ปิดเล่ม ทางอีศาน 91

ปิดเล่ม ทางอีศาน 91

“เดือนสิบเอ็ดนํ้านอง

เดือนสิบสองนํ้าทรง

ครั้นถึงเดือนอ้ายเดือนยี่

นํ้าก็รี่ไหลลง”

ในช่วงสามเดือนนี้ ธรรมชาติเกี่ยวกับน้ำผูกพันกับชาวไทย วัฒนธรรมโบราณของชาวไทยจึงมีเรื่องเกี่ยวกับน้ำมาก

แต่ก็เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนไป เรื่อย ๆ ที่เห็นเด่นชัดก็เรื่องการนับวัน เวลา เดือน ปี เมื่อเปลี่ยนมาใช้การนับปฏิทินตามสุริยคติ สากล การนับเดือนก็เปลี่ยนไป…เป็นการนับตาม ฝรั่ง

“ฮีตสิบสอง” ที่นับเดือนตามจันทรคติก็เลย รางเลือนไปมาก

ซ้ำก็เกิดความนิยมวัฒนธรรมใหม่ ๆ เช่น ปลายเดือนตุลาคมมีวันฮาโลวีน – เล่นผีฝรั่งกัน หรือเกิดวันแห่งความรัก – วันวาเลนไทน์ ซึ่งก่อความนิยมมากขึ้น ๆ จนอีกหน่อยจะกลาย เป็นวัฒนธรรมไทยไป

เรื่องที่น่าคิดน่าเป็นห่วงคือ การสูญสิ้นของวัฒนธรรมดั้งเดิม

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ เกิด อยู่เป็นประจำ แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงภายใน สังคมกันเองมันก็ไม่น่าหวั่นเกรงเท่าไรนัก

การเปลี่ยนแปลงภายในสังคมกันเอง ก็อย่างเช่น คติความเชื่อความนิยมเรื่องลอยกระทง เรื่องลอยกระทงก็เพิ่งทำให้เกิดความเชื่อเป็น เอกภาพกันเมื่อไม่นานนี่เอง คติความเชื่อการอธิบายเรื่องราวที่มาของการลอยกระทงที่ภาค เหนือ แต่ก่อนไม่ตรงกับเรื่องทางกรุงเทพฯหรอก แต่ตอนนี้ก็อธิบายตรงกันไปหมดแล้ว

ต่อไปถ้าเกิดความนิยมวันเทศกาลตะวันตกมากขึ้น เด็กไทยละเลยวันสำคัญของสังคมไทย ไปเรื่อย ๆ สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ไม่รู้

มีข้อคิดสอนใจว่า ถ้าภาษาแม่ตายไป วัฒนธรรมก็สูญสิ้นภาษาท้องถิ่นหรือภาษาแม่ ของชุมชนแต่ละท้องถิ่น มีความสำคัญเป็นสิ่งที่ รักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ได้ นี่ไม่ใช่เฉพาะภาษา ใหญ่ในแต่ละภาคนะครับ เพราะทุกภาคยังมี ภาษาท้องถิ่นกลุ่มย่อย ๆ อีกหลายกลุ่ม

ทำอย่างไรถึงจะรักษาภาษาแม่เอาไว้ให้ได้!

 

 

Related Posts

ปิดเล่ม ทางอีศาน 122
ไสว แกล้วกล้า : ผู้กล้าสร้างสีสันทุ่งกุลาร้องไห้
ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com