วันวานกับวันหน้า : ที่ดิน

วันวานกับวันหน้า : ที่ดิน

ที่ดิน
ทางอีศานฉบับที่๗ ปีที่๑ ประจำพศจิกายน ๒๕๕๕
คอลัมน์: วันวานกับวันหน้า
Column: Days Behind And Days Ahead
ผู้เขียน: โชติช่วง นาดอน

 วันวาน
แดนดินสุวรรณภูมิโบราณกว้างใหญ่ไพศาลเมื่อเทียบกับจำนวนผู้คน การแสวงหาอำนาจของชนชั้นปกครองทำโดย “เก็บผักใส่ส้า เก็บข้าใส่เมือง” ไปตีเมืองอื่นแล้วกวาดต้อนเอาผู้คน ไม่ยึดดินแดน เพราะที่ดินมีเหลือเฟือ

มาถึงยุคนี้ ประชากรเพิ่มปริมาณขึ้นมากมายป่าไม้ถูกโค่นทำลายกลายเป็นที่ดินทำกิน ความเป็นเมืองขยายตัวไปทั่วทุกทิศทุกทาง

ปัญหาหนักของมนุษยชาติขณะนี้คือ เรื่องอาหารและพลังงาน

อาหารและพลังงานจากพืชได้มาจากดิน

ที่ดินจึงกลายเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุด

ราคาอาหารที่สูงขึ้นและความต้องการวัตถุดิบด้านพลังงานจากผลผลิตการเกษตรมากขึ้น ทำให้บริษัท ธุรกิจการเกษตรข้ามชาติ และนักลงทุนจากอุตสาหกรรมการเงิน เช่น ธนาคารเอกชนและกองทุนบำเหน็จบำนาญ เร่งร้อนที่จะลงทุนเพื่อควบคุมที่ดินและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น แหล่งน้ำ

ทำให้เกษตรกรรายย่อยในชนบทสูญเสียพื้นที่ทำกิน และหมดสิทธิ์การใช้ที่ดินสาธารณะ แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า ป่าไม้ ฯลฯ พวกเขาจะกลายเป็นแรงงานรับจ้าง หรือไม่ก็ถูกขับไล่ออกไปจากที่สาธารณะหรือชุมชนดั้งเดิม และมีคนกลุ่มใหม่เข้ามาแทนที่ สิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิในการหาอาหารและที่อยู่อาศัยของพวกเขาถูกละเมิดสภาพแวดล้อม และขนบประเพณีที่เป็นโครงสร้างของชุมชนดั้งเดิมจะถูกทำลายไป

เรื่องนี้กำลังเกิดขึ้นในทั่วโลก

และชาวอีสานจะต้องเผชิญกับปัญหานี้

วันหน้า
นับวันกระบวนการยึดครองที่ดินโดยทุนสากลจะรุนแรงขึ้น

ที่น่ารังเกียจก็คือ ธนาคารโลกนั่นเองเป็นผู้สนับสนุนกระบวนการนี้ อย่างเช่นเมื่อวันที่ ๒๓ – ๒๖ เมษายนศกนี้ ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารโลกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้มีการประชุมเรื่อง “การกำกับดูแลที่ดินในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” มีนักลงทุน องค์กรรัฐบาล และสถาบันการเงินระหว่างประเทศมาประชุมกันเพื่อ “หารือเกี่ยวกับประเด็นความเป็นห่วงของผู้ปฏิบัติงานภาคพื้นสนามและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก” นี่มันเป็นการรวมหัวกันค้นคิดวิธีที่จะช่วยให้บริษัทหรือองค์กรซื้อที่ดินทั่วโลก

ธนาคารโลกได้ผลักดันเรื่องนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว เป็นโครงการที่เรียกว่า “การจัดการบริหารที่ดินโดยใช้การตลาดเป็นฐาน” โดยอ้างว่าเพื่อลดปัญหาความยากจน มีการส่งเสริมการ

แปรรูปที่ดินให้เป็นผืนใหญ่ เหมาะสำหรับรูปแบบการผลิตแบบ “อุตสาหกรรมเกษตร”

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมืองไทยคือ “อุตสาหกรรมข้าว” ซึ่งจะรวมที่ดินจากเกษตรกรรายย่อยเข้าเป็นผืนใหญ่ ใช้เทคโนโลยีของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการจัดตั้งชาวนาเป็นสหกรณ์ โดยเลือกชาวนาที่เก่งในการทำนาไว้ทำงานในฟาร์มข้าว ส่วนชาวนาที่ไม่เก่งในการทำนาก็ต้องไปขายแรงงานในเมือง เนื่องจากการทำฟาร์มข้าวขนาดยักษ์ ใช้เครื่องจักรกลจะทำให้ความต้องการแรงงานในฟาร์มลดลง

เรื่องทำนองนี้มิได้เกิดในเมืองไทยเท่านั้น แต่มันเป็นแนวโน้มของโลกทั้งหมด ซึ่งมีธนาคารโลกผลักดัน

ธนาคารโลกมีบทบาทสำคัญในการฉกฉวยหรือกว้านซื้อที่ดินทั่วโลก โดยการให้เงินทุนและการค้ำประกันสำหรับนักลงทุนข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการสนับสนุนที่จะ “ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนทางการเกษตร” ที่เรียกว่า “ประเทศผู้รับและส่งเสริมนโยบายและกฎหมายที่มุ่งเน้นองค์กรมากกว่าส่วนบุคคลเป็นศูนย์กลาง”

ธนาคารโลกมีบทบาทสำคัญในการฉกฉวยหรือกว้านซื้อที่ดินทั่วโลก โดยการให้เงินทุนและการค้ำประกันสำหรับนักลงทุนข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการสนับสนุนที่จะ “ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนทางการเกษตร” ที่เรียกว่า “ประเทศผู้รับและส่งเสริมนโยบายและกฎหมายที่มุ่งเน้นองค์กรมากกว่าส่วนบุคคลเป็นศูนย์กลาง”

ธนาคารโลกส่งเสริมหลักการสำคัญเจ็ดข้อของการลงทุนทางการเกษตร ที่มีความรับผิดชอบ “Responsible Agricultural Investment (RAI)” ทำให้บริษัทลงทุนข้ามชาติสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรสามารถได้ที่ดินขนาดใหญ่ทั่วโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย.

(ท่านที่สนใจประเด็นเหล่านี้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก GRAIN : “World Bank, get out of land, now!” http://www.grain.org/article/entries/4479-grainreleases-data-set-with-over-400-global-land-grabs)

Related Posts

กาพย์ไขโคลงลาวเดิม : ไม้จัน
วิถีควาย วิถีคน
นวนิยาย: กาบแก้วบัวบาน (๗)

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com