ข้าแต่พระราซา บุรุษนั้นมี ๓ ซั้น คือ สูงสุด ผ้านกลางและต่ำ สะนั้นควรเลือกใช้ให้ถืกตามซนิดของงาน ทังสามสถาน คนใซ้ก็ดี เครื่องเอ้ ก็ดี ต้องประกอบให้ควรแก่ฐานะ ดั่งปิ่นเกล้า จะเอาลงไปประดับตีน หรือก้องขาก็บ่ควร เอามาประดับผม แก้วมณี อันมีราคาแพง ควรประดับกับทองคำ จะเอาไปประดับกับแหวนขี้กั่ว ก็จะบ่มีแสงเลย
ยกเอาแก้วแว่นขึ้นประดับมุงกุฏ เอาแก้วมณีลงมาประดับก้องขา อันนี้บ่แม่นความผิดของแก้วมณี แต่หากเป็นความผิดของผู่ใซ้นั้นเอง แม่นบ่ฮู้จักหยังเลย
คนนั้นมีปัญญา คนนั้นซื่อสัตย์ คนนั้นมีทังสองอย่างพระกษัตริย์ผู่สลาดเลือกข้าใซ้ดั่งนี้ บ่อมบริบูรณ์ด้วยเสวะกามาตย์ที่ทะรงคุณ
ม้า ศาสตรา หนังสือ พิณ ถ้อยคำ ซาย ญิง จะใซ้ได้ดีหรือบ่ดี แล้วแต่วิธีของผู่ใซ้ ซาหยังกับผู่มีความภักดี แต่บ่มีความสามารถ ซาหยังกับผู่มีความสามารถ แต่คอยขัดขวางเป็นศัตรู
ข้าแต่ราซะ ส่วนข้าพระบาท มีทังความภักดี และสามารถ บ่ควรที่พระบาทจะดู แควน อันว่าพระราซาผู่มีนิสัยดูแควนคน ก็จะมีแต่คนซั้นอึดปัญญา เป็นบริวารสะนั้นพระองค์ก็จะขาด ผู่มีสติปัญญา เป็นที่ปรึกษา เมื่อราชอาณาจักรเว้นจากผู่มีปัญญาแล้ว ประศาสะโนบาย ก็เซื่อม หากประศาสโนบายเซื่อมแล้ว ประเทศก็หล้มจม
ประซาซนพลเมือง ก็ย่อมเคารพยำแยง คนผู่ที่พระราซาย้องยอ ผู่ใดถึกพระราซาดูแควนเสียแล้ว ผู่นั้นก็ถึกเขาดูแควนทุกหน้า ถ้อยคำที่เว้าถึกต้องดี แม่นเด็กน้อยเว้า คนมีปัญญาต้องถือเอา เมื่อยังบ่เห็นแสงตาเว็น แสงตะเกียงก็จะใซ้บ่เป็นประโยชน์ ได้หรือ
ราซาปิงคะละ ถาม “เออท่านวุสุพาคยะ เว้าหยังหือ เจ้าก็เป็นลูกผู่มีปัญญา แห่งประธานอามาตย์ของเฮาอยู่ ถืกใผเว้าขวัญนินทา หนอ จึ่งถิ้มปละละเลย บ่สู้มาหาเฮา จึ่งบอกมาเดียวนี้”
วะสุพาคยะ ตอบอย่างกล้าหาญว่า “เทวะ เมื่อประทานโอกาสให้เว้าดั่งนี้ ข้าน้อยก็ขอถาม คือพระบาทเป็นเจ้า มีความประสงค์จะไปดื่มน้ำ แต่บ่ทันได้ดื่มก็กลับมา เหมือนว่ามีความตกใจ อันใดจักอย่างนึ่ง”
ราซาปิงคะละ “เออ แม่นความเจ้า เดียวนี้ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าในป่าที่เฮาอยู่นี้ ได้มีสัตว์ประหลาด เข้ามาอยู่แล้ว เสียงมันฮ้องดังพิลึก หน้าย้านแท้ เจ้าก็คงได้ยินเหมือนกัน เมื่อคะเนเบิ่งตามเสียงฮ้องแล้ว อ้ายนั้นคงตัวใหญ่ มีกำลังมหึมาเต็มที สะนั้นเฮามาพากันอพยพหนีจากป่านี้เทาะ”
