เรื่องของอาหาร (๓)
มนุษย์หยามเหยียดกันด้วยอาหาร., สมัยก่อน(อีกแหละ) ผู้ดีรังเกียจอาหารไพร่ แค่เห็นสี แค่ได้กลิ่นทั้งที่ยังไม่ได้ลิ้มสัมผัสรสชาติก็รับไม่ได้ ทำท่าขยะแขยง คลื่นไส้ จะอ้วก., คนกรุงไม่กินปลาร้าเหยียดคนบ้านนอกกินปลาร้า กลิ่นเหม็นอย่างนั้นกินลงไปได้อย่างไร? นี่ก็จะอ้วกอีกเหมือนกัน., คนไม่กินเนื้อดิบๆ รังเกียจคนกินเนื้อดิบๆ หาว่าหยาบหนา ป่าเถื่อน ไม่มีวัฒนธรรมในการกิน !, ไพร่บางคนที่มีโอกาสได้ชิมอาหารของผู้ดีก็รับอาหารผู้ดีไม่ได้. อาหารอะไรใส่น้ำตาล ใส่กะทิ พวกน้ำตาลและกะทิมันต้องอยู่ในขนม ในของหวาน ว่าไปโน่นเลย !, คนบ้านนอกกินอาหารคนกรุงไม่เป็น น้ำพริกกะปิรสชาติออกหวานนิดหน่อย แบบนี้กินไม่เป็น มันไม่สะใจเหมือนแจ่วปลาร้า ฯลฯ
ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน ยุคใกล้กึ่งพุทธกาล เชิงวิเคราะห์
ในเชิงโครงสร้างอำนาจรัฐ เริ่มจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๓๓) สยามได้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองลาวทั้งฝ่ายซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อการควบคุมและจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ กับทั้งเพื่อรับมือกับการรุกรานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส