ปริศนาตัวมอม (๕) จบ
ทองแถม นาถจำนง
“มอม” ถูกลากเข้าเป็นวัฒนธรรมพราหมณ์-พุทธ
หลังจากวัฒนธรรมจากอินเดียแพร่เข้ามาสุวรรณภูมิ “พุทธ-พราหมณ์” ก็เอาชนะผี วัฒนธรรม “เงือก”(ดั้งเดิม) ก็กลายเป็น “นาค” วัฒนธรรม “มอม” ก็กลายเป็น “สิงห์”
แต่ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ก็ยังอยู่ เช่น เป็นผู้รักษาพุทธสถาน เป็นลายสักศักดิ์สิทธิ์ป้องกันตัว
ในล้านนา “มอม” ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัตว์พาหนะของ “ปัชชุนนะเทวบุตร” ผู้ให้ฝน พระพิรุณ ผู้ให้ฝน ทรงพาหนะ “มกร” (มะ กะ ระ ซึ่งเทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียทำเป็นรูปจระเข้) ในสายพุทธมีการอ้างอิง “มัจฉาชาดก” เป็นต้น
เมื่อฝนแล้งจึงทำพิธีแห่ “สิงมอม” ขอฝน
ความเชื่อล้านนานี้แพร่กระจายไปถึง พิษณุโลก, บ้านคูบัว ราชบุรี ฯ (ตามการเคลื่อนย้ายของชาวล้านนา)
ทุกวันนี้องค์ความรู้เรื่อง “ตัวมอม” กำลังจะสูญสิ้นไป วงวิชาการก็ยังขาดผู้รู้ มีความเข้าใจผิดกันมาก
“ตัวมอม” จึงยังเป็นปริศนาประเด็นใหญ่เรื่องหนึ่ง ?
มอมวัดบุพพาราม เชียงใหม่ ภาพจาก: กระจ้อน Pantip

บทความที่เกี่ยวข้อง
- บทร้อยกรองของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ๕-๗
บทร้อยกรองของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจฺนโท จันทร์) พ.ศ. ๒๓๙๙ - ๒๔๗๕ ๕. ของบ่งามมีนามหลายอย่าง สระเปล่าว่างหาน้ำบ่มี เป็นบูรีหาพระยาบ่ได้ เป็นต้นไม้…
- ปริศนาตัวมอม (๑) หมานำพันธุ์ข้าวมาให้คน
เมื่อผู้คนมีไฟใช้หุงต้มอาหาร สุขภาพร่างกายจึงแข็งแรงขึ้นมาก และเมื่อละเลิก ขนบจารีตการกินเนื้อคนแก่แล้ว สัตว์ที่จะกินเป็นอาหารก็ลดน้อยลงเรื่อย ๆ ไม่พอ…
- ปริศนามอม (๓) การบูชาหมาในยุคดึกดำบรรพ์
ในหมู่บ้านบางแห่งของชาวจ้วงในกวางสี ยังนิยมตั้งหมาหิน ไว้หน้าหมู่บ้าน หรือหน้าเรือน และมีมากเป็นพิเศษในคาบสมุทรเหลยโจว (ตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นถิ่น…
- ปริศนาตัวมอม (๒) บูชาหมา
เรื่องดังกล่าวนี้คงเป็นที่เชื่อถือกันในชาวจ้วงหลายกลุ่ม เพราะในพิธีกินข้าวใหม่ทุกปีของชาวลีซอ หลังจากไหว้ผีแล้ว จะเอาข้าวใหม่ และเนื้อที่ปรุงในพิธี ส่…
- มงคลชีวิตที่หนองประจักษ์
ผมชอบเกาะกลางบึงนํ้าที่ออกแบบให้มีสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีสวนดอกไม้ สวนสุขภาพสนามเด็กเล่น แต่ที่สุดยอดคือเส้นทางเดิน วิ่ง และขี่จักรยานรอบบึงนํ้า ได้…