วะสุพาคยะ ทูล “เทวะ อันนี้เป็นเหตุให้หน้าวิตกอยู่ เสียงนั้น ข้าน้อยก็ได้ยินคือกัน แต่ผู่ใด เพียงแต่ในเทื่อทีแรก ยังบ่ทันฮิ่นตอง ให้ถื่ก้วน ก็ทูนแนะนำให้พระภูบดี ละราชสมบัติโลด หรือให้ห้างทำสงคราม ผู่นั้นบ่นับเป็นมุนตรีเลย
ราซะสีห์เว้าว่า “วะสุพาคยะเอย เฮามีความวิตกหลาย จะทำประการใดลือ” วะสุพาคยะ คึดในใจว่า “เห็นจะย้านอิหลีเว้ย” จิ่งเว้ารับรอง นำราซสีห์ว่า “เทวะ ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ตราบนั้นพระบาทเป็นเจ้าบ่ควรวิตก ขอแต่ให้อุดหนุนน้ำใจของทะมะนะ และบริวารอื่น ๆไว้ก็แล้วกัน” ว่าแล้ว วะสุพาคยะก็ออกมาหา ทะมะนะ ๆ จึ่งเว้าว่า
“เพื่อนเอย เหตุผลต้นปลายของภัยนี้ จะแก้ไขได้หรือบ่ได้ ก็ยังบ่ฮู้ โตมารับรองก่อนดั่งนี้ ก็หน้าย้านอยู่”
วะสุพาคยะ หัวแล้วตอบว่า อ้ายเสี่ยวเอ้ย โตบ่ต้องเว้า มิดสา เฮาฮู้เรื่อง นี้ดีแล้ว คืองัวพะลีพัด มันฮ้องคะนองท่อนั้น ซาติพึดพะ มันเป็นอาหารแซบของเฮา สำหรับราซสีห์แล้ว จะบ่ยิ่งดีไปอีกหรือ”
ทะมะนะ “อ้าว ถ้าจั่งซั้น เป็นหยังบ่บอกนาย กำจัดความย้านของนาย ให้หายเสีย ในเวลานั้น โลดบ่ดีหรือ”
วะสุพาคยะตอบ “ โท้ ถ้าไปบอกก่อนแล้ว เฮาซิได้รับรางวัลหรือ อีกประการนึ่ง เพิ่นว่า บ่ควรเฮ็ดให้นายพันจากการเพิ่งพาบ่าวเลย เพราะถ้าเฮ็ดให้เพิ่นพ้นเพิ่งแล้ว บ่าวก็จะเป็นคนคือ แมว ซื่อ ทะหิกัน นั้นแหละ”
ทะมะนะถาม “เรื่องเป็นอย่างใด” วะสุพาคยะเว้านิทาน
นิทานแอ้มที่ ๒ เรื่องแมวกับราชสีห์
ราซสีห์ชื่อ มหาวิกรม อาศัยอยูภูอันพุทธสิงขร ในป่าอุตราบท เมื่อนอนอยู่ในถ้ำ มีหนูขึ้นไปแห้นขนสร้อยคอ ราชสีห์ตื่นขึ้น เห็นขนห้อยคอขาด ก็มีความเคียด จะครุบหนูแต่บ่ทัน หนูแล่นลงหลืบหินไป ราชสีห์จึ่งมานอนคึดอยู่ว่า เฮ็ดอย่างใดหนอ มีคำภาษิตบทนึ่งว่า “ผู่ใดจะผาบศัตรูเล็กน้อย ด้อยความกล้าหาญบ่สำเร็จ เมื่อประสงค์จะผาบให้ได้ ก็ต้องหาผู่ที่พอสมเป็นคู่ผาบกัน ซ่างไม้เมื่อถากไม้ก็ใซ้ขวาน แต่เมื่อจะหยิบผ้าต้องใซ้เข็ม”
