ปริศนาตัวมอม (๕) จบ

ทองแถม นาถจำนง

มอมวัดพันเตา ภาพจาก: Pantipวัดพระธาตุดอยสุเทพ ตัวนี้น่าจะคือเห-รา (มีหางเป็นปลา) ไม่ใช่มอม (มอมมีหางเป็นพวง) ภาพจาก: tintila Pantipมอมบนซุ้มประตู วัดไหล่หินมอมวัดไหล่หิน เกาะคา ลำปาง ภาพจาก: คมฉาน ตะวันฉาย

“มอม” ถูกลากเข้าเป็นวัฒนธรรมพราหมณ์-พุทธ

หลังจากวัฒนธรรมจากอินเดียแพร่เข้ามาสุวรรณภูมิ “พุทธ-พราหมณ์” ก็เอาชนะผี วัฒนธรรม “เงือก”(ดั้งเดิม) ก็กลายเป็น “นาค” วัฒนธรรม “มอม” ก็กลายเป็น “สิงห์”

แต่ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ก็ยังอยู่ เช่น เป็นผู้รักษาพุทธสถาน เป็นลายสักศักดิ์สิทธิ์ป้องกันตัว

ในล้านนา “มอม” ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัตว์พาหนะของ “ปัชชุนนะเทวบุตร” ผู้ให้ฝน พระพิรุณ ผู้ให้ฝน ทรงพาหนะ “มกร” (มะ กะ ระ ซึ่งเทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียทำเป็นรูปจระเข้) ในสายพุทธมีการอ้างอิง “มัจฉาชาดก” เป็นต้น

เมื่อฝนแล้งจึงทำพิธีแห่ “สิงมอม” ขอฝน

ความเชื่อล้านนานี้แพร่กระจายไปถึง พิษณุโลก, บ้านคูบัว ราชบุรี ฯ (ตามการเคลื่อนย้ายของชาวล้านนา)

ทุกวันนี้องค์ความรู้เรื่อง “ตัวมอม” กำลังจะสูญสิ้นไป วงวิชาการก็ยังขาดผู้รู้ มีความเข้าใจผิดกันมาก

“ตัวมอม” จึงยังเป็นปริศนาประเด็นใหญ่เรื่องหนึ่ง ?


มอมวัดบุพพาราม เชียงใหม่ ภาพจาก: กระจ้อน Pantip

อ่าน : ปริศนาตัวมอม (๑) หมานำพันธุ์ข้าวมาให้คน
อ่าน : ปริศนาตัวมอม (๒) บูชาหมา
อ่าน : ปริศนาตัวมอม (๓) การบูชาหมาในยุคดึกดำบรรพ์
อ่าน : ปริศนาตัวมอม (๔) จาก “หมา” เปลี่ยนเป็นสัตว์ผสม

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com