ใบสีมา ใบเสมา โบสถ์ อุโบสถ วิหาร
ใบสีมา หรือ ใบเสมา คือแผ่นหินทั้งที่มีลวดลายและไม่มี ปักไว้แปดทิศ คือ ซ้าย ขวา หน้า หลัง และมุมทั้งสี่ มีทั้งปักแบบหนึ่งชั้นสองชั้นและสามชั้น เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์(อุโบสถ) เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรม ใช้เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น
ส่วนวิหาร ตามความหมายคือเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลมีเศรษฐี ชื่อเชต เป็นผู้ถวายที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระพุทธเจ้าและใช้เป็นที่สั่งสอนเผยแพร่พุทธศาสนา เป็นที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ารับฟังคำสอนได้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป เป็นสถานที่ประกอบพิธีต่าง ๆ ให้เหล่าพุทธศาสนิกชน และคนทั่วไปได้เข้าร่วม และสังเกตได้ว่ารอบวิหารจะไม่มี ใบสีมา(ใบเสมา) ปักไว้รายรอบ
แต่ปัจจุบันบางวัด ใช้โบสถ์(อุโบสถ)กับวิหารร่วมกัน ทั้งประกอบสังฆกรรมและประกอบพิธีให้ศาสนิกชน จึงแยกไม่ออกว่าสิ่งไหนคือโบสถ์(อุโบสถ)และวิหาร ต่างกับวัดในสมัยก่อน
ภาพผังใบสีมาจาก ทางอีศานฉบับที่ 26 ตำนานและดินแดน ศรีโคตรบูรคอลัมน์: เมืองอีสานเมื่อพันปี
ใบสีมา
ใบสีมา, ใบเสมา : น. แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์, ใบพัทธสีมา ก็ว่า. พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน
…………………………
สีมา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีมา แปลว่า เขต, แดน, เครื่องหมายบอกเขต ใช้ว่า เสมา ก็มี
สีมา หมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมต่างๆ กำหนดเขตแดนด้วยเครื่องหมายบอกเขตที่เรียกว่า นิมิต ที่เหนือนิมิตนิยมสกัดหินเป็นแผ่นประดิษฐานไว้ในซุ้มที่สร้างครอบนิมิต ถือเป็นสัญลักษณ์แทนนิมิต เรียกแผ่นหินนั้นว่า ใบสีมา หรือ ใบเสมา เรียกซุ้มนั้นว่า ซุ้มสีมา หรือ ซุ้มเสมา
ใบสีมา นิยมทำด้วยแผ่หินสกัดเป็นแผ่นหนาประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร มีรูปทรงเฉพาะ บางแห่งสกัดเป็นลายเส้นรูปธรรมจักรเพิ่มความสวยงาม ประดิษฐานไว้ในซุ้มที่สร้างคร่อมนิมิตทั้ง 8 ทิศของโบสถ์ คล้ายเป็นสัญลักษณ์แทนนิมิต ถ้าเป็นวัดราษฎร์นิยมทำซุ้มละแผ่นเดียว ถ้าเป็นวัดหลวงนิยมทำซุ้มละสองแผ่นเรียกว่า สีมาคู่ นัยว่าเพื่อเป็นข้อสังเกตให้ทราบว่าเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง
สีมา ยังหมายถึงอุโบสถได้ด้วย
…………………………
ความหมายของ โบสถ์ อุโบสถ จากพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน
โบสถ์ น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
อุโบสถ ๑ [อุโบสด] น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทําสังฆกรรมเช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์; (ปาก) เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ; เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทําอุโบสถ; เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ว่า การรักษาอุโบสถ. (ป. อุโปสถ; ส. อุโปษธ, อุปวสถ).
…………………………
วิหาร
วิหาร วิหาร[วิหาน วิหาระ] น. วัด ที่อยู่ของพระสงฆ์ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป คู่กับ โบสถ์ การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อนในเวลากลางวัน. (ป. ส.).[วิหาน วิหาระ] น. วัด ที่อยู่ของพระสงฆ์
ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป คู่กับ โบสถ์
การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อนในเวลากลางวัน. (ป. ส.).