ส่อวีรชน
[๔]
ได้ยินพี่ซายคุณเว้า คุณทั้งสองมักอ่านหนังสือพวกประวัติ เช กูวารา อ่านประวัติและผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์ …
คุณชุมพร ทุมไมย,
คุณวิชัย เกศศรีพงษ์ศา
มวลหนังสือก้าวหน้าหลังและก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ มีพิมพ์ออกมาหลายคัก นั่นเป็นองค์ความฮู้ของผู่เกิดผู่มาก่อน ผู่เป็นนักคิดนักเขียนจากต่างประเทศและบ้านเฮา เป็นยุคสมัยที่วงงานหนังสือคึกคัก
บัดหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาปีนั้น ขบวนของพี่น้องเฮาจำเป็นต้องทิ้งทุกอย่าง จากนักกิจกรรมเข้าสู่สงครามหฤโหด การยกระดับทางวัฒนธรรมมีน้อย ทั้งยังเอียงไปยึดบทเรียนการปฏิวัติของบางประเทศ จนยกขึ้นเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ นับได้ว่าเป็นข้อจำกัด เป็นข้ออ่อนอันหนึ่ง
นิทาน นิยาย บทกวี ภาพยนตร์ ดนตรี เหล่านี้ เกิดมีมาก่อนเฮาเกิดหลายหมื่นแสนซิ้นงาน หลายเรื่องกะข้ามกาลเวลามา อ่านท่อใด๋กะบ่เหมิด แต่ในแต่ละยุค ในคนแต่ละรุ่น ต้องประดิษฐ์ผลิตกรรมที่เกิดจากชีวิต เกิดจากบุคลิกภาพของผู่สร้างและผู่เสพ ที่สิสบอารมณ์ ความฮู้สึก กระทบจิตวิญญาณของมนุษย์ที่กำลังก้าวย่างอยู่เทิงโลก
ในด้านเล่มหนังสือที่มีเนื้อหาจำหลักหลักแน่นนั้น คนรุ่นหลังกะยังถามหา พากันซอกอ่านบ่ขาดสาย แต่เท่าที่สังเกตเบิ่ง ดนตรีแนวเพื่อชีวิตสิอ่อนลงไป
คนรุ่นพวกเฮา หลังจากแพ้ออกจากป่ามา บางคนเรียนต่อ บางคนหางานทำ สหายชาวนาหลายคนกลับไปเฮ็ดไฮ่นาอยู่บ้าน หรือรับจ้างขายแรงงาน พากันปรับโตปรับใจ ดิ้นรนหาเลี้ยงปากท้อง สร้างความมั่นคงให้ครอบครัว สร้างสถานะในสังคม
กระนั้น ทุกมื้อนี้มีคนที่เกิดไล่หลังพวกเฮามา ที่เห็นฝุ่นนำทางที่พวกเฮาย่าง ได้สนใจเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของบ้านเมือง ได้รื้อค้น ศึกษา แล้วคิดสร้างความคิดอ่านทั้งเก่าทั้งใหม่ออกเผยแพร่ นับมื้อแฮ่งหลายขึ้น ๆ
คุณทั้งสองเห็นนำบ่ ทุกอย่างต้องเริ่มจากปริมาณ จากนั้นจั๋งยกระดับสู่คุณภาพ
พวกเฮาบ่เพียงรออ่านนิยายเรื่องใหม่ บทกวีบทเพลงบั้นใหม่ กลอนลำกลอนใหม่ ประวัติศาสตร์ฉบับโคตรเง้าราษฎร หลักคิดหลักทฤษฎีที่ตกผนึกขึ้นจากสังคมไทย
พวกเฮายังเข้าเสริมส่ง สนับสนุน พยายามประกอบส่วนนำอย่างเต็มกำลัง เพื่อสร้างเสบียงความคิด ความฝัน ความหรรษา ให้พี่น้องประชาชนเฮา
ฮ่ำฮอน และฮักแพง