เมื่อคิดดั่งนี้แล้ว จึ่งออกไปหาบ้านคน ก็ไปพบแมวตัวนึ่ง ซื่อ ทะทีกัน จึงซวนมาอยู่นำกัน โดยสัญญาจะให้ซิ้นอย่างดี เป็นอาหาร ตั้งแต่แมวมาอยู่นำราชสีห์ หนูก็บ่กล้ามาหากิน ราชชสีห์ก็บ่ถืกหนูมากุกกวน ก็นอนเป็นสุขสบาย ถ้าราชสีห์ได้ยินเสียงหนูเทื่อใด ก็ตื่มรางวัลให้แมวทุก ๆ เทื่อ เหิงมาหนูอึดอาหาร อดรนทนบ่ได้ ก็ออกมาหากิน แมวเห็นก็เต้นครุบเอาไปกินเสีย ครันราชสีห์บ่ได้ยินเสียงหนู นับว่าหมดศัตรูแล้ว บ่ต้องการใซ้แมวอีกต่อไป ก็เลยบ่เอาใจใส่ ในการให้อาหารแก่แมว เพราะจั่งซั้นข้าพเจ้า จึ่งว่า “บ่ควรเฮ็ดให้นายพ้นจากการเพิ่งบ่าว “
ว่าแล้ว หมาจอกทังสองก็พากันออกไปหางัวนันทะกะ หมาทะมะนะ ทำท่าสง่าผ่าเผย นั่งอยู่แคมกกไม้ แล้ว วะสุพาคยะ จึ่งเว้านำงัวนันทะกะว่า “เฮย ท่านงัวฮู้บ่ ข้าพเจ้านี้เป็นเจ้าหน้าที่ อันพระราซาปิงคะละตั้งให้ เป็นผู่เบิ่งแญงป่า ท่านเสนาบดีทะมะนะ ให้ข้าพเจ้ามาบอกท่าน ให้ไปหาโดยไว ถ้าบ่ไปจ่งหนีจากป่านี้ ในเดียวนี้ บ่ดั่งนั้น ท่านจะได้รับความผิด”
งัวนันทะกะ บ่ฮู้ธรรมเนียมของประเทศ ได้ฟังดั่งนั้นก็มีความย้าน ย่างเข้าไปหาหมาทะมะนะ แสดงความโครพแล้ว เว้าว่า ข้าแต่ท่านเสนา ขอได้กรุณาบอกข้าพเจ้าว่า จะให้ข้าพเจ้าทำอย่างใด
ทะมะนะบอกว่า “เมื่อท่านประสงค์จะอยู่ในป่านี้ต่อไป ท่านจึ่งไปอ่อนน้อมต่อราซาปิงคะละ ผู่เป็นนายของเฮา”
งัวนันทะกะเว้าว่า “เมื่อท่านสัญญาว่า จะบ่ทำอันตรายให้แก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าก็จะไป”
ทะมะนะรับรองว่า “ท่านบ่ต้องย้านในข้อนั้น เพราะว่าธรรมดาลมพายุ จะบ่หักหาญกอหญ้า และไม้อ้อที่โอนอ่อนไปตาม แต่ย่อมหักหาญต้นไม้ที่สูงสันใด ผู่มีอิทธานุภาพยิ่งใหญ่ ย่อมบ่หักหาญผู่น้อยสันนั้น”
ว่าแล้วสองสหายก็พางัวนันทะกะ เข้าไปหาราชสีห์ ให้งัวเซาอยู่แต่ไกล แล้วตนเองเข้าไปหาราชสีห์ปิงคะละ
ปิงคะละถามว่า “เห็นตัวมันแล้วบ้อ” วะสุพาคะยะ ตอบว่า “เห็นแล้ว ตามที่พระอาชญ์เป็นเจ้า ได้ยินเสียงมัน เป็นการสมจริง เพราะอ้ายนั้นโตใหญ่มหิมา หน้าย้านแท้ ข้าพเจ้าได้แนะนำมัน บัดนี้มันอยากมาเฝ้าพระบาทเป็นเจ้า ขอให้จัดการรับรองไว้ แต่เถิงอย่างใดก็ตาม เพียงแต่ได้ยินเสียงก็อย่าฟ้าวย้าน เพราะธรรมดาฝายกั้นน้ำ ย่อมขาดพังทลาย ย้อนกระแสน้ำเซาะ ข้อปรึกษาที่นี้อำบังก็สันเดียวกัน มิตรภาพอันสนิทย่อมแตกม้างย้อนการสับส่อ คนขี้ย้านย่อมแตกตื่น ย้อนเพียงแต่ได้ยินเสียง
เมื่อยังบ่ได้พิจารณาหาเหตุ เพียงแต่ได้ยินเสียง ก็อย่าฟ้าวย้านนางโสเภณี เมื่อลาวได้พิสูจน์ มูลเหตุของเสียงได้ จึ่งได้รับความ ย้องยอนับถือจากซาวเมือง
