“งันขอนผี” ผีสร้างคู่ ฟื้นประเพณี สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๗๔
ปีที่ ๗ ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑
นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค
ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต

 

ต่ก่อนงานศพไม่เหมือนปัจจุบัน ศพเราจะวางเอาไว้บนตะแค่ไม้หรือไม่ก็วางบนพื้นบ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกันมาก ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งนั้นก็จะเกิดความกลัว ไฟฟ้าก็ไม่มี มืดก็มืด มีเพียงตะเกียงเจ้าพายุนำทาง ดังนั้นพวก

หนุ่มสาวแต่ก่อนจึงจะจับกลุ่มกันเดินทางไปบ้านงาน พอไปถึงบ้านงานบรรยากาศในงานก็น่ากลัวศพก็ไม่ได้อยู่ในโลงเพราะแต่ก่อนมันไม่มี มันจึงเกิดงันขอนผี และ งันเฮือนดีขึ้นมา คำบอกเล่าภาษาผู้ไทดั้งเดิมจาก แม่มาลัย นวลบัตร ได้ถ่ายทอดประเพณีดั้งเดิมในงานศพของคนผู้ไทในอดีต

 

“งันขอนผี” ผีสร้างคู่ ฟื้นประเพณี สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

โดย รัฐธิติ เจนวิริยะกุล

“แต่ก่อนงานศพไม่เหมือนปัจจุบัน ศพเราจะวางเอาไว้บนตะแค่ไม้หรือไม่ก็วางบนพื้นบ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกันมาก ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งนั้นก็จะเกิดความกลัว ไฟฟ้าก็ไม่มี มืดก็มืด มีเพียงตะเกียงเจ้าพายุนำทาง ดังนั้นพวกหนุ่มสาวแต่ก่อนจึงจะจับกลุ่มกันเดินทางไปบ้านงาน พอไปถึงบ้านงานบรรยากาศในงานก็น่ากลัวศพก็ไม่ได้อยู่ในโลงเพราะแต่ก่อนมันไม่มี มันจึงเกิดงันขอนผี และ งันเฮือนดีขึ้นมา” คำบอกเล่าภาษาผู้ไทดั้งเดิมจาก แม่มาลัย นวลบัตร ได้ถ่ายทอดประเพณีดั้งเดิมในงานศพของคนผู้ไทในอดีต

“งันขอนผี ผีสร้างคู่” ประโยคสั้น ๆ ที่อาจจะทำให้หลายคนเกิดความสงสัย เป็นคำที่ชาวภูไท บ้านกุดบอด ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ใช้เรียกกิจกรรมการละเล่นดั้งเดิม ที่ถูกจัดขึ้นบนความเศร้าโศก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานภายในงานศพ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการละเล่นเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และไม่ทำให้ญาติผู้สูญเสียนั้นเกิดความเศร้ามากจนเกินไป

การละเล่นในงานประกอบไปด้วยการเล่นหมากเก็บ ปูตากินไก่ คล้องช้าง หมากกระโตก เป็นต้น นอกจากการละเล่นเหล่านี้จะทำให้ผู้เข้ามาร่วมงานคลายความเศร้าลงแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวในยุคนั้น ได้พบปะพูดคุยกันได้อย่างอิสระและเปิดเผย การพูดคุยของหนุ่มสาวในงานศพไม่ใช้ใครจะคุยกับใครก็ได้ แต่การพูดคุยกันนั้นจะเกิดขึ้นผ่านการละเล่นภายในงาน

ต่อมาในยุคปัจจุบัน งันขอนผี และงันเฮือนดี เริ่มที่จะสูญหายไป เนื่องจากปัจจุบันไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้าน แต่ที่บ้านกุดบอด หมู่ ๑๓ ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ได้พยายามรื้อฟื้นและอนุรักษ์ประเพณีดังกล่าวนี้เอาไว้ ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกันทำโครงการสร้างเสริมครอบครัวให้อบอ่นในระดับชุมชนและหมู่บ้าน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชาวบ้านจึงริเริ่มการละเล่นประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมให้กลับมาอีกครั้งปัจจุบันชาวบ้านเริ่มทำกิจกรรมเช่นนี้มานานกว่า ๒-๓ ปี นอกจากจะเป็นการรื้อฟื้นและอนุรักษ์ประเพณีให้กลับคืนแล้ว ยังทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกิจกรรมการละเล่น “งันขอนผี” และ “งันเฮือนดี”

***อ่านฉบับเต็ม “งันขอนผี” ผีสร้างคู่ ฟื้นประเพณี สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ได้ใน นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ ๗๔ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com