ประเด็นที่ท้าทาย

ขณะนี้มีคนบนโลกติดเชื้อโควิด-19 เกือบหกล้านคน ตัวเลขจากข่าวเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม๒๕๖๓ ขณะวงงานแพทย์ทั่วโลกยังยืนยันว่า ปีหน้าถึงจะพัฒนาวัคซีนรักษาได้ ต่อจากนี้ไวรัสจะระบาดเพิ่มมากขึ้นเพียงใด จะสามารถยับยั้งได้เมื่อไหร่และเมื่อหยุดได้แล้วยังจะหวนกลับมาอีกหรือไม่เชื้อตัวใหม่จะเกิดอีกปีไหน ล้วนเป็นวิกฤติที่พลโลกกำลังเผชิญและต่อสู้ร่วมกัน

“ไทย” เป็นประเทศที่กำลังพัฒนามานานถึง ๖๐ ปีแล้ว แต่ความเหลื่อมล้ำในสังคมกลับเพิ่มขึ้นทุกด้าน เมื่อเกิดวิกฤติใหญ่จากโรคห่าครั้งนี้ แม้ทั้งองคาพยพสังคมเกิดความสูญเสีย แต่คนจนจะยิ่งจนและตายมากที่สุด ทั้งด้วยโรคห่า โรคประจำตัวเดิมปัญหาความยากจนข้นแค้นและหนี้สินจะหนักหน่วงจนหมดสิ้นทางแก้ไข

ศาสตราจารย์แองกัส ดีตัน นักเศรษฐศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบล พ.ศ.๒๕๕๘ กล่าวว่า

“ต่อให้โควิด-19 อาจลดความเหลื่อมล้ำได้…ผลก็จะไม่ยั่งยืนได้นาน”

อาจารย์สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวในรายการ “ที่นี่ Thai PBS” ของ “ไทยพีบีเอส” ว่า

วิถีคนที่ใช้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้แก่ พัฒนาเศรษฐกิจ, การปฏิรูปที่ดิน และเกิดวิกฤติการเงิน แต่ทั้งหมดนี้จะได้ผลเพียงบางเบา

การแก้ปัญหาได้ผลชะงัดต้องใช้ “วิถียมทูตทั้งสี่” ได้แก่ สงครามใหญ่, ไฟปฏิวัติ, รัฐล่มสลายและโรคร้ายระบาด

อาจารย์สมเกียรติ กล่าวทิ้งท้ายถึงการออกจากวิกฤติ และเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองไว้ว่า

ระยะสั้น – รัฐต้องทุ่มเทอุ้มเอื้ออาทรคนจน

ระยะยาว – (พวกเรา) ต้องหาทางลดความเหลื่อมล้ำให้ได้

 

ด้วยจิตคารวะ

บรรณาธิการอำนวยการ

 

Related Posts

X – สมัย (๑)
ปิดเล่ม ทางอีศาน 98
นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 98
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com