ราซาปิงคะละถาม “เรื่องเป็นอย่างใด”
วะสุพาคยะแถลง
นิทานแอ้มที่ ๓ เรื่องนางโสเภณี
ที่ภูสี อันอยู่ใกล้นครพรหมบุรี มีเสียงลือกันว่า เทิงจอมภูนั้น มีผีร้ายตัวนึ่ง ชื่อ คันตากัน อาศัยอยู่ เรื่องเดิมมีว่า “โจรคนนึ่ง ได้ลักเอากะดิงใหญของวัดนึ่งไป เวลาพวมเดินทางมาเถิงภูสี เลยถึกเสือขบตาย หมู่ลิงที่อาศัยอยู่ในภูสีนั้น มาได้กะดิงไป ก็พากันซั่นหลิ้นเสมอ เรื่องที่เสีอขบคนตายนั้น ก็มีคนรู้อยู่ ทังเมื่อโจรตายแล้ว ก็ยังได้ยินเสียงกะดิงอยู่ ซาวเมืองพากันย้านกล้ว อันตรายมาก จนแตกเมืองหนี ต่อมามีหญิงโสเภณี คนนึ่ง ชื่อ กะราไล ได้สืบสวนคักแน่แล้วว่า เสียงนั้น แม่นเสียงกะดิงที่ลิงซั่น จึ่งเสนอเรื่องแก่พระราชา ของเมืองนั้น ขออาสาไปผาบผี ชื่อ คันตากัน ให้สำเร็จ พระราชามีความยินดีประทานเงินคำให้ นางตามที่นางขอแล้ว นางก็พิติ ไปทำการบูชา เทพยดาอยู่เทิงภูนั้น แต่ที่แท้ นางได้ซื้อเอาหมากไม้ ที่ลิงมักไปถิ้มเฮี่ยฮวาย ไว้ในป่า พอลิงเห็นหมากไม้ ก็วางกะดิงลงมากิน หมากไม้ นางกะราไล ถือได้กะดิง แล้วก็ฟ้าวกลับมาเมือง แต่นั้นมาเสียงกะดิง ที่คนทังหลายเข้าใจ ว่า แม่นเสียงผี คันตากัน ฮ้องไห้นั้น ก็มิดไป และนางก็ได้รับความนับถือจากคนทังหลาย ท่อนั้นเอง เพราะจั่งซั้น ข้าพเจ้าจั่งว่า เพียงแต่ได้ยินเสียงก็อย่าฟ้าวย้าน
หมาจอกวะสุพาคยะ เว้าท่อนี้แล้วก็ออกไป พางัวนันทะกะเข้ามาหาราชสีห์ และต่อนั้นมา ราชสีห์กับงัวก็ได้เป็สหายฮักแพงสนิทสนมกัน อยู่เป็นสุขสำราญ ในป่านั้นสืบมาเสี้ยงกาละนาน แต่มิตรภาพสนิทสนม ของราชสีห์กับงัวนั้น ในกาละต่อมา ก็ถืกหมาจอก วะสุพาคยะมุนตรี ทำลายเสียจนสองสหาย ได้รับความพินาศ
นางตันไตเว้านิทาน ฮอดบ่อนนี้ ก็พอดีเป็นเวลาแจ้งสว่าง นางจึงลมกับน้องสาวว่า
“น้องวิไลวรรณเอย นิทานตอนต่อไป ในเรื่องหมาจอก วะสุพาคยะ สับส่อหย้อยง ให้งัวกับราชสีห์ แตกกันนั้น ยังอยู่หลาย และม่วนกว่าที่เว้ามาแล้วนี้ ถ้าเอื้อยหากมีอายุ ยืนต่อไปอีกจักคืนนึ่ง เอื้อยจะเว้าให้ฟังจนสุด แต่วาสนาซาตาของเอื้อย เห็นจะสุดลงเพียงในวันนี้แล้ว คงจะบ่ได้เห็นหน้าของน้อง และบ่ได้เว้านิทาน ให้น้องฟังอีกต่อไป”
ฝ่ายพระยาวิมะละนอนฟังนิทานของนางตันไตอยู่ คึดซวนม่วนในพระทัย พอใจในนิทานของนางเป็นอันมาก จึงทงรำพึงว่า จะให้นางอยู่อีก ต่อไปอีกคืนหนึ่ง เพื่อให้นางได้
