มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (8)
ทองแถม นาถจำนง
การทดลอง Experiments
I.การทดลองคืออะไร
การทดลองเป็นวิธีการค้นคว้ากฏเกณฑ์ของธรรมชาติวิธีหนึ่ง เป็นวีธีการที่มนุษย์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ไปควบคุมหรือจำลองปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยเน้นปัจจัยที่ต้องการให้เด่น ขจัดการแทรกแซงอื่น ๆ เพื่อดำเนินการค้นคว้าตามจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
การทดลองเป็นกระบวนการที่คนเราควบคุมธรรมชาติหรือเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ดังนั้นเรามักจัดเป็นการเคลื่อนไหวปฏิบัติที่ดัดแปลงโลก แต่การทดลองเป็นการเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยถึงคุณสมบัติของธรรมชาติ เพื่อรับรู้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังนั้นมันจึงต่างกับการปฏิบัติทางการผลิตที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตวัตถุ
การทดลองมีหลายประเภท หากแบ่งตามบทบาทในด้านการรับรู้กระบวนการธรรมชาติ สามารถแบ่งได้เป็น
การทดลองทางคุณลักษณะ Qualitative ใช้สำหรับตรวจสอบว่าปัจจัยอันหนึ่งอันใดดำรงอยู่หรือไม่ มีความเกี่ยวข้องในกระบวนการนั้น ๆ หรือไม่
การทดลองทางปริมาณ Quantitative ใช้วัดจำนวน ตัวเลข อันใดอันหนึ่งเพื่อจะหาความสัมพันธ์ปริมาณของปัจจัยอันใดอันหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมี การทดลองเปรียบเทียบ Comparative Experiments การทดลองเชิงวิเคราะห์ Analytical Experiments เป็นต้น
ผลงานทางวิทยาศาสตร์ ก่อนจะถึงขั้นนำไปใช้ได้ ยังต้องผ่านการทดลองขั้นกลางเสียก่อน ผ่านการทดลองตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก จึงจะนำไปใช้ได้ในการผลิต เพื่อที่จะทำให้มีความน่าเชื่อถือและประหยัดที่สุด การเผยแพร่เทคนิค วิทยาการใด ๆ ก็ตาม ควรทดลองปฏิบัติในเฉพาะที่เสียก่อน เมื่อได้ผลดีแล้วจึงค่อยเผยแพร่ให้กว้าง
II.ลักษณะพิเศษและข้อเรียกร้องพื้นฐานของการทดลอง
ลักษณะพิเศษและข้อเรียกร้องพื้นฐานของการทดลองก็คือ การทดลองจะต้องทำให้ปรากฏซ้ำขึ้นอีกได้ กล่าวคือภายใต้เงื่อนไขที่เหมือนกัน เมื่อทำการทดลองซ้ำใหม่ควรจะได้รับผลที่เหมือนกัน
ลักษณะร่วมของการทดลอง
๑. เนื่องจากการทดลองเป็นการควบคุมและแทรกแซงโดยมนุษย์ ฉะนั้นเราสามารถทำให้กระบวนการธรรมชาติง่ายขึ้น Simplify และบริสุทธิ์ขึ้น Purify เพื่อสะดวกต่อการสังเกต Observe คนเราสามารถสร้างสภาพแวดล้อม ควบคุมเงื่อนไขให้ปรากฏการณ์ที่ต้องการสังเกตนั้น ๆ ปรากฏขึ้นโดด ๆ เปลี่ยนสภาพที่ในกระบวนการนั้น ๆ มีปัจจัยเกี่ยวพันมากมาย ให้มีเพียงปัจจัยโดด ๆ คือควบคุมปัจจัยตัวอื่น ๆ ให้อยู่คงที่ stable มีเพียงปัจจัยที่เราต้องการสังเกตผล ที่เมื่อปัจจัยตัวนั้นเปลี่ยนไป จะมีส่งผลให้กระบวนการนั้น ๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และทำให้กระบวนการนั้นง่ายขึ้นบริสุทธิ์ขึ้น สะดวกในการสังเกตผลของปัจจัยใดปัจจัยเดียว
๒. เนื่องจากการทดลองเป็นกระบวนการทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ทำให้เราสามารถสังเกตกระบวนการที่ไม่อาจเกิดในธรรมชาติ หรือกระบวนการที่เราไม่อาจสังเกตโดยตรงได้
๓. การทดลองสามารถดำเนินการซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังนั้นจึงยกระดับความน่าเชื่อถือของการสังเกตให้สูงขึ้น
An experiment is a procedure carried out to verify, refute, or validate a hypothesis. Experiments provide insight into cause-and-effect by demonstrating what outcome occurs when a particular factor is manipulated.
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (1)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (2)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (3)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (4)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (5)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (6)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (7)