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตะกั่วเป็นโลหะที่ไม่จำเป็นในขบวนการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างโลหะอื่นๆ เช่น โซเดียม แคลเซียม หรือ เหล็ก จึงมีการกำหนดมาตราฐาน เพื่อป้องกันสารตะกั่วปนเปื้อนในอากาศ อาหาร และ น้ำ เพื่อความปลอดภัยขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งไทยด้วย

สำหรับบุคคลทั่วไป ตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้ ทางปากโดยรับประทานอาหาร และ น้ำดื่มที่ปนเปื้อนตะกั่ว ทางการหายใจ โดยเฉพาะจากไอเสียรถยนต์ ส่วนการดูดซึมทางผิวหนัง ส่วนมากเกิดกับ บุคคลที่มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับตะกั่วเป็นส่วนใหญ่ โดยตะกั่วอินทรีย์ ถูกดูดซึมเข้าผิวหนังได้ดี เคยมีการสำรวจดิน และฝุ่นบริเวณริมถนน ที่เป็นชุมชนหนาแน่น พบว่ามีปริมาณตะกั่วสูงถึง 7,500 พีพีเอ็ม ขณะที่ค่าเฉลี่ยของผิวดินโลกเพียง 5-25 พีพีเอ็ม

2. พิษเรื้อรัง (Chronic toxicity or poisoning)

พิษเรื้อรังของตะกั่ว คือ ค่อยๆแสดงอาการออกมา ภายหลังจากได้รับสารตะกั่วทีละน้อย เข้าสู่ของเหลว ในร่างกาย และ ค่อยๆสะสม ในร่างกาย จนถึงระยะเวลาหนึ่ง อาจนานเป็นปี จึงแสดงอาการ ส่วนมาก เกิดกับบุคคลที่มีอาชีพที่สัมผัสกับตะกั่ว ตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าทางใด จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ไปจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่เหล็ก (Fe+2) ซึ่งเป็นโลหะที่จำเป็น ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง (Anaemia) และมีผลให้ ปริมาณเหล็กในน้ำเหลือง เพิ่มขึ้นผิดปกติ ตะกั่วบางส่วน ไปสะสมในกระดูก ตะกั่ว (Pb+2) จะเข้าไปแทนที่ แคลเซียม (Ca+2) ซึ่งเป็นโลหะ ที่จำเป็นในการสร้างกระดูก และฟัน ทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุ และหักง่าย ถ้าไปสะสมที่รากฟัน ทำให้เห็นสีม่วง หรือสีดำบริเวณเหงือก บางครั้งเรียกว่า เส้นตะกั่ว (Lead line) ฟันหลุดได้ง่าย มีผู้วิจัย พบว่าตะกั่ว สามารถเกาะกับกระดูกในร่างกาย ได้นานถึง 32 ปี และยังสะสมในไขมัน ระบบประสาท สมอง ระบบน้ำเหลือง ตับ และไต อาการพิษเรื้อรังที่พบบ่อย คือ อาการของระบบย่อยอาหาร จะเกิดการปวดท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก อาการพิษทางประสาท และสมอง ทำให้ทรงตัวไม่อยู่ เกิดอาการประสาทหลอน ซึมไม่รู้สึกตัว ชัก มือและเท้าตก เป็นอัมพาต สลบ และอาจตายได้

การตรวจหาปริมาณตะกั่วในร่างกาย

การตรวจหาปริมารตะกั่วในร่างกาย ทำได้โดยตรวจหา ระดับตะกั่วใน เลือด และปัสสาวะ หรือ ตรวจปริมาณ delta-ALA และ Coproporphyrin ในปัสสาวะ โดยเทียบกับระดับมาตราฐานของบุคคลปกติ

การตรวจหาปริมาณตะกั่วในร่างกาย

การตรวจหาปริมารตะกั่วในร่างกาย ทำได้โดยตรวจหา ระดับตะกั่วใน เลือด และปัสสาวะ หรือ ตรวจปริมาณ delta-ALA และ Coproporphyrin ในปัสสาวะ โดยเทียบกับระดับมาตราฐานของบุคคลปกติ

ตารางที่2 แสดงระดับปกติและระดับที่เป็นพิษของตะกั่วในเลือด และปัสสาวะ

ตารางที่2

การรักษา

อาการพิษเฉียบพลัน จากสารตะกั่ว ส่วนมากเกิดจากการรับประทาน ฉะนั้นแพทย์จะต้องล้างท้อง โดยใช้สารละลาย 3 เปอร์เซ็นต์โซเดียม หรือ แมกนีเซียมซัลเฟต และหรือให้ผงถ่าน (Activated charcoal) เพื่อป้องกันการดูดซึม แล้วรักษาตามอาการ อาการพิษเรื้อรัง อาการเริ่มแรกของพิษตะกั่ว สังเกตค่อนข้างยาก เช่น อาการปวดหัว กระสับกระส่าย ซึ่งมีหลายสาเหตุ จึงมักใช้ผลวิเคราะห์ทางเคมีในเลือด และปัสสาวะ เป็นข้อบ่งชี้ ร่วมกับสังเกตอาการทางคลินิค การรักษาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แพทย์ใช้หลักการเดียวกันคือพยายามเร่งการขับตะกั่วออกจากร่างกาย โดยการให้สารเคมีเกาะ แล้วดึงตะกั่วออกจากร่างกายทางปัสสาวะ (Chelating agent) ส่วนมากใช้แคลเซียมโซเดียม เอดีเตด (CaNa2 EDETATE) ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 1 – 2 กรัม ต่อวัน

ที่มา : ความรู้เกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 5 พ.ศ.2532 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้าที่1-8.

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com