เว้านิทานพอสุด แล้วจงจะให้ฆ่าเสีย ฮ่ำเพิงดั่งนี้แล้ว ก็เสด็จออกจากที่บรรทม สงสนานคันธะวารี แล้วก็เสด็จ ออกสนาม บ่อนประชุมอำมาตย์
ฝ่ายมหาอำมาตย์ ผู่เป็นบิดาของนางตันไต แต่ในกลางคืน ก็นอนบ่หลับตลอดคืน เพราะเป็นห่วงนำลูก ตื่นเช้ามาแฮ่งทุกข์ใจหลาย ในการที่ตนเองจะได้เป็นผู้ประหาร บุตรีของตนเอง แต่พอขึ้นไปเฝ้า พระเจ้าแผ่นดิน ก็บ่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน ตรัสสั่งแนวใด จนเถิงเวลาเลิกสนาม ท่านมหาอำมาตย์ จึงมีความเบาใจ
เถิงคืนที่สอง เวลาข้อนซิแจ้ง นางวิไลวรรณ ก็ปลุกเอื้อยขึ้น ให้เว้านิทาน ให้ฟังดั่งคืนก่อน นางตันไตลุกขึ้น ทูลขออนุญาตนำพระยา แล้วจึ่งเว้านิทานเรื่องงัวนันทะกะ กับราชสีห์ปิงคะละ ที่ถืกหมาจอกยุยงให้แตกกันต่อไปว่า
อยู่มาวันนึ่ง ราชสีห์ชื่อ สะตับทะกัน พี่ชายของราชสีห์ปิงคะละ มายาม ปิงคะละจึงออกไปหาเนื้อมาเลี้ยงพี่ชาย งัวนันทะกะเห็นดั่งนั้น จึ่งถามปิงคะละว่า “โย้ว สัตว์ที่ท่านฆ่ามามื้อเซ้านี้ ไปไสหมด”
ราซาปิงคะละ ตอบ “วะสุพาคยะและทะมะนะ นั้นแหละ เป็นผู้จัดการหมด”
นันทะกะ ว่า “โอ จั่งซั้นกะบ่ควรแล้ว อ้ายสองตัวนั้น มันกินหลายปานนั้นแท้หรือ”
ราชสีห์ตอบ “ก็กินแด่ ให้ตัวอื่นแด่ เซอเซิญเกินไป”
ราซาปิงคะละตอบ “โอย มันเป็นจั่งซั้น เอง หมดทุกวันนั้นแหละ”
นันทะกะว่า “ถ้าจั่งซั้นก็บ่สมควรหลาย เพิ่นยังบอกสอนว่า บ่าวคนใดยังบ่ได้คอบให้นายฮู้ก่อน ก็บ่ควรเฮ็ดสิ่งใดตามใจ เว้นแต่เฮ็ดเพื่อป้องกันเหตุร้าย อันจะเกิดแก่นาย ท่อนั้น ข้าแต่พระราซา อามาตย์ควรมีลักษณะ คือหม้อน้ำของฤษษี คือเวลาหญิ้น ให้ไหลออกแต่หน้อย เวลาถอกใส่ให้ขังไว้ได้หลาย ผู่ใดเว้าว่า ซาหยังกับเงินอัฐเดียว ผู่นั้นเป็นคนไร้ทรัพย์ ผู่ใดคอยตื่มแถม พระราชทรัพย์ แม่นเพียงแดงเดียวทุกๆวัน ผู่นั้นเป็นอามาตย์ที่ดีแท้ เพราะคลังเป็นหัวใจของท้าวพระยา ประการนึ่ง ซายผู่สูญทรัพย์ แล้ว แม่นประพติดี ถืกตามประเพณี ก็บ่เป็นที่นิยมของคนทังหลาย บ่หนำ เมียของตนก็เอาใจออก บ่ต้องเว้าเถิงผู่อืนก็ได้ และข้อต่อไปนี้ เป็นความเสียหายแก่การดำเนินนโยบายของประเทศ คือความฟุ่มเฟือย เซอะเซิม ขาดการสืบสวน การเก็บหอมทรัพย์โดยผิดทาง และการส้อโกงของผู่อยู่ทาง เหล่านี้ เป็นลักษณะซั่วร้ายของการคลัง
จบตอนที่ ๕